Tuesday, May 24, 2011

น้ำมันแพง เพราะ ปตท.

พอดีไปอ่านเจอในหนังสือ "Positioning" ที่บอกถึงที่มาของราคาน้ำมันที่แพง เลยเอามาแบ่งปัน
ข้อความบางตอนมีการพาดพิงชื่อบุคคล ก่อนจะฟอร์เิว์ริดลบผมออกก่อนนะคร้าบ มันเสียว ๆ


ไม่ผิดหาก ปตท. จะกำไร และมีเป้าหมายอย่างที่ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ซีอีโอของ ปตท. ตั้งเป้าหมายให้ ปตท. เป็นบริษัทข้ามชาติภายในปี 2555 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 94,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปี 2550 ที่มีรายได้ 47,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และตั้งแต่ปี 2555 รายได้เพิ่มอีกปีละ 8 เปอร์เซ็นต์ จนในปี 2563 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 176,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับความเป็นบริษัทชั้นนำ ติดอันดับ 100 บริษัทของฟอร์จูนภายในปี 2555 จากเมื่อปี 2550 ป ตท. อยู่ในอันดับ 207

บิ๊ก ปตท. รวยล้น

เมื่อบริษัทร่ำรวยย่อมทำให้ผู้บริหารที่มาทำงานที่นี่ร่ำรวยไปตามกัน รายงานประจำปีของ ปตท. ระบุชัดเจนถึงผลตอบแทนทั้งโบนัส เงินเดือนที่บอร์ด ปตท. ได้รับ และผู้บริหารที่ร่ำรวยจากหุ้น

เฉพาะบอร์ดกว่า 10 คน ได้เบี้ยประชุม โบนัส เฉพาะที่ทำงานให้ ปตท. เท่านั้นรวมกันถึง 42 ล้านบาทโดยมี โอฬาร ไชยประวัติ ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชินวัตร และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ สุชาติ ธาดาธำรงเวช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายก รัฐมนตรี ได้รับสูงสุดคนละกว่า 3 ล้านบาท

สำหรับผู้บริหาร ระดับสูงของ ปตท. ตั้งแต่ระดับกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้เงินเดือน โบนัส รวมประมาณ 74 ล้านบาท ซึ่งผู้บริหารที่มีหุ้นมากสุดคือ จิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิต และก๊าซธรรมชาติ ณ 31 ธันวาคม 2550 มีหุ้นเหลืออยู่ 175,830 หุ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 65,408,760 บาท เฉพาะประเสริฐที่วันนี้เจ้าตัวยืนยันว่าไม่มีหุ้นแล้ว แต่หากย้อนหลังไปเมื่อปี 2548 เขาได้หุ้น ESOP เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 จำนวน 243,000 หุ้น (บันทึกราคาที่ 0.00 บาท) และ 1 ปีให้หลังได้โอนออก 60,700 หุ้น และ 29 กันยายน 2549 ได้อีก119,000 หุ้น จากนั้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ได้ขายออกครั้งละ 5,000 หุ้นบ้าง 60,000 หุ้นบ้าง ในราคาเฉลี่ย 330-370 บาท จน ล่าสุดเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ได้ ESOP อีก 87,000 หุ้น

นี่คือความร่ำรวยของ ปตท. ซึ่งถูกตั้งคำถามว่าเป็นธรรมหรือไม่ที่รายได้มากมาย มาจากความลำบากของประชาชนคนไทย เพราะการผูกขาด และการคิดราคาน้ำมันอย่างไม่เป็นธรรม

น้ำมันแพงตามสูตรสิงคโปร์

ปตท. ผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นทั้งหมด 5 โรงจากที่มีอยู่ทั้งหมด 7 โรง คิดเป็นกำลังการผลิตกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศ ปั๊มน้ำมันทั่วประเทศต้องซื้อจากโรงกลั่นในเครือของ ปตท. โรงกลั่นที่ต้องการกำไรทำให้ ปตท. อ้างอิงราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ที่เป็นแหล่งซื้อขายและปั่นราคาน้ำมันที่ คิดล่วงหน้า 1-2 เดือน ทั้งที่โรงกลั่นซื้อน้ำมันดิบส่วนใหญ่จากตะวันออกกลางและบางส่วนจากในประเทศ ไทย

