อเมริกาจะเข้าสู่ยุคแห่งความมืด ในสายตาของ Paul Krugman โดย สมจินต์ เปล่งขำ สำนักงานส่งเสริมการค้ารระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก
Paul Krugman นักเศรษฐศาสตร์อเมริกันที่เคยได้รับรางวัลโนเบิล เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทมส์ เร็วๆนี้ โดยจั่วหัวเรื่องว่า "America Goes Dark"
อเมริกาจะเข้าสู่ยุคแห่งความมืดจริงดังที่ Paul Krugmanเขียนไว้หรือไม่ ลองมาอ่านเรื่องราวในบทความนี้กันก่อนดีกว่า เขาว่าไว้ดังนี้
"ไฟฟ้ากำลังจะดับทั่วอเมริกาอย่างแน่นอน" Colorado Springs สร้างเหตุการณ์ที่ทำให้ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์จากความพยายาม (อย่างสิ้นหวัง) ที่จะประหยัดเงินโดยการปิดไฟถนนหนึ่งในสาม แต่เหตุการณ์ลักษณะคล้ายกันนี้กำลังเกิดขึ้นทั่วประเทศสหรัฐฯ ตั้งแต่ ฟิลาเดเฟีย ไปจนถึง เฟรสโน (ตะวันออก ไปจนถึง ตะวันตก)
"ประเทศที่ครั้งหนึ่ง (นานมาแล้ว) เคยทำให้โลกตกตะลึง ในวิสัยทัศน์การลงทุนด้านคมนาคม จากคลอง Erie Canal จนถึง ระบบทางหลวงเชื่อมระหว่างรัฐ ปัจจุบันกำลังไม่สามารถแม้แต่จะลาดยางปิดหน้าพื้นถนนตัวเองได้ รัฐบาลท้องถิ่นในหลายมลรัฐต้องปล่อยให้ถนนพังเป็นหลุมเป็นบ่อ เพราะไม่มีงบประมาณที่จะซ่อมบำรุง" เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงแท้แน่นอนที่น่าประหลาดใจ คนไทยหลายคนที่ได้ไปเยี่ยมเยียนมหานครนิวยอร์ก จะตกใจกับถนนในเมืองใหญ่แห่งนี้ที่เต็มไปด้วยหลุมบ่อ โดยเฉพาะถนน บอร์ดเวย์ บริเวณหน้า วอลล์สตรีท ซึ่งเป็นจุดที่มีเงินสะพัดในการซื้อขายหุ้นอย่างมหาศาลในแต่ละวัน กลับเต็มไปด้วยหลุม พื้นหน้าถนนเสียหายจนต้องเอาแผ่นเหล็กมาปูทับไว้เป็นระยะๆ เวลาขับรถผ่านก็ต้องคดไปเคี้ยวมาหลบหลุมพวกนี้
"และประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยมีชื่อเรื่องการศึกษา เคยเป็นประเทศอันดับต้นของโลกในการให้การศึกษาพื้นฐานกับเด็กๆ เดี๋ยวนี้กลับต้องตัดงบประมาณด้านนี้ ครูถูกลอยแพ โครงการต่างๆถูกยกเลิก และยังมีสัญญาณว่าจะมีการตัดโครงการและงบประมาณเพิ่มอีกในอนาคต"
"คนอเมริกันได้รับการบอกกล่าวว่า เราไม่มีทางเลือกอื่น หน้าที่พื้นฐานของรัฐบาลในการให้บริการที่สำคัญๆต่างๆมาทุกยุคทุกสมัย บัดนี้ไม่สามารถจะหาเงินมาใช้จ่ายได้แล้ว ซึ่งก็เป็นความจริงที่ว่าทั้งรัฐบาลของรัฐฯและรัฐบาลท้องถิ่นเจอมรสุม เศรษฐกิจถดถอย แต่ก็ยังไม่น่าจะต้องรัดเข็มขัดกิ่วแบบนี้ ถ้านักการเมืองจะพิจารณาอย่างน้อยที่สุดก็เรื่องการขึ้นภาษีรายได้ และรัฐบาลกลางที่สามารถออกพันธบัตรระยะยาวในอัตราดอกเบี้ย 1.04% เพื่อป้องกันเงินเฟ้อกลับไม่ต้องรัดเข็มขัดอะไรเลย จึงควรที่จะเสนอให้เงินช่วยเหลือรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อปกป้องอนาคตของเด็ก (เรื่องการศึกษา) และของโครงสร้างพื้นฐาน (เรื่องคมนาคม)"
