ทนายความคนหนึ่ง ปัจจุบันเป็นนายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นใน
จ.นครราชสีมา ข้องใจการปฏิบัติงานของตำรวจในจังหวัด
สงสัยว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
เมื่อต้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
เขาขับรถผ่านไปทาง อ.ปักธงชัย มีด่านตำรวจเรียกให้หยุดตรวจ
เขาโดนใบสั่งในข้อหาป้ายเสียภาษีประจำปีหมดอายุ
ที่จุดตรวจมีตำรวจตั้งโต๊ะให้บริการปรับ มีร้อยเวรควบคุม
ใช้ตำรวจราว 10 นาย
ระหว่างรอปรับอยู่ราว 15 นาที พบว่ามีรถคันอื่นถูกปรับข้อหาต่างๆราว 10 คัน
เขาสอบถามตำรวจชุดนั้นได้ความว่า ตำรวจตั้งด่านผลัดละ 3 ชั่วโมง
คิดคร่าวๆว่า ในการตั้งด่านแต่ละครั้งจะมีรถถูกปรับอย่างต่ำ 100 คัน หากถูกปรับคันละ 300 บาท รวมแล้วค่าปรับคนผลัดละ 3 หมื่นบาท
เดือนละเป็นแสน!
อีกไม่กี่วันต่อมา ทนายความคนเดียวกันนั้นก็ได้รับจดหมายเรียกให้ไปชำระค่าปรับในข้อหา “ขับรถเร็ว” อีกครั้งหนึ่ง
หมายเรียกระบุให้ไปเสียค่าปรับที่ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมาหรือไปชำระทางไปรษณีย์ก็ได้
ในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจึงเกิดความข้องใจเกี่ยวกับส่วนแบ่งจากเงินค่าปรับและวิธีการจับกุม
เรื่องส่วนแบ่งค่าปรับควรมีการส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดินให้กับท้องถิ่นที่พบการกระทำผิด
กรณีนี้ไม่เคยมีการนำส่ง ไม่ว่าจะเป็นข้อหาอะไร
สอบถามเพื่อนผู้บริหารท้องถิ่นด้วยกันก็ได้รับการยืนยันเหมือนกันว่า ไม่มีการนำส่งรายได้จากการตั้งด่านลักษณะนี้
เงินรายได้จากค่าปรับเดือนละกว่าล้านบาท จัดสรรแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆอย่างไร
ชุดที่ไปตั้งด่านมีกัน 10 กว่านายเท่านั้น
หากแบ่งกันแค่ชุดทำงานก็ได้ไปคนละเป็นแสนบาทต่อเดือน
ส่วน
เรื่องวิธีการจับกุมน่าสงสัยว่า ตำรวจชุดที่ไปตั้งด่านใช้ชื่อว่า
“จราจรกลาง” เป็นชุดที่รวมตำรวจใน จ.นครราชสีมา
อ้างว่ามีอำนาจไปตั้งด่านในทุกพื้นที่ของจังหวัด
จริงๆแล้วมีอำนาจหรือไม่
การไปตั้งด่านตั้งหน้าตั้งตาจับเพื่อหวังส่วนแบ่งค่าปรับแบบนี้ทำให้ตำรวจท้องที่เสียชื่อ ชาวบ้านไม่รู้คิดว่าเป็นตำรวจท้องที่
จึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบและสั่งการให้ถูกต้อง
ตอนนี้การจัดชุด “จราจรกลาง” ของจังหวัดออกไปตั้งด่านจับ-ปรับกำลังแพร่ระบาดไปยังจังหวัดต่างๆใน ผบช.ภ.3
ถูกต้องแค่ไหนไม่รู้ รู้แต่ว่ารายได้ดี.
“เพลิงมรกต”
::จราจรกลาง เลขที่1 วิภาวดี เพลิงมรกต ไทยรัฐออนไลน์ วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม 2555
No comments:
Post a Comment