Sunday, January 12, 2014

ศักดิ์ศรีตำรวจไทย?

ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายไว้ว่า

ศักดิ์ศรี น. เกียรติศักดิ์ เช่น ประพฤติตนไม่สมศักดิ์ศรี.

อาชีพตำรวจ “ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” เป็นอาชีพที่มีเกียรติในตัวเอง ตำรวจที่ดีจะต้องรู้จักรักษาศักดิ์ศรี เกียรติศักดิ์ของตนเอง “เกียรติศักดิ์รักของข้า มอบไว้แก่ตัว”

ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้กล่าวไว้ชัดเจน
สิ่งที่ทำให้ตำรวจต้องไร้ศักดิ์ศรี หลัก ๆ มาจากตำรวจเอง เพราะท่านต้องหาเงินส่งนาย (???) ทำให้ชาวบ้านเสื่อมศรัทธากับ การรับส่วย รับสินบน คุมซ่อง คุมบ่อน คุมวิน คุมหวย เป็นการหารายได้พิเศษอันมิชอบแล้วแบ่งปันกัน วิ่งเต้นซื้อตำแหน่ง ไม่รู้จักพอใจในฐานะหน้าที่ของตน ไม่รู้จักข่มใจตน ยอมตนตกเป็นทาสของความอยากมี อยากเป็น อยากได้ จึงทุจริตเพื่อหาเงินซื้อตำแหน่ง

ตำรวจมาเลเซียปฏิรูป ตามแผนปี 2020 เพิ่มเงินเดือน ห้ามรับสินบน ห้ามรับส่วย ห้ามยัดข้อหา อยากให้ตำรวจไทยปฏิรูปด้วย .. เพื่อให้ท่านเป็นที่พึ่งของประชาชน ไม่ใช่เป็นลูกเบี้ยของนักการเมืองโกงชาติ


ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. ๒๕๕๓
(แนบท้ายกฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓)
ด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอำนาจและหน้าที่ที่ สำคัญ ได้แก่ การรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ และการรักษากฎหมายคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม บริการชุมชนให้เกิดความร่มเย็น ป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย และดำเนินการเพื่อนำผู้กระทำผิดกฎหมายเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประชาชนมีความศรัทธาเชื่อมั่น จึงจำเป็นต้องกำหนดประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ เป็นกรอบการประพฤติปฏิบัติของข้าราชการตำรวจให้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณที่ดีและเป็นมาตรฐาน
ข้อ ๑ ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจประกอบด้วย
ส่วนที่ ๑ มาตรฐานคุณธรรม และอุดมคติของตำรวจ เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งให้ข้าราชการตำรวจอยู่ในกรอบของศีลธรรมและคุณธรรม ขณะเดียวกันก็เป็นแนวทางชี้นำให้ข้าราชการตำรวจบรรลุถึงปณิธานของการเป็นผู้ พิทักษ์สันติราษฎร์
ส่วนที่ ๒ มาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ประกอบด้วย
(๑) มาตรฐานทางจริยธรรมตำรวจ คือ คุณความดีที่เป็นข้อประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจเพื่อให้ ประชาชนศรัทธา เชื่อมั่นและยอมรับ
(๒) จรรยาบรรณของตำรวจ คือ ประมวลความประพฤติในการปฏิบัติหน้าที่ของวิชาชีพตำรวจที่ข้าราชการตำรวจต้อง ยึดถือปฏิบัติ เพื่อธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของข้าราชการตำรวจและวิชาชีพตำรวจ
ข้อ ๒ ในประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจนี้
“การไม่เลือกปฏิบัติ” หมายความว่า การไม่ใช้ความรู้สึกพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจส่วนตัวต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล อันเนื่องมาจากชาติกำเนิด เพศ ศาสนาหรือความเชื่อ เชื้อชาติ สัญชาติ อายุ การศึกษา ความเห็นทางการเมืองหรือความเห็นอื่น ความนิยมทางเพศส่วนบุคคล ความพิการ สภาพร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพ หรือสถานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
“ประโยชน์” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน บริการ ตำแหน่งหน้าที่การงานสิทธิประโยชน์ หรือประโยชน์อื่นใดหรือคำมั่นสัญญาที่จะให้หรือจะได้รับสิ่งดังกล่าวในอนาคต ด้วย
“การทารุณหรือทารุณกรรม” หมายความว่า การปฏิบัติหรือกระทำใด ๆ ต่อร่างกายหรือจิตใจของบุคคล ในลักษณะที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส หรือดูถูกศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ข้อ ๓ ข้าราชการตำรวจต้องเคารพและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ อย่างเคร่งครัด เมื่อตนได้ละเมิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ จะต้องรายงานผู้บังคับบัญชาเป็นหนังสือทันที
หากไม่แน่ใจว่าการที่ตนได้กระทำหรือตัดสินใจ หรือจะกระทำหรือจะตัดสินใจเป็นหรือจะเป็นการละเมิด  ฝ่าฝืน  หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจหรือไม่ ให้ข้าราชการตำรวจนั้นปรึกษาหารือผู้บังคับบัญชา หรือปรึกษากับศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำตามกฎ ก.ตร. ข้อ ๘ วรรคสาม

