"ลูก” เปรียบเสมือนโซ่ทองคล้องใจและเป็นความหวังของครอบครัวที่บางครั้งคู่รักทั้ง หลายอยากจะมีลูกน้อยไว้อุ้มชูเพื่อเติมเต็มความสุข แต่บางครอบครัวก็ไม่สามารถมีบุตรได้ด้วยเหตุผลหลากหลายประการที่แตกต่างกัน ไป จึงเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้ความสุขของครอบครัวขาดหายไป
พญ.สุนี ไมตรีสถิต สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลบางประกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล ได้อธิบาย ปัจจัยที่ทำให้บางครอบครัวมีบุตรยากว่า การที่เรามีความพร้อมอยากมีลูกมากเกินไป แต่ไม่มีสักทีก็สามารถทำให้ เกิดความเครียด หรือการที่เราเครียดกับสภาวะทางเศรษฐกิจ ซึ่งความเครียดนับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราเข้าข่ายมีบุตรยาก อย่างไรก็ตามปัญหาที่ทำให้เรามีบุตรยากเกิดขึ้นได้ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง ซึ่งแบ่งเป็นปัญหาของฝ่ายชาย 40 เปอร์เซ็นต์ ฝ่ายหญิง 40 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือ 20 เปอร์เซ็นต์เป็นปัญหาร่วม
ปัญหาของฝ่ายชายอันดับแรกเกิดจากการที่ตัวอัณฑะมีการผลิตอสุจิ แต่ว่าท่อนำอสุจิอาจจะตีบหรือมีปัญหา 2.เกิดจากความเครียดในเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันทำให้ชายไทยทำงานหนักและมักเครียดบ่อยอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ อสุจิผลิตได้น้อยและไม่แข็งแรง และ 3.การใช้ความร้อนเป็นเวลานาน ๆ เช่น การเข้าอบเซาน่านาน ๆ โดยเฉพาะที่บริเวณอัณฑะตลอดเวลาอาจทำให้อสุจิผลิตได้ไม่ดี อสุจิไม่มีคุณภาพ ทำให้มีอสุจิน้อยไม่แข็งแรงหรืออสุจิไม่สามารถที่จะหลั่งมาในน้ำอสุจิได้
ส่วนปัญหาของฝ่ายหญิงได้แก่ ปัญหาจากช่องคลอดหรือปากมดลูกมีการอักเสบเรื้อรัง ทำให้ตัวอสุจิแหวกว่ายผ่านช่องคลอด ปากมดลูกไปที่ตัวมดลูกและต่อไปยังปีกมดลูกได้ยาก หรือกระทั่งว่าปัญหาในโพรง มดลูกที่มีการหนาตัวหรือบางตัวที่ผิดปกติ ถ้ามีการปฏิสนธิเกิด ขึ้นก็อาจจะฝังตัวได้ไม่ดี หรือกระทั่งปีกมดลูกมีการตีบตัน ไม่ว่าจะเกิดจากการอักเสบเรื้อรังหรือเกิดจากปัญหาผนังเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้น ผิดที่บริเวณปีกมดลูกและทำให้ปีกมดลูกหรือท่อนำไข่อุดตันก็อาจสร้างปัญหาทำ ให้อสุจิกับไข่ไม่สามารถไปเจอกันตรงปีกมดลูกได้ซึ่งปัญหานี้ก็ทำให้มีบุตร ยาก หรือกระทั่งว่ารังไข่อาจจะไม่มีการตกของไข่ เช่น เนื่องจากความอ้วน ความเครียด หรือฮอร์โมนที่บกพร่อง ทำให้ไข่ไม่สมบูรณ์ทำให้เรามีบุตรยาก
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้าเป็นสมัยก่อนวิธีการแก้ไข คือ ถ้าฝ่ายหญิงปกติแต่ฝ่ายชายมีปัญหา คืออสุจิไม่แข็งแรง จะใช้วิธีนำอสุจิมาปั่นล้าง และเลือกตัวดีใส่เข้าไปในโพรงมดลูก เราเรียกว่า “การฉีด น้ำเชื้อ” (IUI : Intrauterine Insemination)
ต่อมามี การทำกิฟท์ (GIFT : Gamete Intrafallopian Transfer) คือการกระตุ้นไข่ด้วยการนำไข่ของฝ่ายหญิงมาและนำตัวอสุจิจากน้ำอสุจิของฝ่าย ชายมาปฏิสนธิ ที่ปีกมดลูก ด้วยการส่องกล้อง เข้าไปที่ปีกมดลูก