แม้จะมีเสียงคัดค้านว่าไม่จำเป็นต้องอ้างอิงราคาสิงคโปร์ แต่ ปตท. ก็พยายามชี้แจงว่าจำเป็นเพราะเป็นไปตามการคิดราคาในกลไกของตลาดโลก แม้จะฟังไม่ขึ้น แต่ ปตท. ก็ยังคงเดินหน้าคิดราคาน้ำมันที่ยึดราคาสูงเป็นที่ตั้ง นอกเหนือจากภาษีต่างๆ และค่าขนส่งหลายส่วนมาประกอบกันจนแพงอย่างที่ต้องจ่ายกัน

ราคา หน้าโรงกลั่น = ราคานำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ (Import parity Price) ที่มาจากราคาน้ำมันจรในตลาดจรที่สิงคโปร์ (FOB)+ค่าขนส่ง+ค่าประกันภัย+ค่าจัดเก็บน้ำมัน+ภาษีศุลกากรนำเข้า

ค่าการตลาด = ค่าสารปรับปรุงคุณภาพ+ค่าขนส่ง+ค่าส่งเสริมการตลาด+ค่าผลตอบแทนในการดำเนินธุรกิจ

ในที่สุดปัญหาจากราคาน้ำมันแพง ไม่ใช่เพราะตลาดโลกหรือเพราะตลาดสิงคโปร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะประเสริฐได้เฉลยออกมาด้วยตัวเองว่าเพราะ ปตท. ต้องกำไรและ ปตท. อยู่ใ นตลาดหลักทรัพย์ฯ

“อยู่ ที่ว่าสังคมไทยอยากให้ ปตท. เป็นยังไง และวันนี้ ปตท. ก็อยู่ในตลาดฯ (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) ก็อยู่ที่สังคมไทยว่าอยากให้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือเปล่า ผมเป็นผู้บริหาร เป็นพนักงาน ปตท. ผมก็อยากทำอะไรให้ดีที่สุดแก่ทุกฝ่าย และสอดคล้องกับแนวทางที่ทั่วโลกทำกัน ถ้าเผื่อว่าเราซึ่งเป็นประเทศ Net Import Country มาบิดเบือนโครงสร้างราคาและเราต้องนำเข้า ประชาชนก็ไม่รู้จักประหยัด เราก็ต้องไปเอาก๊าซหุงต้มเข้ามาแล้ว เราต้องอุดหนุน สุดท้ายจะเอาเงินมาจากไหน ปตท. ก็อุดหนุนไปหลายหมื่นล้านบาทแล้ว ถ้าเอา ปตท. เป็นหน่วยอุดหนุน ปตท. ก็ต้องไปเป็น Non Profit Organization ก็อย่าให้ ปตท. เป็นบริษัทอยู่ในมหาชน ก็เอา ปตท. ออกจากตลาดฯ ปตท. ก็จะเป็นเหมือนรัฐวิสาหกิจที่จะไม่สามารถสนองนโยบายรัฐได้เหมือนในบางรัฐ วิสาหกิจ”

ณ วันนี้เค้าลางที่คนไทยจะต้องลำบากต่อไปกับราคาพลังงานที่แพงขึ้นกำลังชัด ขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นก๊ าซ แอลพีจี เอ็นจีวี และแม้แต่อี 85 ก็กำลังถูกครอบงำด้วยกลุ่มทุนที่มีรากฐานมาจากธุรกิจที่ต้องการกำไรเป็นที่ ตั้งทั้งสิ้น และที่สำคัญคือการผูกขาดโดย ปตท.