ส่วนที่ ๑
มาตรฐานคุณธรรม และอุดมคติของตำรวจ
ข้อ ๔ ข้าราชการตำรวจพึงยึดถือคุณธรรมสี่ประการตามพระบรมราโชวาทเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งในการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
(๑) การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
(๒) การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีเท่านั้น
(๓) การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุประการใด
(๔) การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
ข้อ ๕ ข้าราชการตำรวจพึงยึดถืออุดมคติของตำรวจ ๙ ประการ เป็นแนวทางชี้นำการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่เพื่อบรรลุถึงปณิธานของการ เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ดังนี้
(๑) เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
(๒) กรุณาปราณีต่อประชาชน
(๓) อดทนต่อความเจ็บใจ
(๔) ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
(๕) ไม่มักมากในลาภผล
(๖) มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
(๗) ดำรงตนในยุติธรรม
(๘) กระทำการด้วยปัญญา
(๙) รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
ข้อ ๖ ข้าราชการตำรวจพึงหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาตนเองให้ทันโลกทันเหตุการณ์ และมีความชำนาญการในงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ธรรมเนียมการปฏิบัติของส่วนราชการในกระบวนการยุติธรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับ หน้าที่และความรับผิดชอบของตน เพื่อสามารถประสานงานได้อย่างกลมกลืนแนบเนียน และเป็นประโยชน์ต่อราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ส่วนที่ ๒
มาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
(๑) มาตรฐานทางจริยธรรมของตำรวจ
ข้อ ๗ ข้าราชการตำรวจต้องเคารพ ศรัทธา และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(๑) จงรักภักดีและเทิดทูนพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาท และไม่ยอมให้ผู้ใดล่วงละเมิด
(๒) สนับสนุนการเมืองประชาธิปไตยด้วยศรัทธา มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เป็นผู้บริหารหรือกรรมการพรรคการเมือง และไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่พรรคการเมือง หรือผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น
ข้อ ๘ ข้าราชการตำรวจต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายอื่นโดยเคร่งครัด โดยไม่เลือกปฏิบัติ
ข้อ ๙ ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการ ประชาชน ชุมชน และประเทศชาติเป็นสำคัญ ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(๑) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว กระตือรือร้น รอบคอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้และเป็นธรรม
(๒) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะอุตสาหะ  ขยันหมั่นเพียร เสียสละ ใช้ปฏิภาณไหวพริบ กล้าหาญและอดทน
(๓) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความเต็มใจ ไม่ละทิ้งหน้าที่ ไม่หลีกเลี่ยงหรือปัดความรับผิดชอบ
(๔) ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัดคุ้มค่า โดยระมัดระวังมิให้เสียหายหรือสิ้นเปลืองเยี่ยงวิญญูชนจะพึงปฏิบัติต่อ ทรัพย์สินของตนเอง
(๕) รักษาความลับของทางราชการ และความลับที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือจากประชาชนผู้มาติดต่อราชการ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรม หรือการตรวจสอบตามที่กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ กำหนด
ข้อ ๑๐ ข้าราชการตำรวจต้องมีจิตสำนึกของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์เพื่อให้ประชาชนศรัทธาและเชื่อมั่น ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติดังนี้
(๑) มีท่าทีเป็นมิตร มีมนุษยสัมพันธ์อันดี และมีความสุภาพอ่อนโยนต่อประชาชน ผู้รับบริการ รวมทั้งให้บริการประชาชนด้วยความเต็มใจ รวดเร็ว และไม่เลือกปฏิบัติ
(๒) ปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชน ไม่เบียดเบียน ไม่แสดงกริยาหรือท่าทางไม่สุภาพหรือไม่ให้เกียรติ รวมทั้งไม่ใช้ถ้อยคำ กริยา หรือท่าทาง ที่มีลักษณะหยาบคาย ดูหมิ่น หรือเหยียดหยามประชาชน
(๓) เอื้อเฟื้อ สงเคราะห์ และช่วยเหลือประชาชนเมื่ออยู่ในฐานะที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ หรือประสบเคราะห์จากอุบัติเหตุ การละเมิดกฎหมาย หรือภัยอื่น ๆ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นผู้ต้องสงสัยหรือผู้กระทำผิดกฎหมายหรือไม่
(๔) ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการอย่างเคร่งครัด การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนที่ร้องขอ ต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็ว ไม่ถ่วงเวลาให้เนิ่นช้า และไม่ให้ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จแก่ประชาชน
          ข้อ ๑๑ ข้าราชการตำรวจต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริตและยึดมั่นในศีลธรรม โดยยึดประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์ส่วนตน ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(๑) ไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ หรือไม่ยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ของตน แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
(๒) ไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ หรือไม่ยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ของตน ไปในทางจูงใจหรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ การใช้ดุลพินิจ หรือการกระทำของข้าราชการตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น อันเป็นผลให้การตัดสินใจ การใช้ดุลพินิจ หรือการกระทำของผู้นั้นสูญเสียความเที่ยงธรรมและยุติธรรม
(๓) ไม่รับของขวัญนอกเหนือจากโอกาสและกาลตามประเพณีนิยม และของขวัญนั้นต้องมีมูลค่าตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติประกาศกำหนดเว้นแต่ญาติซึ่งให้โดยเสน่หาตามจำนวนที่เหมาะสมตาม
ฐานานุรูปหรือการให้โดยธรรมจรรยา
(๔) ไม่ใช้เวลาราชการหรือทรัพย์ของราชการเพื่อธุรกิจหรือประโยชน์ส่วนตน
(๕) ไม่ประกอบอาชีพเสริมซึ่งมีลักษณะเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเป็น
การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม
(๖) ดำรงชีวิตส่วนตัวไม่ให้เกิดมลทินมัวหมองต่อตำแหน่งหน้าที่ ไม่ทำผิดกฎหมายแม้เห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่หมกมุ่นในอบายมุขทั้งหลาย ไม่ฟุ้งเฟ้อหรูหรา และใช้จ่ายประหยัดตามฐานะแห่งตน
          ข้อ ๑๒ ข้าราชการตำรวจต้องภาคภูมิใจในวิชาชีพ กล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามเพื่อเกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรีของ ความเป็นตำรวจ ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(๑) ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาตามครรลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัด
(๒) ไม่สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติการในสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อคุณธรรมและศีลธรรม
(๓) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ตนรู้หรือควรจะรู้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในการนี้ให้ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้บังคับบัญชาผู้สั่ง
(๔) ไม่เลี่ยงกฎหมาย ใช้หรือแนะนำให้ใช้ช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือทำให้สูญเสียความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม
