ธปท.ระบุเงินทุนไหลเข้าปี 2554 นี้ ยังทะลักต่อเนื่อง มองอนาคตการดูแลเงินทุนนอกต้องร่วมมือระดับภูมิภาคมากขึ้น ยังไม่เห็นด้วยรวมเป็นสกุลเงินอาเชียนสกุลเดียว แต่เห็นด้วยที่จะเพิ่มบทบาทเงินหยวนให้มากขึ้น
เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2554 นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา “ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ความเปราะบางของเงินทุนเคลื่อนย้าย" ซึ่งจัดโดยสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ว่า ต้องยอมรับว่าปัญหาเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีความผันผวนสูง และมีขนาดที่ค่อนข้างมาก มีผลต่อเนื่องที่จะกระทบต่อเสถียรภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ ในระยะยาว
โดยในปีนี้ และปีหน้า เงินทุนต่างชาติจะยังไหลเข้าประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปของเงินลงทุนโดยตรงและการเข้าซื้อตราสารหนี้ และตราสารทุนในประเทศไทย “ทิศทางของเงินทุนในปีนี้ จะยังเป็นการไหลเข้าสุทธิ แม้ว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีจะมีการไหลออกของเงินทุนบ้าง และถึงจะมีการขายหุ้นออกต่อเนื่อง แต่เงินที่ไหลออกจริงยังเห็นไม่ชัดเจน ขณะที่การเข้าซื้อพันธบัตรภาครัฐ และตราสารหนี้ยังคงเป็นบวกค่อนข้างมาก
อย่าง ไรก็ตาม ความเปราะบางของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น รวมถึงความไม่สงบในตะวันออกกลางที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบโลก รวมถึงความพยายามในการทำข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อปรับโครงสร้างทางการเงิน ของโลก นอกจากนั้น ยังคงต้องรวมปัจจัยทางการเมืองของไทยด้วย จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความผันผวนของเงินทุนไหลออกจากประเทศไทย เป็นช่วงๆ”
สำหรับการดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายของธปท.นั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ในระยะสั้น การเข้าแทรกแซงเพื่อลดความผันผวนของค่าเงินบาทยังต้องดำเนินการต่อเนื่อง หลังจากที่ผ่านมา ตลาดจะเห็นทุนสำรองทางการที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าแทรกแซงตลาด เพื่อรองรับสถานการณ์ไม่ให้เกิดความผันผวน ขณะเดียวกัน จะเสริมความแข็งแกร่งทางการเงินของประเทศระยะต่อไปด้วยการสร้างแผนแม่บทเงิน ทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ที่ชัดเจนเป็นระบบ โดยจะผ่อนคลายการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นอีก เพื่อให้สมดุลกับการไหลเข้าของเงินทุน รวมทั้งหากมีสถานการณ์จำเป็น ธปท.พร้อมที่จะเข้าแทรกกแซงตลาด เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นผ่านการใช้มาตรการในการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ซึ่งจะแตกต่างและเหมาะสมกับสถานการณ์ในเวลานั้น
เรื่องสุดท้ายคือ การดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายระดับระหว่างประเทศ ซึ่งทั้งระดับรัฐบาล กระทรวงการคลัง และธปท.ในอาเชี่ยนด้วยกัน สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระดับภูมภาค ซึ่งในมิติแรกในเรื่องของการความร่วมมือกันเพื่อรองรับปัญหาสภาพคล่องที่อาจ จะเกิดขึ้นจากกการไหลออกของเงินทุนเฉียบพลัน ของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือทั้งภูมิภาค ซึ่งอาจจะนำไปสู่วิกฤตการเงิน ธปท.สนับสนุนและร่วมอยู่ในข้อตกลงความร่วมมือเชียงใหม่ ซึ่งมีการตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องของประเทศที่เกิดวิกฤต หรือ CMIM
อย่างไรก็ตาม ในมิติที่สอง ที่จะจัดตั้งเงินอาเชียนสกุลเดียว หรือการใช้เงินท้องถิ่นในการชำระการค้าขายในกลุ่มนั้น ธปท.ยังเห็นว่า ไม่เหมาะสมในขณะนี้ เนื่องจากมีความแตกต่างระหว่างเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศมากเกินไป ซึ่งมีบทเรียนแล้วจากสหภาพยุโรป และเงินยูโร ขณะที่การนำเงินหยวนมาใช้ในการแลกเปลี่ยนเพื่อค้าขายภายในภูมิภาคอีกสกุล หนึ่ง เพื่อลดการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากกว่า แต่มีเงื่อนไขที่เงินหยวน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินสกกุลหยวน ต้องมีมากขึ้นและแพร่หลายกว่าในช่วงที่ผ่านมา
ที่มา: ทีมข่าวเศรษฐกิจ ไทยรัฐออนไลน์ วันอังคารที่ 8 มีนาคม 2554
.
No comments:
Post a Comment