กลุ่มทุนฮุบ E85-LPG-NGV

ไม่ว่าจะเป็น E20 หรือ E85 คือหนทางทำให้คนไทยได้ใช้น้ำมันถูกขึ้น เพราะมันเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเอทานอลมาผสมน้ำมันเบนซิน ซึ่งเอทานอลมาจากพืชและมันสำปะหลัง

โรงงานเอทานอลขนาดใหญ่ ล้วนมาจากทุนระดับบิ๊ก ไม่ว่าจะเป็นของค่ายเบียร์ช้างที่เปิดเผยตัวชัดเจน และยังมีเครือข่ายที่ไม่เปิดเผยตัวชัดเจน ทั้งกลุ่มเบียร์สิงห์ กลุ่มคอมลิงค์ ตัวแทนและกลุ่มของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จนมาถึงกลุ่มเทมาเส็กที่ยอมจ่ายเงิน73,000 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นชินคอร์ป
&n bsp;
เช่นเดียวกับธุรกิจก๊าซที่ต้องยกให้ว่าเป็นลับ-ลวง-พรางฉบับ ปตท. เพราะผู้เล่นในตลาดก๊าซ LPG ที่รับช่วงจาก ปตท. ไม่ว่าจะเป็นสยามแก๊สหรือเวิลด์แก๊สล้วนก๊วนเดียวกัน

สยามแก๊ส หรือ สยามแก๊สแอนด์ปิโตรเคมีคัลส์ ที่กำลังเข้าตลาดหุ้นในเร็ววัน ก็พบชื่อ พลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการ ส่วน เวิลด์แก๊ส นั้นถือหุ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์โดย ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น ที่รุ่งเรืองจากธุรกิจก๊าซ และถังก๊าซ จนเข้าตลาดหุ้นได้ มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือคนใ น ตระกูลลาภวิสุทธิสิน

นี่คือเครือข่ายที่น่าสะพรึงกลัว เพราะก่อนแปรรูป ปตท. รัฐบาลใช้นโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ขายถังละ 160 บาท หลังเข้าตลาดฯ ราคาเพิ่มมาเป็นถังละ 290-300 บาท

จึง ไม่แปลกหาก ปตท. จะเดินหน้าแยก LPG เป็น 2 ราคา เพราะบรรดาโบรกเกอร์ทั้งหลายต่างวิเคราะห์หุ้น ปตท. ว่า ราคาต่ำของ LPG เป็นปัจจัยกดดัน ปตท. ในเชิงสร้างกำไร เนื่องจากปัจจุบันรัฐมีการควบคุมราคาขาย LPG ในประเทศ 315 เหรียญต่อตัน ขณะที่ราคาส่งออกในตลาดโลกสูงถึง 800 - 900 เหรียญต่อตัน ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว ปตท. มียอดส่งออก LPG 8.9 พันบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปี 2549 ถึง -51.8 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้น

นี่ จึงเป็นนัยสำคัญว่าทำไมจึงต้องดันราคา LPG ในประเทศให้สูง โดยตั้งราคา 2 มาตรฐานเพื่อตรึงราคาภาคครัวเรือนเพื่อรักษาความนิยมของรัฐบาลต่อไป ขณะที่ลอยตัวราคาภาคขนส่งและอุตสาหกรรมจะ ช่วยลด Demand ของ LPG ในตลาดรถ เพื่อให้ปริมาณ LPG เหลือมากพอให้ ปตท. ส่งออกทำกำไรได้มากยิ่งขึ้นกว่าเงินที่ได้รับจากการชดเชยกองทุนน้ำมัน และยังเป็นเครื่องมือช่วย ปตท. ครองตลาดก๊าซเพื่อยานยนต์ด้วย NGV แต่เพียงผู้เดียว ไม่ต่างจากการ“ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว

ตราบ เท่าที่ ปตท. ยังสามารถซื้อสื่อและสร้างภาพด้วยงบโฆษณาพีอาร์และซีเอสอาร์ ปีหนึ่งหลักพันล้านบาท การผูกขาดของ ปตท. และกลุ่มทุนที่เหนียวแน่น คนไทยคงต้องลำบากกับน้ำมันและก๊าซที่ถูกปั่นราคาไปอีกนาน


LPG หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว มาจาก 2 แหล่ง คือการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันและการแยกก๊าซธรรมชาติ จึงถือเป็นผลพลอยได้สุดๆ โดยมีต้นทางมาจาก ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) บริษัทในกลุ่ม ปตท.

