Wednesday, April 20, 2011

ยาฆ่าแมลงในถั่วฝักยาว

ยาฆ่าแมลงในถั่วฝักยาว

ตามหลักโภชนาการที่ดี ใน 1 วัน เราควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หรือ ถ้าไม่ครบจริงๆ ก็ควรทานให้ได้ 3 ใน 5 ถือว่ายังได้อยู่

ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนตาดำๆอย่างเราเห็นจะเลือกไม่ได้ เพราะตอนนี้ที่ขาดกันอยู่เห็นจะเป็นหมู่ที่ 5 คือ ไขมัน

ตอน นี้คนไทยกำลังขาดไขมันกันอย่างหนัก โดยเฉพาะไขมันจากพืชจำพวกน้ำมันพืชชนิดต่างๆ หากมองในแง่ดี นับเป็นผลดีทางอ้อมที่ทำให้คนไทยกินไขมันน้อยลงจะได้ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งต้องเสียงบประมาณในการรักษากันในระยะยาว

เมื่อไขมันหายาก ก็หันมากินเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้แทนให้มากขึ้นก็น่าจะดี เพราะได้ทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ทำให้มีสุขภาพดี และมีผิวพรรณสดใส

สำหรับผักและผลไม้ เวลาซื้อต้องระวังของแถมที่เรามองไม่เห็นคือ ยาฆ่าแมลง สักนิด เพราะเปรียบเสมือนระเบิดเวลาที่เมื่อสะสมจนได้ที่แล้ว จะระเบิดและเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

ถั่วฝักยาว เป็นผักอีกชนิดที่มักพบว่ามียาฆ่าแมลงตกค้าง ซึ่งเมื่อสุ่มตรวจเพื่อหาการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่ม ไพรีทรอยด์และคาร์บาร์เมต ก็จะพบแทบทุกครั้ง

โดยเฉพาะ ไซเพอร์เมทรินและเมโทมิล ซึ่งน่าอัศจรรย์ที่ทำไมมันไม่หมดเสียที หรืออาจเป็นเพราะเกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือไม่ พอถึงช่วงที่เก็บได้ก็ประโคม ฉีดพ่น ทิ้งไว้ 1-2 วัน ก็เก็บมาขายโดยไม่คำนึงว่าจะมียาฆ่าแมลงตกค้างหรือไม่

คนกินไม่รู้เรื่องก็พลอยรับเคราะห์ไปด้วย

สำหรับคนที่ชอบกินถั่วฝักยาว วันนี้ต้องระวัง เพราะผลการตรวจวิเคราะห์หายาฆ่าแมลงชนิด ไซเพอร์เมทรินและเมโทมิล ตกค้างนั้น พบว่า

มีถั่วฝักยาว 3 ตัวอย่าง พบการตกค้าง และมีอยู่ 1 ตัวอย่างที่พบสารไซเพอร์เมทริน ตกค้างในปริมาณที่เกินกว่ามาตรฐานกำหนด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขไทยได้กำหนดไว้ว่า ตรวจพบสาร ไซเพอร์เมทริน ตกค้างในถั่วฝักยาวสูงสุดได้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม

วิธีการป้องกันง่ายๆ สำหรับผู้บริโภค คือ นำผักมาล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง เพื่อให้ปริมาณยาฆ่าแมลงที่ตกค้างนั้นหมดไปหรือเจือจางลงกว่าเดิม เพื่อความปลอดภัย


ที่มา ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย 25 กุมภาพันธ์ 2554

No comments:

Post a Comment