Thursday, December 23, 2010

หมอศิริราชสุดยอด ปลูกถ่ายตับอ่อนสำเร็จแห่งแรกในไทย

คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชสุดยอด ทำการปลูกถ่ายตับอ่อนสำเร็จแห่งแรกในไทย เผยค่าใช้จ่ายถูกเพียง 3 แสนบาท ชี้อนาคตจะทำให้ลดลงกว่านี้อีก...

“ชีวิตเปลี่ยนไปเยอะ ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ตั้งแต่อายุ 20 ปี พอป่วยได้ 5 ปี ก็เกิดภาวะไตวายต้องฟอกไต 3 วันต่อ 1 สัปดาห์ ครั้งละ 4-5 ชั่วโมง คุณภาพชีวิตแย่มาก เพราะไหนจะต้องระวังเรื่องน้ำตาลที่สวิงตลอดเวลา ฉีดอินซูลินวันละ 4 ครั้ง แต่ก็ยังไม่ดีขึ้นเท่าใดนัก บ่อยครั้งที่น้ำตาลต่ำจนช็อค และสูงขึ้นไปถึงหลักพัน แล้วยังต้องดูแลร่างกายตัวเองจากสภาวะไตวาย จนกระทั่งใน พ.ศ.2550 ก็ได้รับบริจาคไตจากผู้ป่วยสมองตาย และผ่าตัดเปลี่ยนไต” สมนึก หนึ่งในผู้ป่วยที่ผ่านการรักษา ที่เขาบอกว่าเหมือนได้ชีวิตใหม่ กล่าวผ่านไทยรัฐออนไลน์

ภายในงาน แถลงความสำเร็จของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ฝีมือชั้นครู ม.มหิดล เช่น ศ.คลินิกนพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศ.นพ.ศุภกร โรจนนินทร์ หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ อ.ดร.นพ.ยงยุทธ ศิริวัฒนอักษร หัวหน้าทีมศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ อ.นพ.สมชัย ลิ้มศรีเจริญ ทีมศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ในการปลูกถ่ายเปลี่ยนตับอ่อนในครั้งนี้ ณ โรงพยาบาลศิริราช

อ.ดร.นพ.ยงยุทธ ศิริวัฒนอักษร หัวหน้าทีมศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ กล่าวว่า คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ทำการปลูกถ่ายตับอ่อนสำเร็จเป็นแห่งแรก ซึ่งการปลูกถ่ายตับอ่อนเป็นหนึ่งวิทยาการความก้าวหน้าทางการแพทย์ ที่ใช้กันแพร่หลายในต่างประเทศ แต่ไทยยังไม่เคยทำการปลูกถ่ายตับอ่อนมาก่อน เนื่องจากต้องอาศัยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยญชาญทำการผ่าตัดตับอ่อนของผู้บริจาค และความชำนาญในการต่อเส้นเลือดของผู้ป่วย ตลอดจนการดูแลอย่างถูกวิธีภายหลังการผ่าตัด

อ.นพ.สมชัย ลิ้มศรีเจริญ ทีมศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ กล่าวว่า วิธีนี้เป็นการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลีน หรือเรียกว่า โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งเป็นผลจากการทำลายเซลล์ที่ผลิตอินซูลินวันละหลายครั้งทุกวัน

อย่าง ไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ เกรดภาวะช็อกจากน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปหรือสูงกินไป ผู้ป่วยบางรายต้องเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย นอกจากนั้นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ยังส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จอประสาทจม และเส้นประสาทเสื่อม การรักษาด้วยการปลูกถ่ายตับอ่อน จึงเป็นวิธีการรักษาหนึ่งในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่มาภาวะไตวายเรื้อรัง ซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนไตร่วมด้วย

“โดย มากมักจะพบในเด็ก ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ ถือเป็นผู้ป่วยเบาหวานส่วนน้อยในประเทศไทย หากเทียบกับเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกิน ที่มักพบในวัยสูงอายุและคนอ้วน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ในประเทศไทย ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีถึง 90% เลยทีเดียว”

ด้าน ศ.นพ.ศุภกร กล่าวว่า ตับอ่อนอาจจะเป็นอวัยวะที่ไม่คุ้นหูนัก ตับอ่อนจะอยู่ด้านหลังกระเพาะอาหาร ลักษณะเป็นอวัยวะทรงรี ขวางกลางลำตัว ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยและผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ตับอ่อนจะสร้างอินซูลินได้น้อยหรือไม่สร้างเลย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยไม่นิ่ง โดยจะสวิงต่ำเกินไปและสูงเกินไปอยู่ตลอดเวลา ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างยิ่ง หากต่ำเกินไปอาจช็อคจนเสียชีวิตได้ หากสูงเกินไปจะส่งผลต่อไต ทำให้ไตวาย จอประสาทตาเสื่อม หลอดเลือดหัวใจตีบ

อย่างไรก็ดี การปลูกถ่ายเปลี่ยนตับอ่อนนี้ เป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทย แต่ในประเทศอเมริกาเป็นเรื่องที่ทำมานานแล้ว โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2509 แต่จนถึงทุกวันนี้ทั่วโลกมีผู้ได้รับการปลูกถ่ายเปลี่ยนตับอ่อนเพียง 23,000 คนเท่านั้น โดยราวๆ 17,000 คน อยู่ในอเมริกาและที่เหลือส่วนใหญ่จะอยู่ในยุโรป และมีประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาคดังกล่าวเล็กน้อยไม่มากนัก สำหรับค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดอยู่ราว 200,000-300,000 บาท

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ 23 ธันวาคม 2553

No comments:

Post a Comment