ผู้ว่าการ ธปท. ยืนยัน “นิยามหนี้ครัวเรือน” หมายถึง สินเชื่อที่ปล่อยให้บุคคลธรรมดา และกิจการขนาดเล็กที่ไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งเป็นนิยามเดิมที่ ธปท.ใช้ และเป็นนิยามเหมือนกับในต่างประเทศ ยอมรับตัวเลขพุ่งขึ้น 80% น่าตระหนก แต่ยังไม่ใช้ยาแรงคุม เพราะอาจกระทบ ศก. ชะลอตัวหนัก เตือนหากแตะ 85% ของจีดีพีอาจซ้ำรอยวิกฤต “ซับไพรม์” ในสหรัฐฯ
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาตำหนิคำนิยามหนี้ครัวเรือนในงานวิจัยของ ธปท. ไม่เป็นสากล โดยยืนยันว่า นิยามหนี้ครัวเรือนของ ธปท. คือสินเชื่อที่ปล่อยให้บุคคลธรรมดา และกิจการขนาดเล็กที่ไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งเป็นนิยามเดิมที่ ธปท.ใช้ และเป็นนิยามเหมือนกับในต่างประเทศ
ทั้งนี้ ประเด็นที่ ธปท. เป็นห่วงคือ การเร่งตัวของหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จากร้อยละ 50 ของจีดีพี เป็นร้อยละ 80 ของจีดีพี หรือประมาณ 8 ล้านล้านบาท จากมูลค่าจีดีพี 10 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน โดยประมาณร้อยละ 2 เป็นสินเชื่อเพื่อธุรกิจ สินเชื่อการค้า ซึ่งเมื่อลบส่วนนี้ออกไปสัดส่วนหนี้ครัวเรือนยังสูงอยู่ถึงร้อยละ 78 ที่มาจากสินเชื่อบ้าน รถยนต์ และอุปโภคบริโภค
นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ พบว่า หนี้ครัวเรือนเร่งตัวสูงกว่ารายได้มาก และเกรงว่าจะกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ให้ลดลง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนให้เฝ้าระวัง และติดตามอย่างใกล้ชิด แต่ยังไม่เป็นปัญหาที่รุนแรงจนถึงขั้นที่ ธปท. ต้องออกมาตรการพิเศษมาดูแลหนี้ครัวเรือน
“การออกมาตรการจะต้องมีความระมัดระวัง เพราะอาจกระทบให้เศรษฐกิจภาพรวมยิ่งชะลอตัวลงแรง หากมีการใช้มาตรการแรงเกินไป เพราะในขณะนี้การอุปโภคบริโภคชะลอตัวลงมาก ซึ่งเป็นการปรับตัวของประชาชนที่ระมัดระวังการใช้จ่ายหลังจากที่มีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น”
ทั้งนี้ ธปท. ได้ให้ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน หรือ ศคง. รณรงค์ผ่านสื่อให้ประชาชนระมัดระวังในการใช้จ่าย อย่าก่อหนี้สูงเกินตัว และรู้จักเก็บออม ผ่านโครงการ รู้จักแบ่ง ก็ไม่ต้องแบกหนี้ เพื่อป้องกันปัญหาก่อนเกิดวิกฤต เพราะหากปัญหาหนี้ครัวเรือนรุนแรงขึ้นจนถึงร้อยละ 85 ของจีดีพี อาจจะเกิดปัญหาเหมือนที่สหรัฐฯ มีปัญหาหนี้ครัวเรือนจนเกิดวิกฤต เพราะไม่สามารถขายสินทรัพย์ เช่น บ้าน และรถยนต์เพื่อเสริมสภาพคล่องได้ เพราะทรัพย์สินเหล่านี้ราคาตก ขายไม่ออก
นายประสาร ยอมรับว่า การดูแลเศรษฐกิจจำเป็นต้องสร้างความสมดุลใน 3 ด้าน คือ หนี้ภาคธุรกิจ หนี้สาธารณะ และหนี้ครัวเรือน ซึ่งขณะนี้หนี้ครัวเรือนที่มีอยู่ในระบบทั้งหมด 8 ล้านล้านบาทนั้น เป็นหนี้ในระบบสถาบันการเงินราว 3.8 ล้านล้านบาท หนี้กับธนาคารเฉพาะกิจอยู่ 2 ล้านล้านบาท หนี้ในระบบสหกรณ์ 1 ล้านล้านบาท หนี้ในระบบ non-bank และอื่นๆ อีก 1 ล้านล้านบาท ซึ่งหนี้ที่ ธปท.ดูแลมีเพียงหนี้ในระบบสถาบันการเงินเท่านั้น ยังมีหนี้ส่วนอื่นยังอยู่นอกเหนืออำนาจของ ธปท.กระจายอยู่หลายกลุ่ม
ดังนั้น จึงต้องอยู่ในความไม่ประมาท และอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลในส่วนนี้ ส่วนหนี้สาธารณะที่มีอยู่ในระดับร้อยละ 44 ของจีดีพี ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ เช่นเดียวกับหนี้ภาคเอกชนที่ระดับหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับ 2 เท่า ซึ่งถือว่าต่ำกว่าช่วงปี 2540 ที่สูงถึง 8-9 เท่า ซึ่งไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด
Cr:: ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม 2556
--------------------------
จำได้ก็เข้ามาในยุคทักษิณนี่แหละ รัฐมือเติบใช้เต็มวงเงินไปหลาย แต่ครัวเรือนเพื่อความอยู่รอด มีเงินซุกที่ไหน ก็จะแคะไปหมด ที่นา บ้าน ควายไว้ไถ่นา ไปหมดแล้ว ถึงประชาชนไม่ขับไล่รัฐมาร ก็อยู่ไม่ได้ เพราะถังแตก ใช้เป็นแต่เงิน แต่หาเงินไม่เป็น เจ๊งแล้ว ไทยคงเฉยไม่ได้อีกแล้ว ภัยมาถึงตัว เพราะรัฐมารที่เลือกกันเข้ามา ทำพิษใส่ประเทศไทย กู้ลูกเดียว ..
No comments:
Post a Comment