Sunday, October 11, 2009

วิธีไล่จิ้งจก How to take away home-lizard ..

จริง ๆ แล้ว จิ้งจกน่ารักดี ช่วยกินแมลงในบ้านได้ด้วย In fact, home-lizard is pretty. It helps with eating insects in the home.

แต่ใครที่ประสบกับปัญหาจิ้งจกกวนใจ วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีวิธีไล่จิ้งจกมาบอก...
But who struggle with worry lizard. Today we'll tell how to rid of home-lizard ...
วิธีแรก ใช้ผ้าชุบน้ำมันก๊าดผสมน้ำ แล้วนำไปวางตามมุมอับ กลิ่นเหม็นของน้ำมันก๊าด จะเป็นตัวไล่ให้จิ้งจกไม่กล้าเข้าใกล้ หรือนำการบูร ลูกเหม็น ไปวางแทนที่ก็ใช้ได้เช่นกัน First, using cloth immersed the mixed of kerosene and water. Then place it the corner or point where lizard might be around. Bad smell of kerosene will make the lizard away. Camphor or mothball can be used as replacement.
อีกวิธีให้ใช้น้ำฉีดไปที่เท้าของจิ้งจก เพราะน้ำจะเข้าไปแทนที่สูญญากาศใต้พังผืดบริเวณเท้า ทำให้หล่นลงมา
Alternatively, spray water to lizard's feet. Because water takes place under vacuum membrane area on its feet. It will fall down.
เพียงเท่านี้ จิ้งจกก็จะไม่มากวนใจอีกต่อไป That's it.. home-lizard would not bother any longer.


ที่มา: เกร็ดความรู้ เดลินิวส์ออนไลน์ วันอาทิตย์ ที่ 11 ตุลาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=424&contentId=24967

Note: น้ำมันก๊าดมีชื่อทางเคมีว่า คีโรซีน เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเราใช้เป็นเชื้อเพลิงในตะเกียง และเป็นตัวทำละลาย เช่น ละลายสี บางทีมือเปื้อนสี เราก็เอาน้ำมันก๊าดมาล้างสีออก มันเป็นส่วนของน้ำมันชักเงาด้วย ความจริงแล้วการสัมผัสน้ำมันก๊าดระยะ สั้นไม่เป็นอันตรายเท่าใดนัก แต่ต้องรีบล้างออกทันที การสัมผัสบ่อยๆเป็นเวลานาน ทำให้ผิวหนังระคายเคืองและซึมเข้าสู่ร่างกาย นานเข้าเป็นโรคโลหิตจางและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ อันตรายแบบเฉียบพลันจะเกิดขึ้นถ้ากลืนกินเข้าไป ทำให้อาเจียน มีอาการร้อนปากและลำคอ ท้องร่วง มึนซึม ไอ ละอองสารทำให้ทางเดินหายใจระคายเคือง ถ้ามากทำให้ปวดศีรษะและหมดสติได้ วิธีแก้ไขให้รีบย้ายผู้ป่วยออกห่างจากสารไปในที่อากาศบริสุทธิ์ หากหยุดหายใจ ต้องรีบกระตุ้นให้หายใจแล้วส่งแพทย์ หากในสถานที่ทำงานมีการใช้น้ำมันก๊าด ต้องไม่ปล่อยให้มีการระเหยฟุ้งกระจายในบรรยากาศ มิฉะนั้นคนงานจะหายใจเอาไอระเหยเข้าไป แต่ถ้าจำเป็นต้องเกี่ยวข้องโดยตรง เช่นทำหน้าที่ผสมสีในน้ำมันก๊าด ก็ควรใส่ถุงมือและหน้ากากที่ป้องกันได้ อันตรายอีกประการหนึ่งคืออันตรายจากไฟ เพราะน้ำมันก๊าดก็คือเชื้อเพลิงดีๆนี่เอง ความไวไฟจะทำให้ไฟลุกได้ง่ายถ้ามีอะไรมาจุดติดเข้า อย่าให้มีประกายไฟในบริเวณใกล้เคียง ถ้าหกหรือรั่วไหล ใช้ทราบซับ เก็บใส่ภาชนะปิดมิดชิด นำไปจุดไฟเผาทิ้งในที่ปลอดภัย
(ที่มา: รศ.สุชาตา ชินะจิตร 20 ก.ค. 2549 http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=84)

No comments:

Post a Comment