Thursday, August 13, 2009

โรคอัลไซเมอร์ โรคตาเสื่อม = ป้องกันได้ The basic prevention of Alzheimer's Disease and Aging Eyes Disease

่ได้อ่านข่าวจากไทยรัฐ แล้วตกใจ ที่รู้ว่า คนไทยป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม หรือ โรคอัลไซเมอร์ นั่นเอง ทั้งที่โรคนี้ ป้องกันได้ ด้วยการกิน"ไข่" เพราะไข่เต็มไปด้วยสารอาหารที่สามารถไปบำรุงสมองได้ ถ้าคุณกลัว คลอเรสเตอรอล แล้วละก็ สามารถกินยาขับได้ คือ รักษาได้ง่าย แต่ "ความจำเสื่อมรักษาไม่ได้ เพราะเซลมันเสียสภาพไปแล้ว" ทีนี้ถึงบางอ้อแล้วยังอ่ะครับ

CHOLINE จา่กไข่ทำให้สมองดี
สารอาหารที่สำคัญที่เรียกว่า Choline มีบทบาทสำคัญต่อระบบประสาทของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนช่วงพัฒนาการของสมอง และ ความจำ (memory functions) จากการศึกษาพบว่า การขาดสารอาหาร Choline มีผลต่อส่วนพัฒ่่นาการของสมองที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการเรียนรู้ และความจำ

ไข่ไก่ 1 ฟองสามารถให้ Choline ได้ถึง 22% ของที่ผู้ใหญ่ต้องการในแต่ละวัน

lutein และ zeaxanthin จากไข่ช่วยให้ดวงตาดี

สาร lutein และ zeaxanthin มีผลอย่างมากในการช่วยลดความเสี่ยงของโรคสายตา โดยเฉพาะโรคสายตาของผู้สูงวัย ที่เรียก Age-related Macular Degeneration(AMD) จากการศึกษาพบว่า ไข่ (ไข่ไก่ ไข่เป็ด) เป็นแหล่งอาหารที่มีทั้ง lutein และ zeaxanthin ทั้งมีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากสายตาได้อีกด้วย


สมาคมโรคหัวใจสหรัฐ (American Heart Association) ได้แก้ไขคู่มือแนะนำเกี่ยวกับไข่ (amended its guidelines on eggs) ซึ่งกล่าวว่า "ไม่มีข้อกำหนดเฉพาะอีกต่อไปเกี่ยวกับจำนวนของไข่แดงที่สามารถทานได้ในแต่สัปดาห์" (“no longer a specific recommendation on the number of egg yolks a person may consume in a week”)





ไทยรัฐ วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2552 ลงไว้ดังนี้ครับ
นพ.ธงชัย ทวิชาชาติ กรรมการมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย กล่าววันนี้ (26 พ.ค.) ว่า จากผลศึกษาของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขพบปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปกว่า 7 ล้านคน และคาดว่า จะมีผู้สูง อายุเป็นโรคสมองเสื่อมประมาณ 2.1 ล้านคน ในจำนวนนี้ เป็นผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ถึง 1 ล้านกว่าคน ที่สำคัญยังพบว่าแนวโน้มของผู้เป็นโรคอัลไซเมอร์ในประเทศไทยจะเพิ่มมากขึ้น ในอนาคต โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ดังนั้น จึงต้องมีการดำเนินการป้องกันอย่างใกล้ชิด

กรรมการมูลนิธิโรค อัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย กล่าวต่อว่า อาการเตือนของโรคอัลไซเมอร์มีหลายระดับเริ่ม แรกอาจจะเป็น เพียงหลงลืมเล็กน้อย จนถึงระดับที่เป็นมาก โดยเริ่มจาก 1. ความผิดปกติด้านความทรงจำ จำอะไรไม่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำใหม่ และเริ่มมากขึ้นจนลืมความทรงจำในอดีต 2. ความผิดปกติเกี่ยวกับการใช้ภาษา ผู้ป่วยจะหาคำพูดที่เหมาะสมกับคำที่จะพูดไม่ได้ เรียกชื่อสิ่งของผิดและไม่มีสมาธิทำให้ไม่สามารถสนทนาหรือสร้างประโยคได้จึง ทำให้พูดประโยคสั้นลงจนในที่สุดอาจจะพูดซ้ำๆ หรือไม่พูดเลย 3. ความผิด ปกติเกี่ยวกับความรู้ทิศทางและเวลา ผู้ป่วยอาจหลงทาง ไม่รู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล และกลางคืนไม่ยอมนอน หรือนอนไม่เป็นเวลา

นพ.ธงชัย กล่าวถึงอาการเตือนโรคอัลไซเมอร์ต่อว่า 4.ความผิดปกติของความเฉลียวฉลาด ความสามารถของผู้ป่วยที่เคยมีขาดหายไป 5.บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงและพบอาการทางจิตเวช โดยอาการที่พบบ่อยมากที่สุดคือ มีพฤติกรรมซ้ำๆ ซึมเศร้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หงุดหงิด หวาดระแวง และพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น การแสดงออกทางสังคมไม่เหมาะสม เห็นภาพหลอน หูแว่ว เป็นต้น และ 6. ความผิดปกติทางระบบการเคลื่อนไหวและระบบประสาทส่วนอื่นๆ

ด้านคุณ หญิงอุไรวรรณ ศิรินุพงศ์ รองประธานมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เพื่อป้องกันกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ 1-5 มิ.ย.2552 มูลนิธิโรคอัลไซเมอร์ฯ จะร่วมกับ กรุงเทพมหานครและศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย ได้จัดทำ โครงการ “คัดกรองความจำ” ขึ้น ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่งในเขตกรุงเทพฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอาย และผู้ดูแลได้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงสัญญาณเตือนถึงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ เพื่อการเตรียมความพร้อมป้องกันตั้งแต่เริ่มแรก โดยกลุ่มคนที่ควรจะไปคัดกรองความจำในครั้งนี้คือผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ผู้ที่มีปัญหาเรื่องความจำ มีปัจจัยเสี่ยงเนื่องจากมีญาติมีประวัติเคยรักษาโรคอัลไซเมอร์




No comments:

Post a Comment