ข้อ ๑๓ ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการตำรวจต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(๑) ประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาและที่พึ่งของผู้ใต้บังคับบัญชา
(๒) หมั่นอบรมให้ผู้ใต้บังคับบัญชายึดถือปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ ว่ากล่าวตักเตือนด้วยจิตเมตตา และให้ความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่
(๓) ปกครองบังคับบัญชาด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ยอมรับฟังความคิดเห็น และไม่ผลักความรับผิดชอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
(๔) ใช้หลักคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลที่อยู่ในความรับผิดชอบ    ของตนอย่างเคร่งครัด และปราศจากความลำเอียง
ข้อ ๑๔ ?ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน  ข้าราชการตำรวจต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(๑) เคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยกฎหมาย
(๒) รักษาวินัยและความสามัคคีในหมู่คณะ
(๓) ปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานด้วยความสุภาพมีน้ำใจ รักใคร่สมานฉันท์ และมีมนุษยสัมพันธ์ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน
(๔) อุทิศตนเอง ไม่หลีกเลี่ยงหรือเกี่ยงงาน ร่วมมือร่วมใจปฏิบัติหน้าที่โดยยึดความสำเร็จของงานและชื่อเสียงของหน่วย เป็นที่ตั้ง
ข้อ ๑๕ ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติตามค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินกำหนด ดังนี้
(๑) การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
(๒) การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ
(๓) การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
(๔) การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
(๕) การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
(๖) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และ         ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
(๗) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส แ?ละตรวจสอบได้
(๘) การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๙) การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์การ
(๒) จรรยาบรรณของตำรวจ
ข้อ ๑๖ ข้าราชการตำรวจจะต้องสำนึกในการให้บริการประชาชนด้านอำนวยความยุติธรรม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ประชาชนมีความเลื่อมใส เชื่อมั่นและศรัทธา ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(๑) อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการร้องทุกข์ กล่าวโทษ ขออนุญาต ขอข้อมูลข่าวสาร หรือติดต่อราชการอื่น ด้วยความเต็มใจ เป็นมิตร ไม่เลือกปฏิบัติ และรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ประชาชนเสียสิทธิหรือเสรีภาพตามกฎหมาย
(๒) สุภาพ อ่อนน้อม และให้เกียรติประชาชนเพื่อให้เกิดความน่าเคารพยำเกรง ไม่ใช้ถ้อยคำ กริยา หรือท่าทาง ที่มีลักษณะหยาบคาย ดูหมิ่น หรือเหยียดหยามประชาชน
(๓) ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ต้องดำรงตนให้อยู่ในสภาพที่พร้อมและเหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจ
(๔) พกพาอาวุธตามระเบียบแบบแผน ไม่จับหรือถืออาวุธ หรือเล็งอาวุธไปยังบุคคลโดยปราศจากเหตุอันสมควร
(๕) พกพาเอกสารหรือตราประจำตัว และแสดงเอกสารหรือตราประจำตัวเมื่อมีบุคคลร้องขอ
ข้อ ๑๗ เมื่อเข้าจับกุมหรือระงับการกระทำผิด ข้าราชการตำรวจต้อง
ยึดถือและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติดังนี้
(๑) แสดงถึงการอุทิศตนและจิตใจให้แก่การปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญและมีสติปัญญา
(๒) ยืนหยัดเจตนารมณ์ในการรักษากฎหมายให้ถึงที่สุด และดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำความผิด ทั้งนี้ให้ระลึกเสมอว่าการใช้กฎหมายจะต้องคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมด้วย
(๓) ไม่ใช้มาตรการรุนแรง เว้นแต่การใช้มาตรการปกติ แล้วไม่เพียงพอ      ที่จะหยุดยั้งผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องสงสัยได้
ข้อ ๑๘ ข้าราชการตำรวจต้องตระหนักว่า การใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรงเป็นมาตรการที่รุนแรงที่สุด ข้าราชการตำรวจอาจใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง ได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นภายใต้กรอบของกฎหมายและระเบียบแบบแผน หรือเมื่อผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องสงสัยใช้อาวุธต่อสู้ขัดขวางการจับกุม หรือเพื่อช่วยบุคคลอื่นที่อยู่ในอันตรายต่อชีวิต
เมื่อมีการใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง ไม่ว่าจะมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตหรือไม่ ข้าราชการตำรวจต้องรายงานเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาตามระเบียบแบบแผน ทันที
ข้อ ๑๙ ในการรวบรวมพยานหลักฐาน การสืบสวนสอบสวน การสอบปากคำ หรือการซักถามผู้กระทำความผิด ผู้ต้องหา ผู้ที่อยู่ในความควบคุมตามกฎหมาย  ผู้เสียหาย  ผู้รู้เห็นเหตุการณ์  หรือบุคคลอื่น  ข้าราชการตำรวจต้องแสดงความเป็นมืออาชีพโดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ ตำรวจ รวมทั้งใช้ปฏิภาณไหวพริบและสติปัญญา เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(๑) ไม่ทำการทารุณหรือทารุณกรรมต่อบุคคล หรือต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลนั้น
(๒) ไม่ใช้ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือปล่อยปละละเลยให้มีการทารุณหรือทารุณกรรมต่อบุคคล หรือต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลนั้น
(๓) ไม่กระทำการข่มขู่หรือรังควาน หรือไม่ใช้อำนาจที่มิชอบ หรือแนะนำเสี้ยมสอนบุคคลให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือปรักปรำผู้อื่น
(๔) ไม่กักขังหรือหน่วงเหนี่ยวบุคคลที่ยังไม่ได้ถูกจับกุมตามกฎหมาย เพื่อการสอบปากคำ
(๕) ไม่ใช้อำนาจที่มิชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน         
ข้อ ๒๐ ข้าราชการตำรวจต้องควบคุมดูแลบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของตนอย่างเคร่งครัดตามกฎหมายและมีมนุษยธรรม ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(๑) ไม่ผ่อนปรนให้บุคคลนั้นมีสิทธิหรือได้ประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผน
(๒) ไม่รบกวนการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับทนายความตามสิทธิแห่งกฎหมาย
(๓)  จัดให้บุคคลได้รับการรักษาพยาบาลหรือการดูแลทางการแพทย์ตามสมควรแก่กรณีเมื่อบุคคลนั้นมีอาการเจ็บป่วยหรือร้องขอ
(๔) ไม่ควบคุมเด็กและเยาวชนร่วมกับผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่หรือไม่คุมขัง ผู้หญิงร่วมกับผู้ชาย เว้นแต่เป็นกรณีที่มีกฎหมายและระเบียบแบบแผนอนุญาต
ข้อ ๒๑ ข้อมูลข่าวสารที่ข้าราชการตำรวจได้มาจากการ ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ ๑๙ หรือจากการปฏิบัติหน้าที่อื่น ข้าราชการตำรวจจะต้องรักษาข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นความลับอย่างเคร่งครัดเพราะ อาจเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์หรือชื่อเสียง
ของบุคคล หรืออาจเป็นคุณหรือเป็นโทษทั้งต่อผู้เสียหายหรือผู้กระทำความผิด   ข้า ราชการตำรวจจะเปิดเผยข้อมูลนั้นได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติ หน้าที่หรือเพื่อประโยชน์ในราชการตำรวจที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น
-------------------------------------
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ว่าด้วย จรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน พ.ศ.๒๕๔๔

