โดยทั่วไปก๋วยเตี๋ยวที่เราเห็นขายตามท้องตลาดมีทั้งเส้นหมี่ เส้นเล็ก เส้นใหญ่ บะหมี่ และกวยจั๊บ
หาก
ทำเสร็จแล้วขายเลย เราเรียกเส้นประเภทนี้ว่าเส้นสด ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน
เพราะมีความชื้นสูงทำให้มีอายุการเก็บรักษาสั้นประมาณ 5 วัน
เมื่อ
เก็บได้ไม่นานการกระจายสินค้าก็ไปได้ไม่ไกล
ทำให้ผู้ประกอบการอาจหันมาพึ่งสารเคมีเพื่อยืดอายุ
จากที่เคยเก็บไว้ได้ไม่เกิน 5 วัน ก็สามารถเก็บไว้ได้เกิน 10 วัน
ถ้าใส่เยอะๆจะยิ่งยืดอายุให้นานขึ้นอีก
หากทานเส้นก๋วยเตี๋ยวเหล่านี้เข้าไป ผู้บริโภคอย่างเราอาจกลายเป็นถุงใส่สารเคมีเคลื่อนที่ได้ สารเคมีที่ว่าคือ สารกันบูด
ตามความเข้าใจของเรานั้น สารกันบูด เป็นสิ่งที่ใส่ในอาหารได้ แต่ต้องไม่เกินปริมาณที่มาตรฐานกำหนด
เพราะ
อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น สารกันบูดที่ชื่อ กรดเบนโซอิก หากใน 1
วันเรารับประทานอาหารอะไรก็แล้วแต่ที่มีสารชนิดนี้ปนอยู่ไม่เกิน 500
มิลลิกรัม ตับและไตก็จะสามารถกำจัดออกได้ทางปัสสาวะ
แต่ถ้าเกิน 500
มิลลิกรัมทุกวัน ตับและไตก็จะทำงานหนัก และถ้ากำจัดออกจากร่างกายไม่หมด
กรดเบนโซอิกจะไปสะสมในร่างกายทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของตับไตลดลง
ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยตับและไตพิการได้
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ใช้สารกันบูดทุกชนิดรวมกันได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
วันนี้
สถาบันอาหารจึงสุ่มตัวอย่างก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ จากตลาด 5 แห่ง
เพื่อตรวจหาสารกันบูดกรดซอร์บิก ผลวิเคราะห์พบว่า มี 1 ตัวอย่าง
พบสารกันบูดกรดซอร์บิก
ทางที่ดีหลีกเลี่ยงการซื้อก๋วยเตี๋ยวเส้นสดที่ขายไม่หมดวันต่อวันเพื่อความปลอดภัย!
::สารกันบูดในเส้นใหญ่ ไทยรัฐฉบับพิมพ์ วันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2555
No comments:
Post a Comment