Wednesday, September 21, 2011

อึ้ง!เด็กไทยยอมรับพฤติกรรม “การเล่นขี้โกงเมื่อมีโอกาส”

อึ้งผลสำรวจเด็กไทยพร้อมลอกข้อสอบ-ขี้โกงถ้ามีโอกาส

น.พ.วิชัย เอกพลากร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นักวิจัยโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย เครือข่ายการวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) เปิดเผยผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551–2552 ในส่วนของพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สังคมและจริยธรรม(อีคิว)ของเด็กไทยว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุ 1-14 ปี จำนวน 9,035 คน ใน 20 จังหวัด ด้วยการใช้แบบทดสอบพ่อแม่ และเด็ก โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มอายุ คือ อายุ 1-5 ปี 6-9 ปีและ 10-14 ปี เนื่องจากเด็กแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการต่างกัน เปรียบเทียบเมื่อปี 2544 พบว่า กลุ่มเด็กอายุ 6-9 ปี สำรวจ 8 ด้าน คือ วินัย สติ-สมาธิ เมตตา อดทน ซื่อสัตย์ ประหยัด การควบคุมอารมณ์และพัฒนาสังคม พบว่า ผลการทดสอบพัฒนาการด้านสังคม ได้คะแนนสูงกว่าด้านอื่นๆ ส่วนด้านที่ได้คะแนนต่ำ คือ ความมีวินัย ความมีสติ-สมาธิ ความอดทนและความประหยัด โดยพัฒนาการด้านที่เด็กได้คะแนนน้อยซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ได้แก่ พัฒนาการด้านความมีวินัยในเด็กชาย การมีสมาธิในเด็กหญิง ด้านความเมตตาและการควบคุมอารมณ์ทั้งเด็กชายและหญิง

ด้านกลุ่มเด็กอายุ 10-14 ปี สำรวจ 14 ด้าน ได้แก่ ความตระหนักรู้ในตน ความภาคภูมิใจในตนเอง ความเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการกับอารมณ์ การจัดการกับความเครียด การสื่อสาร สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ความคิดสร้างสรรค์ค์ ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การควบคุมอารมณ์และคุณธรรมจริยธรรม พบว่า ในภาพรวมแม้ว่าเด็กจะมีคะแนนดีขึ้น แต่มีหลายด้านที่พบว่าคะแนนการสำรวจยังไม่ดีขึ้นกว่าปี 2544 ได้แก่ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การแก้ปัญหา และการควบคุมอารมณ์ ซึ่งเป็นจุดที่ได้คะแนนค่อนข้างต่ำ เมื่อแยกย่อยในส่วนของด้านจริยธรรม เด็กกลุ่มนี้ เห็นว่า “การเล่นขี้โกงเมื่อมีโอกาส” และ “การลอกข้อสอบถ้าจำเป็น” เป็นพฤติกรรมที่เด็กยอมรับได้มากขึ้น

“ปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กมีปัญหาจริยธรรม พบว่า ตัวแปรสำคัญคือระดับการศึกษาของพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดู พ่อแม่ที่มีการศึกษาสูงขึ้น เด็กจะมีจริยธรรมและพฤติกรรมในทางที่ดีมากขึ้น อาจเป็นเพราะพ่อแม่ที่มีการศึกษาสูงมีโอกาสสัมผัสและเรียนรู้ว่าควรจะเลี้ยงลูกอย่างไร

ทั้งนี้ สิ่งที่ควรพัฒนาในเด็กอายุ 1-5 ปี คือ การทำตามระเบียบกติกา

สิ่งที่ควรพัฒนาในเด็ก 6-9 ปี ในเด็กชายและเด็กหญิงควรพัฒนาด้านความเมตตาและการควบคุมอารมณ์

และสิ่งที่ควรพัฒนาสำหรับเด็กอายุ 10-14 ปี ควรฝึกการควบคุมและจัดการกับอารมณ์ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์วิจารณ์” รศ.นพ.วิชัย กล่าว

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์ วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554
--------------------

สวรส.เปิดวิกฤติจริยธรรมเด็กไทย อึ้ง!ยอมรับพฤติกรรม “การเล่นขี้โกงเมื่อมีโอกาส” “การลอกข้อสอบถ้าจำเป็น”มากขึ้น แนะพ่อแม่ ครู เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก สื่อช่วยบ่มเพาะพฤติกรรมที่ดี ...

เมื่อวันที่ 21 ก.ย.2554 รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นักวิจัยโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย เครือข่ายการวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข( สวรส.) เปิดเผยผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551 – 2552 ในส่วนของพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สังคมและจริยธรรมของเด็กไทยว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุ 1-14 ปี จำนวน 9,035 คน ใน 20 จังหวัด ด้วยการใช้แบบทดสอบพ่อแม่ และเด็ก โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มอายุ คือ อายุ 1-5 ปี 6-9 ปีและ 10-14 ปี เนื่องจากเด็กแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการต่างกัน โดยผลการสำรวจที่ได้จะเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งก่อนหน้าเมื่อปี 2544 กลุ่มเด็กเล็กอายุ 1-5 ปี สำรวจ 7 ด้าน ได้แก่ การสร้างสัมพันธ์ใกล้ชิด การทำตามระเบียบกติกา ความจดจ่อมีสมาธิ การเลียนแบบ/เล่น แรงจูงใจใฝ่สำเร็จ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และการชอบสังคมกับเพื่อน พบว่า มีมากกว่าร้อยละ 10 ของกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนต่ำกว่าผลจากการสำรวจปี พ.ศ. 2544