----------------------------------------------
ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ที่ ๔/๒๔๙๙ ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๔๙๙ เรื่อง วางระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ซึ่งในลักษณะ ๘ การสอบสวน บทที่ ๑ ได้วางระเบียบว่าด้วย หลักทั่วไปว่าด้วยการสอบสวนไว้เป็นทางปฏิบัติแล้ว นั้น
เนื่องจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติตระหนักถึงความสำคัญของการสอบสวนคดีอาญาอันเป็นภารกิจ หลักในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน โดยมีพนักงานสอบสวนเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่นี้ ซึ่งการดำเนินการจะต้องมีความโปร่งใส สุจริต รวดเร็ว เสมอภาค และเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง จึงได้กำหนดเป็นนโยบายเน้นหนักมุ่งปรับปรุงงานอำนวยความยุติธรรมทางอาญา โดยยึดหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ควบคู่ไปกับการรักษาความสงบสุขของสังคม และพัฒนาพนักงานสอบสวนให้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณที่เหมาะสมต่อการดำรงไว้ซึ่งบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบขององค์กรต้นธารของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การที่พนักงานสอบสวนจะปฏิบัติหน้าที่ให้สัมฤทธิผลและมีแนวทางการดำรงตนตาม ครรลองที่ถูกต้องได้ดีเพียงใดนั้น จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือในลักษณะของจริยธรรม หรือจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนที่กำหนดขึ้นเป็นพิเศษ นอกเหนือจากจริยธรรมของข้าราชการตำรวจโดยทั่วไป ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๗๗ ได้บัญญัติให้รัฐจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการตำรวจ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติ หน้าที่แผนปฏิรูป
ระบบบริหารภาครัฐกำหนดให้มีการรณรงค์และส่งเสริมค่านิยมสร้างสรรค์และ จรรยาบรรณวิชาชีพของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งหลักการของระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ยุติธรรม โปร่งใสและความมีส่วนร่วม เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นเป็นการสมควรปรับปรุง พัฒนาจรรยาบรรณของพนักงานสอบสวนให้เป็นมาตรฐานเหมาะสมสอดคล้องกับปัจจัย ต่างๆ และมีความชัดเจน บังเกิดผลในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นโดยอาศัยการมีส่วนร่วม จากกระบวนการประชาสังคม จึงสมควรแก้ไขระเบียบในเรื่องนี้เสียใหม่เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการประพฤติ ปฏิบัติของพนักงานสอบสวนควบคู่ไปกับอุดมคติของตำรวจ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและสังคมส่วนรวม
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ แห่งข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ที่ ๔/๒๔๙๙ ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๔๙๙ ประกอบกับมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๑ ที่ให้อำนาจผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยกเลิก แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลระเบียบการตำรวจทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับคดีและในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับ คดีได้ จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในลักษณะ ๘ การสอบสวน บทที่ ๑ ข้อ ๒๐๘ แห่งประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดีเสียทั้งหมด และให้ใช้ความที่แนบท้ายระเบียบนี้แทน
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความที่แนบท้ายระเบียบนี้ เป็นบทที่ ๑๗ จรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน ลักษณะ ๘ การสอบสวน แห่งประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี

