หนึ่งในนโยบายรัฐบาลที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยพูดถึงมากเท่าไร นั่นคือ
นโยบายการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน
ถึงขนาดครั้งหนึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
เคยเสนอแนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในเชิงผลประโยชน์ทับซ้อน
แต่ปรากฏว่า ครม.ชุดนี้นิ่งเฉยไม่มีการนำมาแถลงข่าว
จนเป็นที่วิจารณ์ว่าข้อเสนอดังกล่าว
อาจเป็นของแสลงใจรัฐบาลที่มีเครือญาติดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ล่าสุด การประชุม ครม. เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2555 ปรากฏวาระพิจารณาจร เรื่อง “ยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน” เข้าสู่ที่ประชุม ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือนของ
รัฐบาลยิ่งลักษณ์หันมาจับนโยบายปราบปรามทุจริต โดยในวันที่ 18 พ.ค.
จะมีการจัดนำร่องสู่การจัดเวิร์กช็อปเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการปราบ
ปรามการทุจริตภาครัฐครั้งใหญ่ ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ โดยเชิญคณะรัฐมนตรี
หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัด ตลอดจนผู้แทนจากภาคเอกชน
ภาคประชาสังคม และภาคท้องถิ่นเข้าร่วม
แผนงานเชิงรุกตามที่รัฐบาลวาดฝันจะทำให้เกิดขึ้นจริง มี 4 แนวทาง ได้แก่
1.สร้างข้าราชการไทยหัวใจสีขาว รณรงค์ให้ข้าราชการตื่นตัวต่อต้านทุจริต
2.การพัฒนาองค์กรสีขาว
โดยจะมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
3.การตรวจสอบ
เฝ้าระวังเชิงรุก จัดตั้งศูนย์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (Anti-Corruption
War Room) : เป็นศูนย์ปฏิบัติการในการบูรณาการด้านการตรวจสอบ
รับแจ้งเบาะแสอย่างเบ็ดเสร็จครบวงจร ณ จุดเดียว
4.การปราบปรามที่จริงจังและการลงโทษที่เข้มงวด ด้วยการประกาศลงโทษผู้กระทำผิดการทุจริตให้สาธารณชนได้รับรู้
ทั้งนี้ ภายหลังการคิกออฟวันที่ 19 พ.ค.2555 รัฐบาลกำหนดปฏิทินทำงานไว้อย่างน่าสนใจ เริ่มตั้งแต่เดือน พ.ค.-1 มิ.ย.2555 เป็นช่วงปูพรมประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ จากนั้นตลอดเดือน มิ.ย. จะสำรวจความพึงพอใจของประชาชน/เอกชนต่อนโยบายปราบโกงรัฐบาล ปลายเดือน มิ.ย. บรรดาส่วนราชการนำเสนอข้อเสนอการพัฒนาองค์กรในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน
ช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.
ถือว่ามีไฮไลต์น่าสนใจ เมื่อรัฐบาลวางแผนไว้ประมาณกลางเดือน ก.ค.
ให้แก้กฎคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
ให้การสอบสวนลงโทษกรณีทุจริตแล้วเสร็จภายใน 120 วัน
กำหนดไม่ให้ส่วนราชการรับผู้ถูกลงโทษทุจริตกลับเข้ารับราชการ
ประกาศบทลงโทษผู้กระทำผิด จากนั้นเดือน ส.ค.-ก.ย. จะมีการสรุปผลจำนวนเรื่องร้องเรียน/ดำเนินการสำเร็จมากน้อยขนาดไหน และในต้นเดือน ก.ย. สัญจรภาคครั้งที่ 2 กลางเดือน ก.ย. ประกาศผลสำรวจองค์กรยอดคดีและยอดแย่
ปลายเดือน ก.ย.-30 ต.ค.2555
ให้ส่วนราชการและจังหวัดรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานและเผยแพร่ต่อ
สาธารณะ มีสัญจรภูมิภาคครั้งที่ 3 ต้นเดือน พ.ย. ประกาศบทลงโทษผู้กระทำผิด
