Wednesday, February 2, 2011

พนักงานสอบสวนกับการอำนวยความยุติธรรมในคดีจราจร

คมชัดลึก :ฆ่า กันตายบนถนน (kill on the road) ในรูปแบบของการขับรถชนกันก็ดี การขับรถชนคนก็ดี หรืออยู่ๆ ก็ขับรถชนอาคาร ชนต้นไม้ข้างทางอันเนื่องมาจากการเมา การง่วง หรือการเป็นนักขับขี่มือใหม่ หรือผู้นิยมใช้ความเร็วสูงก็ดี ทำให้ประเทศไทยมีสถิติการตายจากการเกิดอุบัติเหตุจราจรติดอันดับโลก คิดเฉลี่ยวันละ 25-30 คน

ตำรวจ คือ กลุ่มบุคคลที่ถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในฐานะของผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย นักวิชาการและนักบริหารต่างๆ มองว่า กฎหมายจราจรเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับขี่ของประชาชน ดังนั้นการที่สถิติการตายยังไม่ลดลงเท่าที่ควรเช่นนี้จึงถูกสรุป (อย่างเร็วๆ และไม่ลึกซึ้ง) ว่าเกิดขึ้นจาก “ตำรวจไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและเข้มแข็ง” สำหรับดิฉันนั้นกลับตั้งคำถามว่า คนไทยและระบบสังคมวัฒนธรรมไทยรวมถึงระบบการเมือง การปกครอง และสถาบันการศึกษาต่างๆ นั้นได้สร้างความพร้อมสำหรับให้ประชาชนยอมรับการบังคับใช้กฎหมายจราจรที่เข้มงวด เข้มแข็งแล้วหรือยัง? นอกเหนือจากการ “ขอด้วยตนเอง” ยามเมื่อถูกตำรวจจับเมื่อฝ่าฝืนกฎจราจรแล้ว นั้น ประชาชนคนไทยยัง “นิยมใช้พรรคพวกเครือข่ายเข้ามาร่วมขอ” ให้ตำรวจลดหย่อนค่าปรับบ้างหรือ แม้แต่ดำเนินการบางประการเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปคดีผ่านการประนีประนอมยอมความ จะโดยยินยอมพร้อมใจหรือหยวนๆ ก็แล้วแต่อำนาจของแต่ละฝ่ายของคู่คดี “ในบางครั้งเขาขอให้เราเว้นค่าปรับนะ แต่เขาพาเราไปกินข้าวแพงกว่าค่าปรับที่เขาขอเราอีก การขอใบสั่งได้มันทำให้เขาดูมีบารมี ทำให้เขาได้คะแนนเสียงจากชาวบ้านมากขึ้น” คำบอกเล่าของนายตำรวจแสดงให้เห็นตัวอย่างของวัฒนธรรมชาวบ้านที่ยังไม่พร้อม ที่จะปฏิบัติตามกฎ กติกา เมื่อถูกตั้งคำถามว่าทำไมตำรวจต้องยอมละเว้นด้วย คำตอบที่มักจะได้รับคือ “คนที่ขอเขาก็ช่วยงานตำรวจเสมอมา บริจาคทรัพย์บ้าง ช่วยแรงบ้าง เขาก็เป็นภาคีเครือข่ายที่ดี เป็นผู้สนับสนุนงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของโรงพักที่เข้มแข็ง เขาบอกว่าเขาก็ไม่ได้ขออะไรมากก็แค่คดีจราจร ก็เท่านั้น”???

หากสังคมไทยต้องการเห็นการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลดน้อยลง เราต้องร่วมมือกันสร้างระบบของการบังคับใช้กฎหมายที่โปร่งใสและเป็นธรรม ดิฉันคิดว่า ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันวางระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการ บังคับใช้กฎหมายให้ตำรวจได้ใช้เป็นเกราะในการป้องกันตัวเมื่อต้องปฏิบัติ หน้าที่อยู่ในบริบทวัฒนธรรมอุปถัมภ์และบริบทที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองและ อำนาจการปกครองในส่วนต่างๆ ยังเห็นว่าคดีจราจรเป็น เพียงแค่เรื่องเล็กๆ ที่น่าจะอุปถัมภ์กันได้ยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศไทยที่ใช้ในการป้องกันและ แก้ไขอุบัติเหตุทางถนนคือ ยุทธศาสตร์ 5E ประกอบด้วย การศึกษาและการประชาสัมพันธ์ (education) วิศวกรรมจราจร (engineering) การบังคับใช้กฎหมาย (law enforcement) ข้อมูลและการประเมินผล (evaluation) และการแพทย์ฉุกเฉิน (emergency medical service) โดยจะมีภาคีเครือข่ายของแต่ละยุทธศาสตร์เข้ามาทำงานร่วมกัน สิ่งที่น่าตั้งข้อสังเกตและทบทวนทำความเข้าใจคือ ในส่วนของของการบังคับใช้กฎหมายนั้นภาคีเครือข่ายทุกคนให้ความสำคัญและคิด ถึงเพียงบทบาทของตำรวจสายงานจราจรเท่านั้น ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว ตำรวจสายงานจราจรจะ มีกำลังปฏิบัติกันมากเฉพาะในสถานีตำรวจที่ตั้งอยู่เขตเมืองหรือเขตเทศบาล เมืองเท่านั้น และเมื่อวิเคราะห์ภารกิจที่แท้จริงของงานจร.แล้วจะเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการ อำนวยความสะดวกด้านการจราจรเป็นหลัก กับการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ขับขี่ที่ละเมิดกฎหมายจราจร และบ่อยครั้งที่พบว่าตำรวจจราจรมักจะสุ่มจับอยู่ในจุดเสี่ยงต่อการละเมิดป้ายจราจรที่เป็นมุมอับและเอื้อต่อการกระทำผิดของผู้ขับขี่มากกว่าที่จะตั้งด่านอยู่ในจุดที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง

