จากสถิติของศูนย์พิษวิทยาปี พ.ศ. 2540 พบว่า มีการปรึกษาจากแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์ เกี่ยวกับปัญหาของผู้ป่วยที่ได้รับประทานผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ เป็นอันดับ 2 รองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสัตว์
ส่วนประกอบสำคัญของ detergent คือสารที่เรียกว่า "surfactant" ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยให้น้ำสามารถแทรกซึมเพื่อชะล้างละลายสิ่งสกปรกต่างๆ ได้ดีขึ้น surfactant ที่มีใช้ใน detergent สามารถแบ่งออกเป็น (ตารางที่ 1)
Nonionic ได้แก่สารพวก alcohol ethoxylates
Anionic ได้แก่พวก linear alkyl sulfonates
Cationic ได้แก่สารประกอบของ quaternary ammonium
สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน | ||
Anionic | Nonionic | Cationic |
Alkyl sodium sulfates Alkyl sodium sulfanate Dioctyl sodium sulfosuccinate Linear alkyl benzene sulfonate (sodium) Sodium aryl sulfate Tetrapopylene benzene sulfanate (sodium) | Alkyl ethoxylate Alkyl phenoxy polyethoxy ethanols Polyethelene glycol stearate | Alkyl dimethyl 3,4-dichlorobenzene ammonium chloride Benzalkonium chloride Benzethonium chloride Cetylpyridenium chloride |
เพื่อให้ detergent ทำงานได้ดีขึ้น บางครั้งจึงมีการเติมสารพวก "builder" ช่วยปรับรักษา pH หรือลด ion ของ calcium เพื่อลดความกระด้างของน้ำลง detergent จึงทำงานได้ดีขึ้น สารพวกนี้ได้แก่ sodium carbonate, sodium metasilcate, sulfate, tripolyphosphate นอกจากนั้นยังมีการเติมสารอื่นๆอีก เพื่อให้มีคุณสมบัติเพิ่มเติมที่แตกต่างจาก detergent ทั่วๆไปอีก ซึ่งเมื่อนำสารทั้ง 8 กลุ่มมาแยกตามส่วนประกอบแล้ว จะได้นี้คือ
- ผงซักฟอก : Anionic-nonionic detergent
- น้ำยาล้างจาน : Nonionic dertergent
- น้ำยาทำความสะอาดพื้น : Anionic-nonionic detergent
- น้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ ์: Anionic-nonionic detergent (+) Acid หรือ hypochlorite
- น้ำยาเช็ดกระจก : Nonionic detergent + isopropanol หรือ ammonia
- น้ำยาปรับผ้านุ่ม : Cationic detergent
- น้ำยาฟอกผ้าขาว : hypochlorite หรือ hydrogen peroxide + surfactant
- สารแก้ไขท่อน้ำอุดตัน : sodium hydroxide (NaOH) หรือ enzymes + microorganism
สารเหล่านี้จัดเป็นสารอันตราย Hazardous Substance ที่มีระดับความเป็นพิษที่รุนแรงแตกต่างกันไป
ท่านสามารถทดลองความเป็นพิษของสารจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดไ้ด้ด้วยตัวเอง: เช่น
1. นำน้ำผงซักฟอกที่ซักผ้าแล้วนำไปรดต้นไม้ ต้นไม้ส่วนมากจะไม่ตาย ถึงแม้จะไม่เจือจาง เช่น รดต้นมะม่วง ต้นมะละกอ
2. นำน้ำที่ผสมน้ำยาล้างทำความสะอาดพื้นไป รดต้นไม้ ต้นไม้ส่วนมากจะเหี่ยวและตายไป เช่น รดต้นผักบุ้ง ต้นตำลึง
3.
การใช้พรํ่าเพรื่อโดยไม่จำเป็น อาจนำมาซึ่งอันตรายถึงชีวิตของท่านได้
ข้อมูลประกอบบางส่วนจาก ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี - ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี: กรุงเทพมหานคร
No comments:
Post a Comment