ในด้านการทำตามระเบียบกติกา (Compliance) ในกลุ่มเด็กชาย เป็นข้อสังเกตที่น่าติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะสะท้อนถึงแนวโน้มที่เด็กอาจมีนิสัยที่ต้องการจะได้อะไรก็ต้องได้ ขาดความพยายาม เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวโยงกับความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นจริยธรรมขั้นพื้นฐานของบุคคลกลุ่มเด็กอายุ 6-9 ปี สำรวจ 8 ด้าน คือ วินัย สติ-สมาธิ เมตตา อดทน ซื่อสัตย์ ประหยัด การควบคุมอารมณ์และพัฒนาสังคม พบว่า ผลการทดสอบพัฒนาการด้านสังคม ได้คะแนนสูงกว่าด้านอื่นๆ  ส่วนด้านที่ได้คะแนนต่ำ คือ ความมีวินัย ความมีสติ-สมาธิ ความอดทนและความประหยัด โดยพัฒนาการด้านที่เด็กได้คะแนนน้อยซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ได้แก่ พัฒนาการด้านความมีวินัยในเด็กชาย การมีสมาธิในเด็กหญิง

ด้านความเมตตาและการควบคุมอารมณ์ทั้งเด็กชายและหญิงกลุ่มเด็กอายุ 10-14 ปี สำรวจ 14 ด้าน ได้แก่ ความตระหนักรู้ในตน ความภาคภูมิใจในตนเอง ความเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการกับอารมณ์ การจัดการกับความเครียด การสื่อสาร สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ความคิดสร้างสรรค์ค์ ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การควบคุมอารมณ์และคุณธรรมจริยธรรม พบว่า ในภาพรวมแม้ว่าเด็กจะมีคะแนนดีขึ้น แต่มีหลายด้านที่พบว่าคะแนนการสำรวจยังไม่ดีขึ้นกว่าปี 2544 ได้แก่ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การแก้ปัญหา และการควบคุมอารมณ์ ซึ่งเป็นจุดที่ได้คะแนนค่อนข้างต่ำ เมื่อแยกย่อยในส่วนของด้านจริยธรรม เด็กกลุ่มนี้ เห็นว่า “การเล่นขี้โกงเมื่อมีโอกาส” และ “การลอกข้อสอบถ้าจำเป็น” เป็นพฤติกรรมที่เด็กยอมรับได้มากขึ้น

“ปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กมี ปัญหาจริยธรรม พบว่า ตัวแปรสำคัญคือระดับการศึกษาของพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดู พ่อแม่ที่มีการศึกษาสูงขึ้น เด็กจะมีจริยธรรมและพฤติกรรมในทางที่ดีมากขึ้น อาจเป็นเพราะพ่อแม่ที่มีการศึกษาสูงมีโอกาสสัมผัสและเรียนรู้ว่าควรจะเลี้ยง ลูกอย่างไร ทั้งนี้ สิ่งที่ควรพัฒนาในเด็กอายุ 1-5 ปี คือ การทำตามระเบียบกติกา (Compliance) ในเด็ก 6-9 ปี ในเด็กชายและเด็กหญิงควรพัฒนาด้านความเมตตาและการควบคุมอารมณ์ และสำหรับเด็กอายุ 10-14 ปี ควรฝึกการควบคุมและจัดการกับอารมณ์ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ ” รศ.นพ.วิชัย กล่าว

ด้านรศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ นักวิจัยโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย เครือข่ายการวิจัย สวรส. กล่าวว่า ข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ควรให้น้ำหนักต่อการพัฒนาเด็กในด้านวุฒิภาวะด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และจริยธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญในการดำรงชีวิตของบุคคลและเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความ สำเร็จในชีวิต ยิ่งไปกว่าปัจจัยด้านความฉลาดทางสติปัญญา ซึ่งการศึกษาวิจัยระยะยาวในต่างประเทศ บ่งบอกว่า ระดับเชาวน์ปัญญาหรือ IQ มีผลต่อความสำเร็จในชีวิตเพียงร้อยละ 20 ในขณะที่พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมร่วมกับพัฒนาการด้านสติปัญญาที่สมวัยใน วัยต้นของชีวิต เป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการด้านภาษา ด้านสติปัญญา และด้านจริยธรรมในขั้นต่อๆ ไป และจากศึกษาติดตามระยะยาวจากเด็กจนเป็นผู้ใหญ่ พบว่า ระดับเชาวน์ปัญญาในวัยเด็กมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในชีวิตการงาน และระดับเงินเดือนค่อนข้างน้อย ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ควบคุมความขัดแย้งและการเข้ากับคนอื่นได้ง่ายกลับมีส่วนทำให้ประสบความ สำเร็จในชีวิตมากขึ้น

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการเด็กให้มาก ขึ้น และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเด็กคือ พ่อแม่และครู ซึ่งต้องเน้นการเลี้ยงดูและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก นอกจากนั้น สื่อต่างๆโดยเฉพาะทีวี และภาพยนตร์ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็ก โดยสื่อสามารถนำหน้าที่บ่มเพาะพฤติกรรมที่ดีให้แก่เด็ก ทั้งในการให้ความรู้ผ่านทางรายการบันเทิงหรือรายการเด็กที่เหมาะสมกับการ เรียนรู้ รวมทั้งต้องคำนึงถึงเนื้อหาในการนำเสนอเพื่อปลูกฝังเรื่องดีๆ ให้กับเด็กอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนของกรมสุขภาพจิต มีแผนด้านการพัฒนาด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และจริยธรรมให้กับเด็กไว้อย่างชัดเจน

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผอ.สวรส. กล่าวว่า สวรส.จะนำเสนอสถานการณ์ผลการสำรวจและข้อเสนอแนะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขต่อไป

ที่มา: ทีมข่าวการศึกษา ไทยรัฐออนไลน์ วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2554

No comments:

Post a Comment