โรคพาร์กินสันมีผลต่อการเคลื่อนไหวของคุณ มันเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาทในสมองมีปัญหา
โดยทั่วไปเซลล์ประสาทสร้างสารเคมีที่สำคัญชื่อว่า โดพามีน ซึ่งส่งสัญญาณไปที่ส่วนของสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหว มันทำให้กล้ามเนื้อของคุณเคลื่อนไหวอย่างราบรื่นและทำตามที่คุณต้องการให้มันทำ
เมื่อคุณเป็นโรคพาร์กินสัน เซลล์ประสาทเหล่านี้ทำงานไม่ปกติ แล้วคุณไม่สามารถสร้างโดพามีนเพียงพอ แล้วมีผลให้คุณไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามที่ต้องการ โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่จะแย่ลงไปตามระยะเวลาที่เป็น แต่มันมักจะเกิดขึ้นช้า ๆ เป็นเวลาหลายปี ไม่มีใครรู้แน่ว่าทำไมเซลล์ประสาทถึงไม่ทำงาน แต่นักวิทยาศาสตร์ก็พยายามค้นคว้าหาคำตอบ ศึกษาหาสาเหตุมากมาย รวมทั้งความสูงวัย และมลพิษจากสิ่งแวดล้อม ยืนไม่ปกติก็ดูเหมือนจะเป็นสาเหตุหลักสำหรับคนบางคน แต่ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์เพียงพอที่จะแสดงว่ามันเป็นโรคทางกรรมพันธุ์
อาการหลัก 4 อาการของโรคพาร์กินสันคือ อาการสั่นตามมือ แขน หรือขา กล้ามเนื้อแข็ง เคลื่อนไหวช้า และมีปัญหาในการทรงตัวหรือการเดิน อาการสั่นจะเป็นอาการแรกที่คุณสังเกตได้ มันเป็นอาการที่เป็นกันมากที่สุดของโรคนี้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการสั่น และไม่ใช่ว่าคนที่มีอาการสั่นจะเป็นโรคนี้ อาการสั่นมักจะเริ่มจากแขนหรือขาข้างหนึ่งของร่างกาย อาการอาจจะแย่ ตอนตื่นหรือตอนที่ไม่เคลื่อนไหวมากกว่าตอนที่หลับหรือกำลังเคลื่อนไหว เมื่อเวลาผ่านไปโรคนี้จะมีผลกระทบต่อกล้ามเนื้อทั่วทั้งร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้มีปัญหากับการกลืนอาหารหรือท้องผูก ในขั้นที่เป็นมากแล้ว คนที่เป็นโรคนี้จะหน้าตาตึงไม่มีการแสดงสีหน้า มีปัญหาในการพูด และปัญหาอื่น ๆ คนบางคนมีปัญหาทางจิตด้วย คนมักจะเริ่มมีอาการเมื่ออายุประมาณ 50-60 ปี แต่ในบางคนก็มีอาการเมื่ออายุน้อยกว่านั้น
ตอนนี้มันยังไม่มีทางรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดได้ แต่มียาหลายประเภทที่จะช่วยควบคุมอาการและช่วยให้อยู่กับโรคนี้ได้ง่ายขึ้น สารต้านอนุมูลอิสระดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ช่วยป้องกันและทำให้อาการของโรคนี้เป็นช้าลง คนที่บริโภคอาหารเช่นบรอกโคลี ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี ช่วยเพิ่มกลูตาไธออน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ถูกเก็บไว้ที่ตับ โคคิวเท็น (CoQ10) ก็เป็นสารอาหารหนึ่งที่ช่วยปกป้องเซลล์ประสาท ควรรับประทาน 20-50 มิลลิกรัม 2-3 วันต่อสัปดาห์ตอนเช้า รับประทานอาหารที่มีวิตามินสูง ถั่วต่าง ๆ จมูกข้าว ผักโขม และผักใบเขียวอื่น ๆ ก็ช่วยป้องกันโรคนี้ได้ด้านเพศสัมพันธ์ คนไข้ที่รักษาโรคพาร์กินสันแล้วมารับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ ก็ยังมีความแข็งแรงได้เช่นเดิม อย่าได้ท้อถอยโดยไม่ได้ฟื้นฟู
ท่านที่มีคำถามหรือต้องการขอคำปรึกษาให้ส่งจดหมายมาที่ นสพ.เดลินิวส์ เลขที่ 1/4 ถนนวิภาวดีรังสิต หลักสี่ กท. 10210 วงเล็บมุมซองด้วยว่าส่งต่อ ดร.คิว หรือทาง โทร. 08-4636-2789, 08-1494-1561 และอีเมล : DrQcontact @ gmail.com
ดร.คิว ลานทอง
ที่มา: เสพสมบ่มิสม นสพ.เดลินิวส์ วันจันทร์ ที่ 04 กรกฎาคม 2554
No comments:
Post a Comment