คนไทยเป็นมะเร็งตายติดอันดับ 1 แซงหน้าเอดส์-อุบัติเหตุ-โรคหัวใจ คาดอีก 10 ปีข้างหน้า สังเวยโรคร้ายปีละ 11 ล้านคนทั่วโลก...
สัปดาห์รณรงค์ป้องกันโรคมะเร็งแห่งชาติ - มะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็น 1 ใน 5 โรคที่คุกคามชีวิตคนไทยมากที่สุด 5 โรคดังกล่าว ได้แก่ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ซึ่งแนวทางแก้ปัญหาที่ตรงประเด็นที่สุดกับคนไทยในภาพรวมคือ ทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้คนไทยเป็น 5 โรคนี้ หรือถ้าป่วย ต้องมีวิธีการรักษาที่ถูกวิธี
องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ประมาณ 11 ล้านคนทั่วโลก ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก สำหรับประเทศไทย นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข จะมุ่งเน้นการป้องกันเป็นหลัก เนื่องจากร้อยละ 40 ของผู้ป่วย สามารถรักษาให้หายได้ถ้ารับการรักษาตั้งแต่ต้นที่รู้ตัวว่าป่วย ไม่ให้มะเร็งลุกลาม วิธีดำเนินการมี 2 วิธีคือ การป้องกันไม่ให้ป่วย และมีระบบการคัดกรองผู้ป่วย เพื่อให้รู้ตั้งแต่เนิ่นๆ และนำไปสู่การรักษาอย่างทันท่วงที
"โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสีย ชีวิตของคนไทยติดต่อกันในรอบ 9 ปี (พ.ศ.2543-2551) โดยในปี 2551 เสียชีวิต 55,403 คน เป็นชาย 32,060 คน หญิง 23,343 คน โดยร้อยละ 53 ของผู้เสียชีวิตอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยผู้ชายป่วยเป็นมะเร็งตับสูงเป็นอันดับ 1 รองลงมาได้แก่ มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนในผู้หญิงอันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งเต้านม รองลงมาได้แก่ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งตับ ปอด ลำไส้ใหญ่ ซึ่งหากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามที่กล่าวมาข้างต้น จะสามารถป้องกันมะเร็งได้ในระดับหนึ่ง แต่หากป่วยเป็นมะเร็งแล้ว ต้องรีบไปรับการรักษาทันที หากรักษาได้ทัน ก็จะมีโอกาสหายได้ โดยตนได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เร่งรณรงค์นโยบายลดหวาน มัน เค็ม ลดอ้วน ลดโรค เพิ่มผักผลไม้ เพิ่มการออกกำลัง และลดละเลิกอบายมุข และ 5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลมะเร็ง โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นแกนหลักดำเนินการร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ขณะนี้ทุกพื้นที่ได้เริ่มดำเนินการแล้ว ตั้งแต่ปีใหม่ 2554 เป็นต้นไป"
นอกจากนี้ จะมีกิจกรรมรณรงค์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น เพราะได้มอบให้หมู่บ้านและตำบล คิดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของพื้นที่ เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมสุขภาพที่ดี ลดการป่วยจากโรคเรื้อรัง 5 โรค และจะมีการติดตามประเมินผลเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
No comments:
Post a Comment