"แต่วอชิงตันกลับให้ความช่วยเหลือแบบกะปริบกะปรอย ยิ่งกว่านั้นคือเหมือนไม่เต็มใจ พรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตบางพวกพากันพูดแต่ว่า เราต้องให้ความสำคัญอันดับแรกกับการลดการขาดดุลก่อน และยังต้องรักษาระดับการหั่นภาษีพวกคนรวยไว้ที่ต้นทุนงบประมาณ 700 พันล้านเหรียญฯในทศวรรษหน้า ผลก็คือ สิ่งที่นักการเมืองส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ คือ ให้ทางเลือกพวกคนรวยที่สุด (2% ของคนอเมริกัน) ว่า จะกลับไปจ่ายภาษีในอัตราที่เคยจ่ายในยุคเฟื่องฟูของประธานาธิบดีคลินตัน หรือจะยอมให้โครงสร้างพื้นฐานของประเทศต้องแตกสลายไป (โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาและถนนหนทาง) ปรากฎว่าคนรวยสุดๆพวกนี้เลือกอย่างหลัง!!!!! และทางเลือกนี้เป็นมหันตภัยต่อประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว"
"ในระยะสั้น การตัดงบประมาณของรัฐบาลแห่งรัฐฯและรัฐบาลท้องถิ่น จะเป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจ และเพิ่มอัตราการว่างงาน"
" สิ่งสำคัญคือ เราต้องคำนึงถึงรัฐบาลแห่งรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นไว้ในใจเสมอ เวลาได้ยินคนโวยเรื่องการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลโอบามาที่ออกนอกลู่นอกทาง ใช่แล้ว รัฐบาลกลางกำลังใช้จ่ายเงินมากขึ้นๆแต่รัฐบาลแห่งรัฐฯและรัฐบาลท้องถิ่น กำลังตั้งหน้าตั้งตาตัดงบประมาณ ซึ่งถ้ารวมสองเรื่องนี้เข้าด้วยกัน จะพบว่า การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างใหญ่หลวงคือ โครงการตาข่ายรองรับกันตก (Safety-Net Program) เช่น การประกันการว่างงาน ซี่งทำให้ต้องใช้เงินสูงมาก"
" เป็นอันว่างบกระตุ้นเศรษฐกิจที่ล้มเหลว ก็คือ เมื่อเราดูการใช้จ่ายของรัฐบาลโดยรวมแล้ว จะเห็นว่าแทบไม่ได้กระตุ้นอะไรเลย และยิ่งการใช้จ่ายของรัฐบาลกลางยังซ้ำๆรอยเดิมในขณะที่รัฐบาลแห่งรัฐฯและ รัฐบาลท้องถิ่นยังคงตัดงบประมาณต่อไป ผลก็คือเรากำลังเข้าเกียร์ถอยหลัง"
" ทีนี้ดูซิว่า การไม่ขึ้นภาษีคนรวยเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยหรือไม่? คำตอบคือ ไม่ใช่แน่นอน เมื่อเรารักษางานไว้ให้ครูนั่นเป็นการช่วยเหลือเรื่องการจ้างงานอย่างชัดเจน แต่แทนที่จะทำอย่างนั้น เราเอาเงินมาให้คนรวยสุดๆมากขึ้น มีความเป็นไปได้สูงว่าเงินนั้นจะนั่งอยู่เฉยๆไม่เคลื่อนไหวไปไหน"
