เอแบคโพลล์ ชี้ หัวหน้าครัวเรือน ขณะที่ 61%
มีภาระต้องผ่อนชำระสินค้า ในแต่ละเดือน
กว่า 63% อยากให้รัฐ เร่งนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้แก้ปัญหาขอรัฐเร่งปลูกจิตสำนึก
ป้องกันเกิดภาวะหนี้เสีย
นางสาวปภาดา ชินวงศ์ ผู้จัดการโครงการเปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2556 เรื่องภาระหนี้สินของประชาชน กรณีศึกษา หัวหน้าครัวเรือนที่มีอายุ 25-60 ปี
ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,205 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างเดือนกรกฎาคม
2556 ที่ผ่านมา
ผลการสำรวจ พบว่า ตัวอย่างส่วนมาก (ร้อยละ
61.0) มีภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระเมื่อเทียบกับรายได้ในแต่ละเดือน
โดยตัวอย่างร้อยละ 30.6 ระบุ ต้องผ่อนชำระร้อยละ 26 – 50 ของรายได้ต่อเดือน
ร้อยละ 26.4 ระบุ ต้องผ่อนชำระหนี้สิน ไม่เกินร้อยละ 25 ของรายได้ต่อเดือน
และร้อยละ 4.0 ระบุต้องผ่อนชำระมากกว่าร้อยละ 50 ของรายได้ต่อเดือน
ในขณะที่ร้อยละ 39.0 ระบุ ไม่มีหนี้สินที่ต้องชำระ/ผ่อนชำระ
ที่สำคัญ ตัวอย่างกว่าร้อยละ 60 ระบุ การมีหนี้สิน ซึ่งเป็นหนี้ในระบบมากที่สุด
รองลงมา คือ หนี้นอกระบบ และหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ตามลำดับ
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน พบว่า
เมื่อกลุ่มตัวอย่างมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะมีหนี้สินเพิ่มขึ้นตาม
โดยกลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 50,000 บาทต่อเดือน มีหนี้สินสูงถึงร้อยละ 80
ขณะที่กลุ่มที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน มีหนี้สินร้อยละ 50
แต่มีข้อน่าสังเกตว่า เกือบครึ่งหนึ่งที่เป็นหนี้สินนอกระบบ
กลุ่ม
ตัวอย่างที่เป็นหนี้ในระบบ ระบุว่า ส่วนใหญ่กู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์
รองลงมาคือ ธนาคารของรัฐ หนี้กับบัตรเครดิต สินเชื่อเงินด่วน/เงินสด
ตามลำดับ สำหรับรูปแบบการกู้นอกระบบของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า
เกินครึ่งหรือร้อยละ 57.6 กู้ยืมจากนายทุน รองลงมา คือ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง
และเพื่อน โดยมีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดร้อยละ 20 บาท/เดือน
เมื่อสอบ
ถามถึงประเภทหนี้สิน ที่ต้องผ่อนชำระ พบว่า ผู้มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาท
ส่วนมากมีภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ คือ เรื่องค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อาหาร เป็นต้น และการกู้ยืม/หนี้สิน ในการประกอบอาชีพ
ประกอบธุรกิจ และสิ่งที่ค้นพบคือ ผู้มีรายได้ 10,000–30,000 หรือร้อยละ 1
ใน 5 ของตัวอย่าง ระบุ มีหนี้สินต้องผ่อนรถยนต์คันแรก ตามนโยบายของรัฐ
ขณะที่ผู้ที่มีรายได้ 30,001 บาทขึ้นไป ระบุ มีหนี้สินต้องผ่อนรถยนต์
และบ้าน ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ
จากผลสำรวจ พบว่า
ตัวอย่างบางส่วนเคยถูกข่มขู่ตามทวงหนี้จากนายทุนนอกระบบ อย่างไรก็ตาม
การรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อกฎหมายควบคุมธุรกิจทวงหนี้ พบว่า
ตัวอย่างไม่ถึงครึ่ง หรือร้อยละ 42.2 รับทราบตัวกฎหมายดังกล่าว
และสิ่งที่ตัวอย่างอยากให้รัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สิน
นอกระบบ โดยเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยที่ไม่ควรเกินกฎหมายกำหนด รองลงมา คือ
จัดตั้งสถาบันการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย
และเพิ่มบทลงโทษในตัวกฎหมาย ควบคุมเจ้าหนี้ ตามลำดับ
ประการสุดท้าย
ความต้องการที่อยากให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน
ดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยตัวอย่าง ร้อยละ 63.7 ระบุ
อยากให้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงจัง รองลงมา
อยากให้มีการปรับสมดุลราคาสินค้า ให้มีความสอดคล้องกับรายได้ ค่าแรงขั้นต่ำ
จัดสวัสดิการ ให้กับประชาชนอย่างครอบคลุม เช่น การรักษาพยาบาล
รณรงค์ปลูกฝังจิตสำนึกรักแผ่นดินอย่างจริงจัง
“ใช้สินค้าไทยบริโภคสินค้าไทย” และส่งเสริมสนับสนุนการทำอาชีพเสริม เช่น
การฝึกฝีมือแรงงานตามลำดับ
จากการศึกษาครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า
กลุ่มตัวอย่างมีภาระหนี้สิน สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
เผชิญปัญหาหนี้สินนอกระบบ รวมไปถึงภาระการจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูง
ดังนั้นรัฐบาลควรเข้ามาแก้ไขนอกจากตัวกฎหมายในการควบคุม
ยังรวมไปถึงการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนให้ทั่วถึง
นอกจากนี้
ผู้มีรายได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่มีการกู้เงินมา
ซื้อรถยนต์ ซื้อบ้าน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการผลักดันนโยบายของรัฐบาลเอง
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดสภาพคล่องที่จะนำไปสู่ภาวะหนี้เสียของประชาชน
ได้ รัฐบาลควรปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชน
ในการนำหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับทุกภาคส่วน
ซึ่งจากผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 ได้ให้ความเห็นว่า
รัฐบาลควรมีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงจัง
No comments:
Post a Comment