การทุจริตในหน้าที่ ซึ่งความรับผิดในทางแพ่งก็จะเป็นไปตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
การทุจริตในหน้าที่ ซึ่งความรับผิดในทางแพ่งก็จะเป็นไปตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
การทุจริตในหน้าที่ เป็นละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ? ปัญหานี้เดิมคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยวินิจฉัยไว้ ว่าการกระทำละเมิดที่เกิดจากการทุจริต มิใช่การกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ปัจจุบันแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่าง ศาลและศาลปกครองสูงสุดวางแนวไว้ว่า เป็นการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำละเมิดโดยทุจริต ปัจจุบันหน่วยงานของรัฐสามารถออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงิน ภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง หากถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน หน่วยงานของรัฐ ใช้มาตรการบังคับทางปกครองได้
การทุจริตในหน้าที่อาจทำให้ผู้ร่วมงาน ต้องร้อน ๆ หนาว ๆ ไปด้วยได้ แต่จะเป็นใครบ้างที่ต้องร่วมรับผิดชอบลองศึกษาเรื่องนี้ต่อกันไป....
เรื่องมีอยู่ว่ากรมทางหลวงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเจ้าหน้าที่ ในความผิดฐานละเมิด ทำให้ราชการได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้า หน้าที่ พ.ศ. 2539 ในเรื่องที่ผู้ละเมิดซึ่งเป็นข้า ราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการในขณะปฏิบัติหน้าที่งานการเงินและ บัญชี โดยสรุปยอดเงินและนำส่งเงินต่ำกว่ารายการใบเสร็จและแก้ไขตัวเลข ทั้งปลอมลายมือชื่อหัวหน้างานการเงินและบัญชี และนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย คิดเป็นเงิน 2,047,640.00 บาท
ผลการสอบสวนนั้นคณะกรรมการสอบ สวนและกรมทางหลวงเห็นตรงกันว่า เมื่อผู้ทำละเมิดได้ยอมรับว่าได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการไป จริงและได้กระทำการเพียงผู้เดียวเท่านั้น เจ้าหน้าที่การเงินบุคคลอื่น ๆ ในงานการเงินไม่ได้ร่วมกระทำการทุจริตด้วย จึงเห็นว่าการกระทำการทุจริตและยักยอกเงินของทางราชการได้กระทำในขณะปฏิบัติ หน้าที่ ให้รับผิดชดใช้ทางแพ่งเต็มจำนวน ส่วนเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องคนอื่นไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทาง ละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กรมทางหลวงจึงได้รายงานผลการสอบสวนให้กระทรวงการคลังเพื่อตรวจสอบตามระเบียบ
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้พิจารณาผลการสอบสวนของคณะกรรมการแล้วมีความเห็นแตกต่างจากกรมทางหลวง คิดว่าท่านคงพอจะคาดการณ์ได้ว่าผลการพิจารณาจะเป็นอย่างไร
กรมบัญชีกลางมีความเห็นว่าการทุจริตในเรื่องนี้นอกจากผู้ทำละเมิดที่ต้องรับ ผิดเต็ม 100% แล้วยังมีผู้เกี่ยวข้องที่ต้องร่วมรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายอีก 3 คน คือ
1. หัวหน้าการเงินและบัญชี
2. หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป
3. รองผู้อำนวยการสำนัก (ฝ่ายบริหารงานทั่วไป)
เรา มาดูเหตุผลของกรมบัญชีกลางที่ให้หัวหน้างานและผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิด ทางแพ่งกับผู้ทำละเมิดกันก่อน กรมบัญชีกลางให้เหตุดังนี้
1. หัวหน้าการเงินและบัญชี มีหน้าที่รับผิดชอบงานงบประมาณและบัญชี ควบคุมตรวจสอบการเบิกจ่ายเงิน การนำเงินส่งคลัง การเก็บรักษาเงินและควบคุมตรวจสอบการจัดทำบัญชีต่างๆ ของสำนักงานทางหลวงให้ถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบ รวมทั้งควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาและยังเป็นหัวหน้างาน โดยตรงของผู้ทำละเมิด จึงมีหน้าที่ต้องควบคุมแลการเบิกจ่ายเงินและติดตามตรวจสอบการจัดทำบัญชีราย รับรายจ่ายในแต่ละวันให้ครบถ้วนถูกต้อง แต่กลับปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ทำละเมิดให้เป็น ไปตามระเบียบอย่างเคร่งครัด จึงเป็นช่องทางให้ผู้ทำละเมิดนำสำเนาใบเสร็จรับเงินมาลงบัญชีด้วยยอดเงินที่ ต่ำกว่าความเป็นจริงและดำเนินการแก้ไขจำนวนเงินในใบเสร็จรับเงินแล้วนำเงิน ของทางราชการไปเป็นประโยชน์ส่วนตนและยังเป็นผู้มีหน้าที่ตรวจสอบและกลั่น กรองเบื้องต้น ซึ่งหากปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังและละเอียดรอบคอบก็ป้องกันมิให้ เกิดทุจริตขึ้นได้ การกระทำดังกล่าวจึงเป็นโอกาสให้ผู้ทำละเมิดกระทำการทุจริตได้โดยง่าย พฤติการณ์เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นการให้ราชการได้รับความเสียหาย จึงให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของความเสียหาย 2,047,640 บาท คิดเป็นเงิน 1,228,584 บาท ตามนัยมาตรา 10 ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
2. หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่ต้องควบคุมตรวจสอบการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายให้ครบถ้วนถูกต้อง แต่กลับปล่อยปละละเลยให้หัวหน้าการเงินและบัญชีมอบหมายหน้าที่ให้ผู้ทำ ละเมิดรับผิดชอบหน้าที่รับเงินรายได้ ลงบัญชีและสรุปยอดเงินคงเหลือประจำวัน โดยมิได้มีการตรวจสอบควบคุมอย่างใกล้ชิด เป็นช่องทางให้ผู้ทำละเมิดนำสำเนาเสร็จใบรับเงินมาลงบัญชีด้วยยอดเงินที่ต่ำ กว่าความเป็นจริงและดำเนินการแก้ไขจำนวนเงินในใบเสร็จรับเงินแล้วนำเงินไป เป็นประโยชน์ส่วนตัวได้โดยง่าย พฤติการณ์การกระทำที่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอ ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้ ราชการได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากความเสียหายส่วนใหญ่เกิดจากหัวหน้าการเงินและบัญชีซึ่งเป็นผู้ ตรวจสอบและกลั่นกรองเบื้องต้นไม่ควบคุมการดูแลการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ให้เป็นไปตามระเบียบโดยเคร่งครัด จึงให้รับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในอัตราร้อยละ 20 ของความเสียหาย 2,047,640 บาท คิดเป็นเงิน 409,528 บาท ตามนัยมาตรา 10 ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
3. รองผู้อำนวยการสำนักทางหลวง มีหน้าที่รับผิดชอบ กำกับดูแล ตรวจสอบ ควบคุมตลอดจนติดตามประเมินผลงานของฝ่ายบริหารงานทั่วไปและในฐานะผู้บังคับ บัญชาย่อมมีหน้าที่ต้องควบคุม ตรวจสอบและกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปตาม กฎหมายและระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัด เมื่อหัวหน้าการเงินและบัญชีจัดทำรายงานคงเหลือประจำวันเสนอต่อหัวหน้าฝ่าย บริหารงานทั่วไป เพื่อเสนอรองผู้อำนวยการสำนักเพื่อทราบและตรวจสอบความถูกต้องตามคำสั่งที่ ได้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการแทนผู้อำนวยการ สำนักทางหลวง จึงต้องตรวจสอบใบรายงานเงินคงเหลือร่วมกับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ บ้าง แต่กลับตรวจสอบใบรายงานประจำวันเพียงอย่างเดียว พฤติการณ์จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ทำละเมิดกระทำการทุจริตได้โดยง่าย ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากความเสียหายส่วนใหญ่เกิดจากหัวหน้างานการเงินและบัญชีซึ่งเป็น ผู้ตรวจสอบและกลั่นกรองเบื้องต้นไม่ควบคุมดูแลการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ให้เป็นไปตามระเบียบโดยเคร่งครัด จึงให้รองผู้อำนวยการสำนักทางหลวงรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในอัตราร้อยละ 20 ของความเสียหาย 2,047,640 บาท คิดเป็นเงิน 409,528 บาท ตามนัยมาตรา 10 ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
กรมบัญชีกลางได้ สรุปท้ายไว้ด้วยว่า หากกรมทางหลวงได้รับชดใช้จากผู้ทำละเมิดและเมื่อนำมารวมกับจำนวนเงินที่หัว หน้างานการเงิน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป และรองผู้อำนวยการสำนักทางหลวงได้ชดใช้ไว้เกินจำนวนความเสียหาย ก็ให้คืนเงินส่วนที่ได้รับไว้เกินให้แก่บุคคลดังกล่าวตามสัดส่วนแห่งความรับ ผิด
จะเห็นได้ว่าเมื่อรวมค่าเสียหายทั้งหมดจะรวมได้ถึง 200% ซึ่งหากผู้ทำละเมิดนำเงินมาชดใช้เต็มจำนวนความเสียหายแล้ว ผู้ร่วมรับผิดคนอื่นก็ไม่ต้องชดใช้ตามสัดส่วนดังกล่าวนั่นเอง
สำหรับ ขั้นตอนต่อไปตามระเบียบเรื่องนี้กรมได้ออกคำสั่งทางปกครองแล้ว ซึ่งผู้ต้องร่วมรับผิดก็ได้อุทธรณ์คำสั่งและฟ้องต่อศาลปกครองให้เพิกถอนคำ สั่งตามกระบวนการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง สุดท้ายเรื่องจะลงเอยอย่างไรจะรีบรายงานให้ทราบต่อไป….
จากเหตุผลของกรมบัญชีกลางข้างต้นผู้บังคับบัญชาโดยตรงคงหลุดพ้นความรับผิด ยาก ผลจากการกระทำความผิดของท่านเพียงผู้เดียวอาจทำให้ผู้บังคับบัญชาและเพื่อน ร่วมงานหลายๆคนต้องเป็นทุกข์และเดือดร้อนไปด้วย….เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ อย่างยิ่งใช่ไหมครับ
จาก : วารสารทางหลวงปีที่ 48 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม - เมษายน 2554
No comments:
Post a Comment