" แล้วเรื่องอนาคตของเศรษฐกิจล่ะ? ที่เรารู้มาเรื่องการเติบโตของเศรษฐกิจคือ ประชากรมีการศึกษาดีและโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูง เป็นส่วนสำคัญ ประเทศที่กำลังเจริญเติบโตทั้งหลายต่างก็เร่งพละกำลังอย่างใหญ่หลวงเพื่อยก ระดับคุณภาพถนน, ท่าเรือ, โรงเรียน แต่ในอเมริกา เรากำลังเดินถอยหลัง"
" เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? มันเป็นผลสืบเนื่องมา 3 ทศวรรษของการปลุกปั่นให้แอนตี้รัฐบาล การปลุกปั่นซึ่งทำให้คนที่ลงคะแนนเลือกตั้งเชื่อว่า หนึ่งดอลล่าร์ที่ถูกเก็บภาษีไปเป็นหนึ่งดอลล่าร์ที่สูญเปล่า และภาครัฐบาลไม่สามารถทำอะไรที่ถูกต้องได้เลย การรณรงค์แอนตี้รัฐบาลมักจะมาในรูปวลีจากฝ่ายค้านว่า สูญเปล่าและขี้โกง (Waste and Fraud) ซี่งจริงๆแล้ว การสูญเปล่าและขี้โกงไม่ได้มีมากมายขนาดที่ถูกกล่าวหา ตอนนี้การรณรงค์ได้มาถึงจุดแล้ว เรากำลังได้เห็นเป้ายิงว่าใครควรจะต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ การบริการซึ่งทุกคน (ยกเว้นคนรวย)ต้องการ การบริการซึ่งรัฐบาลต้องเป็นผู้ให้ เช่นไฟข้างถนน, ถนนที่รถวิ่งได้, และโรงเรียนรัฐบาลที่มีมาตรฐานและเพียงพอสำหรับประชาชน ฯลฯ"
" ผลลัพธ์สุดท้ายของการรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลอันยาวนาน ก็คือ เราได้เลี้ยวผิดทางอย่างอันตรายที่สุด อเมริกากำลังอยู่บนถนนที่ไม่ได้ลาดยางและไม่มีไฟ ซึ่งจะไม่ได้พาเราไปสู่ที่ไหนทั้งสิ้น"
Paul Krugman จบข้อเขียนของเขาอย่างคมชัดตามแบบฉบับ ถึงแม้จะฟังดูค่อนข้างผิดหวัง แต่ก็ยังแฝงการกระตุ้นทั้งฝ่ายรัฐบาลและประชาชนให้หันมาสนใจต่อการแก้ไข ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศอย่างจริงจัง และสนับสนุนความคิดของเขาที่จะให้เก็บภาษีคนรวยเพิ่มขึ้น แน่นอนเรื่องนี้จะกลายเป็นประเด็นใหญ่อย่างแน่นอนในการหาเสียงเลือกตั้งที่ กำลังใกล้เข้ามา เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลกำลังถูกโจมตีอย่างมากในเรื่องการใช้งบกระตุ้น เศรษฐกิจที่ล้มเหลว และการอุ้มคนรวย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษี หรือการให้ความช่วยเหลือบริษัทการเงินใหญ่ๆที่มีปัญหา คงต้องดูกันว่า รัฐบาลโอบามาจะบริหารประเทศผ่านวิกฤตินี้ไปได้อย่างไร
ที่มา: อเมริกาจะเข้าสู่ยุคแห่งความมืด เดลินิวส์ออนไลน์ วันพฤหัสบดี ที่ 16 กันยายน 2553
อ่านภาษาไทยแล้ว ลองอ่านภาษาอังกฤษต้นฉบับดูครับ
America Goes Dark
By PAUL KRUGMAN
Published: August 8, 2010
The lights are going out all over America — literally. Colorado Springs has made headlines with its desperate attempt to save money by turning off a third of its streetlights, but similar things are either happening or being contemplated across the nation, from Philadelphia to Fresno.