นำร่องการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในส่วนราชการ ส่วนปลายเดือน ธ.ค. นายกรัฐมนตรีประกาศความสำเร็จรอบ 6 เดือน และประกาศก้าวต่อไปของการต่อต้านการทุจริต
แผนงานยังได้วางไว้ถึงปี 2556 โดยกลางเดือน พ.ค. นายกฯ จะประกาศความสำเร็จปราบโกง 1 ปี
ด้าน สมชัย ศรีสุทธิยากร
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและติดตามนโยบายภาครัฐ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
มองนโยบายปราบโกงของรัฐบาล ว่า
นโยบายที่ออกมาเป็นการมองคอร์รัปชันที่เกิดจากภาคข้าราชการฝ่ายเดียว
ไม่ได้มองว่าข้าราชการต้องดำเนินการร่วมกับฝ่ายการเมือง
ทั้งที่การทุจริตทุกวันนี้จะเห็นได้ชัดว่า
ข้าราชการเป็นเพียงเครื่องมือของฝ่ายการเมือง ดังนั้น
รัฐบาลควรออกมาตรการครอบคลุมไปถึงการทุจริตในฝ่ายการเมือง
หรือในระดับนโยบายด้วย
ขณะที่กลไกการรับแจ้ง ที่นโยบายระบุว่า จะให้มีศูนย์รับแจ้ง
หรือมีวอร์รูมขนาดใหญ่แบบวันสต็อปเซอร์วิสนั้น สมชัย กล่าวว่า
การจัดทำศูนย์รับแจ้งทุจริตคอร์รัปชัน
ก็มีผ่านสายตรงหลายสายและหลายหน่วยงานอยู่แล้วในปัจจุบัน
แต่รัฐบาลกลับไม่ได้วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่วอร์รูม
หรือศูนย์รับแจ้งเหล่านี้ล้มเหลว
มีที่มาจากประชาชนไม่เชื่อในความปลอดภัยในชีวิตของตนเองหากแจ้งเรื่องผ่าน
องค์กรเหล่านี้
“อันที่จริงนี่ไม่ใช่นโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันครั้งแรก
แต่เรามีมาตลอด ภายใต้การส่งเสริม ป.ป.ช.
ไม่ว่าจะเป็นโครงการศูนย์ราชการใสสะอาด
หรือโครงการที่ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างได้
ซึ่งถ้าทำรูปแบบให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและติดตามได้ง่ายขึ้น
รวมถึงเห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้นว่า
มาตรการเหล่านี้สามารถแก้ไขปัญหาการทุจริตได้จริง ก็จะเป็นประโยชน์กว่านี้”
รสนา โตสิตระกูล สว.กรุงเทพมหานคร
(กทม.) เห็นว่า
นโยบายดังกล่าวเป็นเพียงการลูบหน้าปะจมูกของคนในรัฐบาลเท่านั้น
เพราะหากมองไปจริงๆ แล้วยังมีการส่อแววทุจริตเชิงนโยบายอยู่หลายเหตุการณ์
อาทิ การยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 ก.ย. 2554
ทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียเงินในส่วนของก๊าซแอลพีจีสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่ต้องจ่ายสมทบกองทุนกว่า 2,400 ล้านบาท
รสนายังยกตัวอย่างการเปิดช่องทุจริต เช่น
การจัดซื้อจัดจ้างโครงการเพื่อป้องกันอุทกภัย
ที่ให้ใช้การจัดซื้อจัดจ้างเป็นวิธีพิเศษทั้งหมด
ซึ่งเอื้อให้การเมืองเข้ามาอาศัยโครงการขนาดใหญ่ในการหากิน
และแบ่งส่วนแบ่งระหว่างข้าราชการและนักการเมือง
“เรามีสัตยาบันในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต 3 ฉบับ
ซึ่งค้างมาจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
และไม่มีทีท่าว่ารัฐบาลชุดนี้จะหยิบขึ้นมาลงนาม
ซึ่งเหลือประเทศไทยเป็นประเทศสุดท้ายที่ยังไม่ลงนาม
น่าแปลกที่รัฐบาลชุดนี้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติว่าจะต่อต้านการทุจริต
แต่กลับไม่สนใจเรื่องเหล่านี้ ทำให้เห็นว่าพูดอะไรก็ได้ทั้งนั้น
แต่พฤติกรรมที่ออกมาไม่เคยสนใจทำสักอย่าง” รสนา กล่า
:: คิกออฟปราบโกงหรืแค่ลูบหน้าปะจมูก? โพสต์ทูเดย์ดิจิตอล: โพสต์ทูเดย์ดอทคอม วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม 2555
No comments:
Post a Comment