ข้อ ๓ ให้ใช้ระเบียบนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๔
(ลงชื่อ) พลตำรวจเอก พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์
(พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์)
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ลักษณะ ๘
การสอบสวน
บทที่ ๑๗
จรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน

-------------------
ด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติตระหนักถึงความสำคัญของการสอบสวนคดีอาญา อันเป็นภารกิจหลักในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนโดยมีพนักงานสอบสวน เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่นี้ ซึ่งการดำเนินการจะต้องมีความโปร่งใส สุจริต รวดเร็ว เสมอภาคและเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง โดยยึดหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญควบคู่ไปกับการรักษาความสงบสุขของสังคม และพัฒนาพนักงานสอบสวนให้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณที่เหมาะสมต่อการดำรงไว้ซึ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กร ต้นธารของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่พนักงานสอบสวนจะปฏิบัติหน้าที่ให้ สัมฤทธิผล จึงจำเป็นต้องกำหนดให้มีจรรยาบรรณของพนักงานสอบสวนเป็นกรอบและแนวทางในการ ประพฤติปฏิบัติควบคู่ไปกับ "อุดมคติของตำรวจ" ที่ได้กำหนดไว้แล้วในประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๑๖ ตามผนวก แนบท้าย เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและสังคมส่วนรวม ไว้ดังต่อไปนี้
          ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยจรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน พ.ศ.๒๕๔๔"
ข้อ ๒ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๓ จรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน ที่ต้องประพฤติปฏิบัติควบคู่ไปกับอุดมคติของตำรวจตามผนวกแนบท้ายระเบียบนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและสังคมส่วนรวม มีดังนี้
(๑) พนักงานสอบสวนต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
(๒) พนักงานสอบสวนต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต และยึดมั่นในศีลธรรม
(๓) พนักงานสอบสวนต้องอำนวยความยุติธรรม ด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง โปร่งใส และเป็นธรรมโดยปราศจากอคติ
(๔) พนักงานสอบสวนต้องกล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
(๕) พนักงานสอบสวนพึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ เสียสละ และอดทน เพื่อประโยชน์แห่งการอำนวยความยุติธรรม
(๖) พนักงานสอบสวนพึงมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ด้วยความสุภาพอ่อนโยนมีไมตรีจิต และเต็มใจให้บริการประชาชน
(๗) พนักงานสอบสวนพึงหมั่นศึกษาหาความรู้ และพัฒนาตนเองตลอดเวลา
(๘) พนักงานสอบสวบพึงสำนึก และยึดมั่นในวิชาชีพการสอบสวน มีความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีและวิชาชีพของตนเอง
ให้ผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนทุกระดับชั้น ทำความเข้าใจและสอดส่องควบคุม ดูแล ให้พนักงานสอบสวนยึดถือประพฤติปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน อย่างแท้จริง เพื่อให้บังเกิดผลดีแก่ทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของตน และสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่สังคม หากมีการละเลยหรือทำให้เห็นว่าพนักงานสอบสวนผู้ใดฝ่าฝืน ก็ให้ผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาไปตามระเบียบแบบแผนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหากเข้าข่ายผิดวินัยก็ให้ดำเนินการในเรื่องวินัยด้วย (ผนวกแนบท้ายระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยจรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน พ.ศ.๒๕๔๔ ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๔)

อุดมคติของตำรวจ
เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
กรุณาปรานีต่อประชาชน
อดทนต่อความเจ็บใจ
ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
ไม่มักมากในลาภผล
บำเพ็ญประโยชน์แก่ประชาชน
ดำรงตนในยุติธรรม
กระทำการด้วยปัญญา
รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
*********************

จรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน พ.ศ.๒๕๔๔
ข้อกำหนด
ข้อ ๑ พนักงานสอบสวนต้องเคารพในสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
แนวทางปฏิบัติ
- ต้องศึกษา ทำความเข้าใจกฎหมายและบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างถ่องแท้
- ต้องแจ้งสิทธิตามกฎหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
- ปลูกจิตสำนึกของพนักงานสอบสวนให้ตระหนักในหน้าที่ ต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญโดยผู้บังคับบัญชาให้การอบรมเป็นประจำ
- ให้พนักงานสอบสวนมีบทบาทในการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ในเรื่องสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญ
ข้อกำหนด
ข้อ ๒ พนักงานสอบสวนต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต และยึดมั่นในศีลธรรม
แนวทางปฏิบัติ
- การปฏิบัติหน้าที่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความสุจริต ตรงไปตรงมา ไม่มุ่งหวังหรือแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้จากการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะด้วยการเรียกร้อง แสดงท่าทีหรือกิริยาอาการอื่นใด และสามารถตรวจสอบได้
- ไม่พยายามหลีกเลี่ยงหรือแสวงหาช่องว่างของกฎหมายเพื่อกระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
- มีจิตสำนึกในการปฏิบัติงานในกรอบของศีลธรรมตามหลักศาสนา
ข้อกำหนด
ข้อ ๓ พนักงานสอบสวนต้องอำนวยความยุติธรรม ด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง โปร่งใส และเป็นธรรมโดยปราศจากอคติ
แนวทางปฏิบัติ
- ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ไม่เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
- ให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม ตามลำดับขั้นตอนภายในระยะเวลาที่ ตร.กำหนด
- ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเต็มใจ
ข้อกำหนด
ข้อ ๔ พนักงานสอบสวนต้องกล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
แนวทางปฏิบัติ
- ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม และชอบธรรม
- ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ
- ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เกรงกลัวต่ออิทธิพลใดๆ
ข้อกำหนด
ข้อ ๕ พนักงานสอบสวนพึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ เสียสละ และอดทน เพื่อประโยชน์แห่งการอำนวยความยุติธรรม
แนวทางปฏิบัติ
- ปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ และอุทิศตนทุ่มเทสติปัญญา
ความรู้ความคิดที่มีอยู่ให้กับงานอย่างเต็มที่
- ปฏิบัติงานในหน้าที่โดยมีจิตสำนึกและหลักการตามกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งการอำนวยความยุติธรรม
- ปลูกฝังจิตสำนึกพนักงานสอบสวนในเรื่องการเสียสละ อดทนและความรับผิดชอบในหน้าที่
ข้อกำหนด
        ข้อ ๖ พนักงานสอบสวนพึงมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ด้วยความสุภาพ อ่อนโยน มีไมตรีจิต และเต็มใจให้บริการประชาชน
แนวทางปฏิบัติ
- พนักงานสอบปฏิบัติหน้าที่และให้บริการประชาชนด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อมีน้ำใจและใช้กิริยาวาจาที่สุภาพ อ่อนโยน โดยมีจิตสำนึกการให้บริการประชาชน
- เต็มใจแนะนำ ช่วยเหลือในการบริการประชาชนเสมือนญาติ
ข้อกำหนด
ข้อ ๗ พนักงานสอบสวนพึงหมั่นศึกษาหาความรู้ และพัฒนาตนเองตลอดเวลา
แนวทางปฏิบัติ
- ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม พัฒนาตนให้มีความรู้ ความชำนาญทันต่อเหตุการณ์
- ขยันหมั่นเพียร ทำความเข้าใจต่อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติและนำไปยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด
- มีความริเริ่ม สร้างสรรค์ พัฒนาการปฏิบัติงานให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
ข้อกำหนด
         ข้อ ๘ พนักงานสอบสวนพึงสำนึกและยึดมั่นในวิชาชีพการสอบสวน มีความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีและวิชาชีพของตนเอง
แนวทางปฏิบัติ
- ดำรงตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการในกระบวนการยุติธรรม ด้วยการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีหลักการ มีคุณธรรม เป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน
- ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพการสอบสวนด้วยความมั่นคงและความภาคภูมิใจใน เกียรติคุณและศักดิ์ศรีของความเป็นพนักงานสอบสวน          
- ปฏิบัติงานด้วยจิตวิญญาณของพนักงานสอบสวนให้เป็นที่เชื่อถือและศรัทธาของประชาชน


วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์
ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
วิสัยทัศน์ (Vision)
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่ประชาชน       ให้ความไว้วางใจ เชื่อมั่น ศรัทธา และบริการประชาชน
พันธกิจ (Mission)
๑. ถวายความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
๒. ให้บริการที่ดีโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและชุมชนเป็นฐาน
๓. ป้องกันและควบคุมอาชญากรรมโดยส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
๔. อำนวยความยุติธรรมโดยยึดหลักนิติธรรม
๕. รักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติด้วยการบริหารจัดการที่ดี
ยุทธศาสตร์ (Strategies)
ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้
. ยุทธศาสตร์การให้บริการที่ดีแก่ประชาชนและชุมชน
๑.๑ กระจายบริการลงสู่ชุมชนและรักษาความสงบเรียบร้อย           ในชุมชนอย่างทั่วถึง
๑.๑.๑ กระจายบริการลงสู่ชุมชนอย่างทั่วถึง
๑.๑.๒ ปรับระบบและวิธีการทำงานให้สั้นกระชับ สะดวก รวดเร็ว และเสร็จสิ้น ณ จุดบริการประชาชน (One stop/contact service)
๑.๑.๓ มีศูนย์บริการรับแจ้งเหตุ (One call center) ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ
๑.๒ บริการอย่างมืออาชีพและมีภาวะผู้นำ
๑.๒.๑ บริการประชาชนอย่างมีทักษะตามศาสตร์ของวิชาชีพตำรวจ (Police Science)
๑.๒.๒ บริการด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้
๑.๒.๓ มีความพร้อมในการปฏิบัติและแก้ไขสถานการณ์      ด้วยความรัดกุมรอบคอบ
๑.๓ บริการด้วยความเป็นกลาง เสมอภาค และไม่เลือกปฏิบัติ
๑.๓.๑ ถือปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพตำรวจอย่างเคร่งครัด
๑.๓.๒ มีระบบการตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจอย่างสม่ำเสมอ
๑.๔ บริการภายใต้กรอบกฎหมาย โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ       ส่วนบุคคล
๑.๔.๑ ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักนิติธรรม (Rule of law) หรือเจตนารมณ์ของกฎหมาย
๑.๕ บริการด้วยความสุภาพ เป็นมิตร และมีจิตวิญญาณของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เพื่อปกป้องผู้บริสุทธิ์และทรัพย์สินสาธารณะ
๑.๕.๑ บริการด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น และมีจิตสำนึก    ในการให้บริการ (Service Mind)
๑.๕.๒ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคเป็นธรรมโดยยึดมั่นอยู่ในอุดมคติของตำรวจ และปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมอันดีงามของตำรวจ
. ยุทธศาสตร์การควบคุมอาชญากรรมให้อยู่ในระดับที่ไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขของประชาชน
๒.๑ ป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม โดยให้ประชาชน ชุมชน และท้องถิ่นมีส่วนร่วม
๒.๑.๑. การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น
๒.๑.๑.๑ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานในการป้องกันอาชญากรรม
๒.๑.๑.๒ วิเคราะห์และประชาสัมพันธ์สถานการณ์อาชญากรรมในชุมชนให้ประชาชนได้รับทราบเป็นประจำ
๒.๑.๑.๓ รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนในสังคมร่วมเป็น   พลังแผ่นดินในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
๒.๑.๑.๔ ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมชุมชนเข้มแข็งเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในชุมชน/หมู่บ้าน
๒.๑.๒ การพัฒนาระบบสายตรวจ
๒.๑.๒.๑ จัดระบบสายตรวจให้ปฏิบัติงานในเชิงรุกและมีผลในเชิงป้องปราม
๒.๑.๒.๒ มีความพร้อมที่จะไปถึงที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว สามารถระงับเหตุ และให้บริการประชาชนได้ทันสถานการณ์
๒.๒ สืบสวนปราบปรามอาชญากรรม
๒.๒.๑ สืบสวนปราบปรามอาชญากรรมทั่วไป
๒.๒.๑.๑ จัดระบบฐานข้อมูลชุมชนและข้อมูลท้องที่ ให้เป็นปัจจุบันไว้ใช้ในการสืบสวนปราบปราม
๒.๒.๑.๒ มีการบูรณาการการข่าวอาชญากรรมกันได้ระหว่างหน่วยงาน
๒.๒.๑.๓ มีความพร้อมที่จะเข้าเผชิญเหตุและแก้ไขสถานการณ์พิเศษได้ทันกาล
๒.๒.๒ สืบสวน ปราบปรามอาชญากรรมที่เป็นขบวนการหรือเครือข่าย
๒.๒.๒.๑ มียุทธศาสตร์ย่อยและแนวทางที่ชัดเจน (Roadmap) ในการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมที่เป็นขบวนการหรือเครือข่าย
๒.๒.๒.๒ จัดให้มีฐานข้อมูลอาชญากรรมในลักษณะเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