นอกจากนี้ ยังให้สัมปทานขุดเจาะ 30 ปีในอ่าวไทย และบางแปลงมีพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา แก่บริษัท เชฟรอน สำรวจและผลิตปิโตรเลียม รวมทั้งร่วมทุน 16 เปอร์เซ็นต์ ในโครงการอาทิตย์ของ ปตท.สผ. อีกด้วย โดยเชฟรอนผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวได้ 47,147 บาร์เรลต่อวัน นอกเหนือจากผลิตก๊าซธรรมชาติ 1,668 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ำมันดิบ 85, 387 บาร์เรลต่อวัน โดยส่งต่อก๊าซธรรมชาติทั้งหมดให้ ปตท. ที่เชฟรอนแจ้งว่า 75 เปอร์เซ็นต์นำไปผลิตกระแสไฟฟ้า 25 เปอร์เซ็นต์เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี

ดังนั้น เมื่อแยกก๊าซเรียบร้อยแล้ว ส่วนหนึ่งจะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตกระแสไฟฟ้า ขณะที่ ปตท. ครองตลาดก๊าซธรรมชาติ NGV แต่เพียงผู้เดียวและใช้กับตลาดยานยนต์เท่านั้น โดย ปตท. ใช้เงินลงทุนไปแล้ว 60,000 ล้านบาท แต่ยังอยู่ในภาวะขาดทุนสะสมกว่า 6,000 ล้านบาท

ส่วนที่เป็นก๊าซเหลว LPG นั้น นอกจาก ปตท. จะขายปลีกมีส่วนแบ่งตลาดรวม 45 เปอร์เซ็นต์ยังขายส่งให้บริษัทก๊าซ โดยมี สยามแก๊สแอนด์ปิโตรเคมีคัลส์และเวิลด์แก๊สเป็นยักษ์ใหญ่รองจาก ปตท. ด้วยส่วนแบ่งตลาดประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์และ 21 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ


เบื้องหลังราคาน้ำมันมหาโหด

ปตท และ ก.พลังงาน เห็นสิงโปร์เป็นพ่อ เลยอ้างอิงราคาน้ำมัน

1. กลั่นเองก็ถูกกว่า เพราะซื้อราคาจำนำล่วงหน้า 3-5ปี แต่อ้างราคาตลาดโลกรายวัน
2. อ้างสิงโปร์ตลาดใหญ่ แต่ทำไม รถยนต์ไม่อิงราคา ดีทรอย ทั้งที่ภาษีอาฟต้าก็ 0%
3. FTA ก็ถูกลงเฉพาะผักผลไม้ทางเกษตรกร แต่สินค้าอุตสาหกรรม ของพ่อค้านักการเมืองยังแพงเหมือนเดิม
4. อ้างเป็นมหาชนต้องลอยตัวตามตลาดโลก100% ก็ไม่ถูกต้องเพราะรัฐถือหุ้นเกินครึ่งแถมบังคับด้วยเอกสิทธิของรัฐให้หน่วยงานราชการซื้อน้ำมัน ปตท เท่านั้นไม่ได้ลอยตัวใครถูกแพงก็เลือกซื้อเอา
5. อ้างการค้าเสรี แต่ผูกโควต้านำเข้ากับยักใหญ่4-5บริษัท ตลาดจรและมาเลก็ขายถูก(14-16บาท/ลิตร) แต่นำเข้ากันไม่ได้
6. อ้างการค้าเสรีลอยตัว แต่ ปิโตนัส นำเข้าจะขายได้ถูกกว่าก็ไม่ใด้ เพราะมีการฮั้วราคาตรึงราคาไว้ที่40กว่าบาท
7. มาเลเซียขายส่งออกลิตรละ15-16 บาท ก็ใม่ยอมนำเข้ามาขาย เพราะกลัวรู้ราคาทุน (ถ้าอ้างราคามา เลเซีย+ภาษี8บาท+ค่าการตลาด3บาท=27บาท)ใช่ไหม
8. แต่ยังดันทุรังอ้างราคาโคตรพ่อสิงโปร์ 41- 43บาท