กลุ่มตำรวจที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุโดยตรงแทบทุกกรณีโดยเฉพาะ กรณีที่เป็นอุบัติเหตุรุนแรงคือ ตำรวจสายสอบสวนหรือที่ในวงการตำรวจเรียกว่า “พนักงานสอบสวน” แต่ตำรวจกลุ่มนี้กลับไม่เคยมีพื้นที่ในการเข้ามามีส่วนร่วมในวงการปฏิบัติ การและวงการวิชาการด้านความปลอดภัยทางถนน “ชนกันกลางดึก ฝ่ายคนชนจ่าย ฝ่ายคนตายรับเงิน เอาศพกลับต่างจังหวัดไปทำพิธีเรียบร้อย ผู้กำกับยังไม่รู้เรื่องเลยว่าเมื่อคืนมีรถชนคนตายมีบ่อยไป หยั่งงี้จะไปเอาข้อมูลว่าทำไมถึงตายมีสาเหตุมาจากอะไรได้ยังไง” นายตำรวจใหญ่เล่าประสบการณ์และความสำคัญของการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน สอบสวนให้เห็นความสำคัญในการทำคดีอุบัติเหตุจราจร นายตำรวจใหญ่เล่าต่อว่า “บางทีชนกันแขนหัก พนักงานสอบสวนทำสำนวนว่าขับรถประมาทปรับ 400 ก็ทั้งคู่พอใจตามนิยามไงความยุติธรรมอยู่ที่ความพอใจเพราะฉะนั้นเรื่องนี้ กลายเป็นไม่มีผู้บาดเจ็บแต่จริงๆ มันมี นี่ไงข้อมูลเกี่ยวกับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่ขาดหายไป” “หรือหากรุนแรงกว่านั้นเช่นไอ้คนผิดไม่มีประกันแต่คนถูกมีประกันก็สลับกันซะ คนถูกมากลายเป็นคนผิดทุกอย่างก็เรียบร้อยคู่กรณีพอใจทุกคนทุกฝ่ายได้เงิน เรียบร้อย” เรื่องราวมากมายสะท้อนให้เห็นความจำเป็นในการพัฒนาระบบและให้ความสำคัญกับ พนักงานสอบสวนเพื่อสร้างความยุติธรรมในคดีจราจร

“กลัวเสียรูปคดี” เหตุผลที่อาจารย์สาขาวิศวกรรมผู้ทำโครงการวิเคราะห์หาสาเหตุที่เกี่ยวข้อง กับการเกิดอุบัติเหตุได้รับจากตำรวจซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน “เขาไม่ให้ข้อมูลอะไรเราเพิ่มเติมเลย เขาพูดอยู่ประเด็นเดียวกลัวเสียรูปคดี” คำพูดดังกล่าวทำให้ภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านอุบัติเหตุใช้ประสบการณ์เดิมๆ ที่ผ่านมา ด่วนสรุปอย่างเร็วๆ และผิวๆ ว่า ตำรวจไม่ให้ความร่วมมือ โดยไม่พยายามที่จะหาสาเหตุรากเหง้าที่แท้จริงว่ามีเหตุผลใดที่ซ่อนอยู่ เบื้องหลังการไม่ให้ความร่วมมือนั้น? ถึงเวลาหรือยังที่จะให้ความสำคัญกับพนักงานสอบสวนและดึงเอาพนักงานสอบสวน เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขอุบัติภัยจากถนน

ปนัดดา ชำนาญสุข

ที่มา: Kom Chad Luek คม ชัด ลึก ออนไลน์ วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554
.

No comments:

Post a Comment