Fred R. Conrad/The New York Times
Meanwhile, a country that once amazed the world with its visionary investments in transportation, from the Erie Canal to the Interstate Highway System, is now in the process of unpaving itself: in a number of states, local governments are breaking up roads they can no longer afford to maintain, and returning them to gravel.
And a nation that once prized education — that was among the first to provide basic schooling to all its children — is now cutting back. Teachers are being laid off; programs are being canceled; in Hawaii, the school year itself is being drastically shortened. And all signs point to even more cuts ahead.
We’re told that we have no choice, that basic government functions — essential services that have been provided for generations — are no longer affordable. And it’s true that state and local governments, hit hard by the recession, are cash-strapped. But they wouldn’t be quite as cash-strapped if their politicians were willing to consider at least some tax increases.
And the federal government, which can sell inflation-protected long-term bonds at an interest rate of only 1.04 percent, isn’t cash-strapped at all. It could and should be offering aid to local governments, to protect the future of our infrastructure and our children.
But Washington is providing only a trickle of help, and even that grudgingly. We must place priority on reducing the deficit, say Republicans and “centrist” Democrats. And then, virtually in the next breath, they declare that we must preserve tax cuts for the very affluent, at a budget cost of $700 billion over the next decade.
In effect, a large part of our political class is showing its priorities: given the choice between asking the richest 2 percent or so of Americans to go back to paying the tax rates they paid during the Clinton-era boom, or allowing the nation’s foundations to crumble — literally in the case of roads, figuratively in the case of education — they’re choosing the latter.
It’s a disastrous choice in both the short run and the long run.
In the short run, those state and local cutbacks are a major drag on the economy, perpetuating devastatingly high unemployment.
It’s crucial to keep state and local government in mind when you hear people ranting about runaway government spending under President Obama. Yes, the federal government is spending more, although not as much as you might think. But state and local governments are cutting back. And if you add them together, it turns out that the only big spending increases have been in safety-net programs like unemployment insurance, which have soared in cost thanks to the severity of the slump.
That is, for all the talk of a failed stimulus, if you look at government spending as a whole you see hardly any stimulus at all. And with federal spending now trailing off, while big state and local cutbacks continue, we’re going into reverse.
But isn’t keeping taxes for the affluent low also a form of stimulus? Not so you’d notice. When we save a schoolteacher’s job, that unambiguously aids employment; when we give millionaires more money instead, there’s a good chance that most of that money will just sit idle.
And what about the economy’s future? Everything we know about economic growth says that a well-educated population and high-quality infrastructure are crucial. Emerging nations are making huge efforts to upgrade their roads, their ports and their schools. Yet in America we’re going backward.
How did we get to this point? It’s the logical consequence of three decades of antigovernment rhetoric, rhetoric that has convinced many voters that a dollar collected in taxes is always a dollar wasted, that the public sector can’t do anything right.
The antigovernment campaign has always been phrased in terms of opposition to waste and fraud — to checks sent to welfare queens driving Cadillacs, to vast armies of bureaucrats uselessly pushing paper around. But those were myths, of course; there was never remotely as much waste and fraud as the right claimed. And now that the campaign has reached fruition, we’re seeing what was actually in the firing line: services that everyone except the very rich need, services that government must provide or nobody will, like lighted streets, drivable roads and decent schooling for the public as a whole.
So the end result of the long campaign against government is that we’ve taken a disastrously wrong turn. America is now on the unlit, unpaved road to nowhere.
Source: Op-Ed Columnist (c) 2010 The New York Times [August 8, 2010]
No comments:
Post a Comment