๒.๒.๒.๓ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และ  ความชำนาญ/เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรม        ที่เป็นขบวนการหรือเครือข่าย
. ยุทธศาสตร์การอำนวยความยุติธรรม
๓.๑ พัฒนาโครงสร้าง ระบบงาน และบุคลากรด้านการสอบสวน
๓.๑.๑ ให้มีโครงสร้างสายงานสอบสวนที่ชัดเจน
๓.๑.๒ ให้พนักงานสอบสวนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในงาน   นิติวิทยาศาสตร์
๓.๑.๓ ให้พนักงานสอบสวนได้รับค่าตอบแทนที่เทียบเคียงได้กับข้าราชการฝ่ายอื่นในกระบวนการยุติธรรม
๓.๑.๔ ปรับสารบบและเนื้อหาในสำนวนการสอบสวนให้กระชับและชัดเจน
๓.๑.๕ นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการสอบสวน
๓.๑.๖ ติดตามผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินคดีและการใช้ดุลยพินิจในการสอบสวน
๓.๒ พัฒนางานนิติวิทยาศาสตร์
๓.๒.๑ ปรับปรุงงานนิติวิทยาศาสตร์ให้มีมาตรฐานสูงขึ้นและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
๓.๒.๒ มีความพร้อมที่จะทำงานควบคู่กับพนักงานสอบสวน
๓.๓ บูรณาการกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
๓.๓.๑ มียุทธศาสตร์ย่อยและแนวทางที่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายแบบบูรณาการ
๓.๓.๒ เชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด      ในชั้นการสอบสวน การพิจารณาของอัยการ ศาล ราชทัณฑ์และหน่วยงานอื่น
. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติ
๔.๑ การถวายความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์และพระบรม   วงศานุวงศ์
๔.๑.๑ มียุทธศาสตร์ย่อยและแนวทางที่ชัดเจนในการถวายความปลอดภัย โดยถือเป็นภารกิจที่มีความสำคัญสูงสุด
๔.๑.๒ สร้างเอกภาพในการกำหนดแผนงาน การควบคุม และ การกำกับดูแล
๔.๑.๓ มีมาตรการในการถวายความปลอดภัยอย่างรัดกุมและ  มีประสิทธิภาพ
๔.๑.๔ มีความพร้อมทางด้านบุคลากร ยานพาหนะ และเครื่องมือเครื่องใช้อื่น ๆ
๔.๑.๕ นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการถวายความปลอดภัย
๔.๒ การอารักขา และรักษาความปลอดภัยบุคคลและสถานที่สำคัญ
๔.๒.๑ มียุทธศาสตร์ย่อยและแนวทางที่ชัดเจนในการอารักขาและรักษาความปลอดภัยบุคคลและสถานที่สำคัญ
๔.๒.๒ มีความพร้อมในด้านบุคลากร และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ
๔.๓ งานการข่าวเพื่อความมั่นคงของชาติ
๔.๓.๑ พัฒนางานการข่าวด้านความมั่นคง
๔.๓.๑.๑ มียุทธศาสตร์ย่อยและแนวทางที่ชัดเจนเพื่อให้ได้ข่าวกรองที่ถูกต้อง รวดเร็วและ ทันสถานการณ์
๔.๓.๑.๒ พัฒนาบุคลากรสายการข่าวกรองให้มีความรู้ ทักษะและความชำนาญ/เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
๔.๓.๒ จัดให้มีระบบการต่อต้านข่าวกรอง
๔.๓.๒.๑ มีความพร้อมในด้านบุคลากร และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ
๔.๓.๒.๒ พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและความพร้อมในการปฏิบัติงาน
๔.๔ งานความมั่นคงของชาติในหน้าที่ตำรวจ
๔.๔.๑ มียุทธศาสตร์ย่อยและแนวทางที่ชัดเจนในการบริหารจัดการเชิงบูรณาการในงานความมั่นคงของชาติ
๔.๔.๒ รักษาความสงบเรียบร้อยและสนับสนุนการเสริมสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งป้องกันตนเองตามแนวชายแดน
๔.๔.๓ เฝ้าระวัง ตรวจสอบ สกัดกั้น และสืบสวนปราบปรามการลักลอบหลบหนีเข้าเมือง นำเข้าบุคคลและสิ่งผิดกฎหมายที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
๔.๔.๔ ต่อต้านการก่อการร้ายสากล
๔.๔.๕ ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวกับความมั่นคง
          ๕. ยุทธศาสตร์การควบคุมการจราจรและการบริการสังคม
๕.๑ ควบคุมการจราจรให้สะดวกปลอดภัย
๕.๑.๑ มียุทธศาสตร์ย่อยและแนวทางที่ชัดเจนในการควบคุมการจราจร
๕.๑.๒ มีความพร้อมในด้านบุคลากรและเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ
๕.๑.๓ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานในการป้องกัน    และลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
๕.๑.๔ รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาจราจร
๕.๒ บริการประชาชนและสังคมภายในอำนาจหน้าที่ตำรวจ
๕.๒.๑ มีความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน    ที่ประสบอุบัติภัยและบริการสังคมภายในอำนาจหน้าที่ตำรวจ
๕.๒.๒ บริการและให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี
๖.๑ พัฒนาผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ให้มีทักษะการบริหารจัดการที่ดีและบูรณาการทั้งภายในหน่วยและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
๖.๑.๑ เน้นการทำงานอย่างมียุทธศาสตร์ มุ่งผลสำเร็จของงาน
๖.๑.๒ ปรับวิธีการทำงานในทุกระดับให้มียุทธศาสตร์ย่อยและแนวทางที่ชัดเจน (Roadmap)
๖.๑.๓ มีการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์อาชญากรรม    และการดำเนินการตามยุทธศาสตร์แต่ละด้านอย่างสม่ำเสมอในทุกระดับ
๖.๒ ปรับโครงสร้างและระบบการบริหารงานในทุกระดับ ( ตร.    บช. บก./ภ.จว. สน./สภ. ) ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
๖.๒.๑ ให้มีความเชื่อมโยงในการบูรณาการระหว่างตำรวจท้องที่ (Area) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของตำรวจ กับหน่วยงานเฉพาะหน้าที่หรือเฉพาะทาง (Function) ในลักษณะการสนับสนุน/ต้นแบบ
๖.๒.๒ จัดให้มีชั้นการบังคับบัญชาที่สั้นลง (Flat Organization)       มีความรวดเร็วในการตัดสินใจและการบริการประชาชน
๖.๓ พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคล
๖.๓.๑ มีความเป็นธรรมในการให้ความดีความชอบและ      ลงทัณฑ์ข้าราชการตำรวจ โดยจัดให้มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเทียบเคียงได้กับข้อกำหนดของ ก.พ.
๖.๓.๒ ปรับค่าตอบแทนและสวัสดิการให้เหมาะสมสอดคล้องกับ  ค่าครองชีพที่เป็นปัจจุบันโดยเฉพาะข้าราชการตำรวจในระดับล่าง
๖.๓.๓ มีข้อมูลประวัติงานเฉพาะบุคคล (Profile) และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำเดือน เพื่อใช้เป็นฐานในการพิจารณาความชอบ อันจะทำให้บุคคลได้ใช้ศักยภาพให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน
๖.๓.๔ ดำรงชีพอยู่ในความพอดีตามรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียง   ไม่ใช้จ่ายเกินฐานะ โดยให้ผู้บังคับบัญชาประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี
๖.๓.๕ มีความพิถีพิถันในการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะมาเป็นตำรวจที่ดี
๖.๔ พัฒนาการศึกษาและฝึกอบรม
๖.๔.๑ มียุทธศาสตร์ย่อยและแนวทางที่ชัดเจนในการให้การศึกษา อบรมข้าราชการตำรวจ
๖.๔.๒ ผลิตและพัฒนาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของหน่วยงานและงานที่ปฏิบัติบนพื้น ฐานแห่งศาสตร์ของวิชาชีพตำรวจ โดยให้สถาบันอุดมศึกษาเข้ามามีส่วนร่วม
๖.๔.๓ มีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้สนับสนุน
๖.๔.๔ สงเสริมจริยธรรมในการทำงานโดยจัดให้มีการอบรมคุณธรรมอย่างสม่ำเสมอ
๖.๕ งานข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี
๖.๕.๑ จัดระบบสารสนเทศ ให้สามารถนำมาช่วยในการบริหารจัดการ และสนับสนุนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัย เชื่อถือได้
๖.๕.๒ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสนับสนุนการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และการให้บริการประชาชนในทุกระดับในลักษณะศูนย์บริการ   รับแจ้งเหตุ (One call center)
๖.๕.๓ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะและความชำนาญ/เชี่ยวชาญเฉพาะในการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางเทคโนโลยีและ คอมพิวเตอร์ (Computer Forensics)
๖.๕.๔ สามารถบูรณาการกับหน่วยงานภายในและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นโดยเฉพาะหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
๖.๖ งานกฎหมายและระเบียบ
๖.๖.๑ ยกเลิกกฎหมายและระเบียบที่ล้าสมัย ขาดสภาพการบังคับใช้
๖.๖.๒ ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการบริการประชาชน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
๖.๖.๓ จัดให้มีกฎหมายและระเบียบที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม และบริการประชาชน
             ๖.๗ จัดให้มียุทธศาสตร์ย่อยและแนวทางที่ชัดเจน รองรับสถานการณ์เฉพาะในรอบปี เช่น วันเทศกาล และวันนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ (วันปีใหม่ วันตรุษจีน    วันสงกรานต์ ฯลฯ)
๖.๗.๑ จัดให้มีหน่วยงานหลักเป็นเจ้าภาพในการบริหารจัดการเชิงบูรณาการตามยุทธศาสตร์ย่อยเพื่อรองรับสถานการณ์เฉพาะ
๖.๘ จัดให้มียุทธศาสตร์ย่อยและแนวทางที่ชัดเจน รองรับสถานการณ์พิเศษ เช่น การเลือกตั้ง การประชุมระดับนานาชาติต่างๆ
๖.๘.๑ จัดให้มีหน่วยงานหลักเป็นเจ้าภาพในการบริหารจัดการเชิงบูรณาการตามยุทธศาสตร์ย่อยเพื่อรองรับสถานการณ์พิเศษ







No comments:

Post a Comment