ต่อมามี การทำซิฟท์ (ZIFT : Zygote IntraFollopain Transfer) คือ คล้าย ๆ กับการทำกิฟท์ แต่การทำซิฟท์จะนำไข่กับอสุจิมาปฏิสนธิกันที่หลอดแก้วจน กระทั่งตัวอ่อนอยู่ในช่วงไซโกต (ZYGOTE) หลังจากนั้นจะเจาะรูตรงใต้สะดือส่องกล้องและนำตัวอ่อนใส่ไปที่ปีกมดลูก แต่ทั้ง 2 วิธีนี้ค่อนข้างที่จะนานมาแล้วและกลายเป็นตำนาน ไปแล้ว
ปัจจุบันนี้เรามีเทคโนโลยีที่ดีกว่านั้นคือ การทำเด็กในหลอดแก้ว คือการที่เรากระตุ้นไข่ และนำไข่กับอสุจิมาปฏิสนธิในหลอดแก้วที่ห้องทดลอง จนกระทั่ง 5-6 วัน หลังจากที่ตัวอ่อนเกิดการปฏิสนธิกลายเป็นบลาสโตซิสต์ เรานำตัวอ่อนนั้นใส่เข้าไปที่โพรงมดลูกโดยการ ใส่เข้าไปทางช่องคลอด ผ่านปากมดลูกด้วยการใช้เครื่องมือเล็ก ๆ ดูดเอาตัวอ่อนใส่เข้า ไปผ่านทางปากมดลูกเข้าไปที่โพรงมดลูก และวิธีการทำอิ๊กซี่ (ICSI : Intracytoplasmic Sperm Injection) คือการ ฉีดหรือเจาะใส่ “ตัวอสุจิ” เข้าไปในเนื้อของเซลล์ “ไข่” คือวิธีการทำคล้ายกับวิธี IVF-ET แต่ต่างกันตรงที่เรากระตุ้นไข่กับอสุจิและเลือกอสุจิตัวที่แข็งแรงที่สุด แล้วยิงใส่เข้าไปที่ตัวไข่โดยตรงให้เกิดการปฏิสนธิ จนกระทั่งวันที่ 3-5 เรานำตัวอ่อนนั้นฉีดใส่เข้าไปที่โพรงมดลูก
ปัจจุบันนอกจากจะมีปัญหาเรื่องการมีบุตรยากแล้วบางครอบครัวยังมีปัญหาคุณแม่ แท้งอยู่บ่อยครั้ง หรือคุณแม่ บางคนอายุมากหรือปัญหาในเรื่องของโรคทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม ธาลัสซีเมีย ฯลฯ ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันเราสามารถแก้ปัญหาด้วยวิธี “พีจีดี เทคนิค” (Preimplantation Genetic Diagnosis) คือการกระตุ้นรังไข่ฝ่ายหญิงให้ผลิตไข่ที่สมบูรณ์ หลังจากนั้นจะนำไข่ที่ได้รับการกระตุ้นโดยการเจาะไข่ผ่านทางช่องคลอด แล้วนำมาทำการปฏิสนธิกับอสุจิของสามีภายนอกร่างกาย แล้วเลี้ยงตัวอ่อนในห้องทดลองจนตัวอ่อนเข้า สู่ระยะบลาสโตซิสต์ ซึ่งจะมีจำนวนเซลล์ ประมาณ 150 เซลล์ หลังจากนั้นจะทำการ ดูดเซลล์ของตัวอ่อนออกมาประมาณ 5-10 เซลล์เพื่อทำการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมด้วยวิธีการที่เรียกว่า F.I.S.H.(Fluorescent InSitu Hybridization) ก็จะสามารถทราบความผิดปกติของตัวอ่อนได้ พอคัดเลือกตัวอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรมหรือธาลัสซีเมีย จึงใส่ตัวอ่อนที่สมบูรณ์กลับคืนสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัว
หากคู่สมรสที่เพียรพยายามอยากมีบุตรมาแล้ว 1 ปี แต่ ยังไม่สามารถมีได้ อย่าเพิ่งท้อ เพราะเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์นี้ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถดูแลท่านได้ โดยสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ศูนย์ดูแลผู้ มีบุตรยาก โดยเฉพาะโรงพยาบาล บางประกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล แต่ทั้งหมดแล้วกำลังใจจากครอบครัว ความไม่เครียด และการดูแลสุขภาพตัวเองเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อเตรียมพร้อมสร้างชีวิตใหม่ที่สมบูรณ์ทั้งกายและใจ
ที่มา: การแพทย์ก้าวหน้า"พีจีดี เทคนิค" อีกความหวังผู้มีบุตรยาก เดลินิวส์ออนไลน์ วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม 2553
No comments:
Post a Comment