*ราคาน้ำมันตลาดสิงโปร์รายวันคือ= ต้นทุนกลั่นของสิงโปร์+กำไรพ่อค้าสิงโปร์+ค่าโบรกเกอร์นายหน้า3% + ค่าการเก็งกำไรรายวันของพ่อค้าหน้าเลือด
*คิดได้ไง เป็นต้นทุนกลั่นอ้างอิงของน้ำมันไทยเพราะมันบวกกำไรใว้แล้วถึง3ต่อ แล้วเอามาตั้งต้นนับหนึ่งเป็นต้นทุนกลั่นของไทย
*ราคาที่ถูกต้องคือ ราคาเฉลี่ย ระหว่างต้นทุนซื้อ จำนำราคาล่วงหน้า กับราคาขายตลาดโลกรายวันที่ดูไบ(ใม่ใช่ของ นิวยอร์ค หรือ สิงโปร์) เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจเกินครึ่งและเป็นมหาชนไม่ถึงครึ่งเดียว
*จับตาดูให้ดีคิวต่อไปก๊าซLPGจะลอยตัวถึงลิตรละ15-18บาท NGVจะลอยตัว12บาท จะอ้างอะไรได้อีกทั้งๆที่ขุดเจาะได้ในประเทศแท่นขุดเจาะเต็มอ่าวไทย ไหนว่าก๊าซโชติช่วงชัชวาลตั้งแต่สมัยนายกเปรมฯ แถมก๊าซNGVซื้อจำนำราคา จากพม่ากิโลละ1บาท ยังหน้าด้านจะอ้างตลาดโลกรายวันอยู่อีกหรือ

ผลกระทบต่อสังคมไทย
1. ปตท กำไร1 แสนล้าน เงินที่ไหลออกก็4แสนล้าน (เชลล์,คาลเท็ก,เอสโซ่,ปิโตนัส) ถ้าปีนี้ ปตท กำไร2.5แสนล้าน เงินไทยก็จะไหลออกนอกประเทศ= 2.5แสนล้านคูณ4เท่า
2 . เศรษฐกิจลูกโซ่ล่มสลายอีกไม่รู้กี่หมื่น แสนบริษัท รัฐเก็บภาษีไม่ได้อีกกี่แสนล้าน คนไทยยากจนลง ต้องฆ่าตัวตายไม่รู้กี่ครอบครัว นักเรียนนักศึกษา ต้องขายตัวแลกค่าหน่วยกิต ประชาชนตกงาน ไม่มีเม็ดเงินจะหากิน ต้องก่อ อาชญกรรม แลกความอยู่รอด เข้าใจบ้างรึยัง
หยุดบริหารเศรษฐกิจแบบคนสิ้นคิด ระวังจะสิ้นชาติ เพราะกลไกเกมส์โกง ของพ่อค้าน้ำมัน สิงโปร์ไม่ใช่ โตคร
พ่อคุณ แต่ลูกหลานคุณกำลังจะอดตายทั้งประเทศ เพราะกลเกมส์ กลโกง ทำกำไรของพวกคุณ


ข้อความบางตอนมีเนื้อหาไม่เหมาะสมและเข้าข่ายผิดกติกากรุ๊ป ผมจึงต้องมีการตัดแต่งเสียใหม่ และยังคงเนื้อความเดิมไว้ หากท่านใดสนใจสามารถหาอ่านเพิ่มในหนังสืือครับ

ที่มา: forward mail

No comments:

Post a Comment