Wednesday, January 12, 2011

อย่าบิดประวัติศาสตร์เพื่อก่อสงคราม (1) + (2)

อย่าบิดประวัติศาสตร์เพื่อก่อสงคราม (1)

ขณะนี้มีพวก บ้าสงครามบางกลุ่มบางพวกกำลังปั่นกระแสเรื่องเสียดินแดนด้านที่ประชิดติดกับ พระราชอาณาจักรกัมพูชา เดิมนิติภูมิก็เห็นด้วยกับคนกลุ่มนี้ แต่สุภาษิตที่ว่าระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน เมื่อวันเวลานาทีหมุนเวียนเปลี่ยนไป ผมก็ค้นพบว่ามีคนมักใหญ่ใฝ่สูงบางกลุ่มสร้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ขึ้นเพื่อ 1. เตะ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นเส้นทางการเมืองในประเทศไทย และ 2. ให้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 อำนวยโอกาสให้ตัวเองได้มีวาสนาเป็นนายกรัฐมนตรีสักครั้งในชีวิต

เพราะหางของตน และพวกเริ่มแหยงก้นโผล่ออกมาให้ประชาชนเห็นซะก่อน ผู้คนทั้งประเทศจึงสิ้นศรัทธา คราวนี้จึงต้องหาสาเหตุอันชอบธรรมอันใหม่ที่จะนำตนให้ไปสู่ความปรารถนาบ้าบอ คอแตกซีครับ สุดท้ายก็เอาประเทศมาเป็นเครื่องมืออีกครั้ง โดยการปั้นกระแสชาตินิยม โดยหวังว่าผู้คนทั้งประเทศจะเห็นด้วยกับพวกตนเหมือนในอดีต ทว่าไม่มีใครเขาเอาด้วยแล้ว แถมเหตุการณ์ยังกลับตาลปัตร กลับโดนผู้คนก่นด่าทั้งประเทศ เดิมกะว่าจะมีผู้คนสักแสนสองแสนแห่แหนไปเดินขบวนร่วมกันปกป้องประเทศ โธ่เอ๊ย ไอ้ปื๊ด มีมาน้อยกว่าห้าร้อยซะอีก เดินกันหร็อมแหร็มๆ ทุกวันนี้ไม่มีมุกเล่น ไอ้บ้าคณะนี้ก็จึงงัดเอาเรื่องการจะทำสงครามกับกัมพูชาขึ้นมาเสนอ มุกนี้นี่ทำให้เราทราบว่าภายในจิตใจของคนพวกนี้นี่เลวทรามต่ำช้ายิ่งกว่าฮิต เลอร์ซะอีก

ผู้อ่านท่านหนึ่งส่งอีเมล์ที่มีคนอ้างเหตุการณ์สมัยพระ บาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมากระตุ้นเพื่อทำสงครามกะ เขมร โถ ไอ้ปี๊ด โลกเมื่อ 200-300 ปีที่แล้ว เป็นคนละเรื่องกะโลกปัจจุบัน สมัยนี้ เอ็งลองทะลึ่งบุกเข้าไปโดยไม่มีเหตุผลและความชอบธรรมพอเพียงซี โลกเอาเอ็งตายแน่ จะแย่ยิ่งกว่าอิรัก

สำหรับประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้น เราเข้าไปซัดเขมรมา 3 ครั้ง

ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2312 เจ้านายเขมรทะเลาะกัน นักองตนไปขอ

กอง ทัพญวนมาตีเขมร นักองนนท์สู้ไม่ได้ก็หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ณ กรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยรณฤทธิ์กับพระยาอนุชิตราชาไปตีเขมร ตีได้เมืองเสียมราฐและพักรอฤดูฝน พอดีได้ข่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพไปตีเมือง นครศรีธรรมราชแล้วสิ้นพระชนม์ลง จึงได้ยกทัพกลับ การตีเขมรครั้งนั้นไม่สำเร็จ

ครั้งที่ 2 พ.ศ.2314 นักองตนที่ครองเขมรอยู่ได้ข่าวพม่ายกทัพมาตีไทย จึงถือโอกาสมาตีเมืองจันทบุรีและตราด พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาจักรี ไปตีเขมร ทัพไทยตีได้เมืองโพธิสัตว์ เมืองพระตะบอง เมืองบริบูรณ์ เมืองกำพงโสม และเมืองบันทายมาศ นักองตนแพ้ก็หนีไปอยู่กับญวน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักองนนท์ไปครองเมืองเขมรสืบไป

ครั้ง ที่ 3 พ.ศ.2323 ฟ้าทะละหะเอาใจออกห่างไทยไปฝักใฝ่ญวน พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เจ้าพระยาสุรสีห์ กรมขุนอินทร พิทักษ์ยกทัพไปตีเขมร ตีได้หลายหัวเมืองแล้ว พอจะตีเมืองหลวงก็พอดีเกิดจลาจลในกรุงธนบุรี จำเป็นต้องยกทัพกลับ

ส่วน ในตอนต้นรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ทรงโปรดรับรองนักองเองอย่างพระราชบุตรบุญธรรม เมื่อนักองเองลาสิกขาแล้วก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ไปปกครองเมืองเขมร ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี อีก 3 ปีต่อมา นักองเองทิวงคต จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยากลาโหมเป็นฟ้าทะละหะเป็นผู้สำเร็จราชการ พอฟ้าทะละหะถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักองจันทร์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาไปปกครองเมืองเขมรต่อไป

ประวัติ ศาสตร์ไทยที่เกี่ยวดองหนองยุ่งกับเขมรในรัชสมัยของ 2 รัชกาลของไทยมีเพียงเท่านี้ แต่เดี๋ยวนี้มีการบิดประวัติศาสตร์กันจนเปรอะเยอะแยะ เล่นเอามาบวกกับการเสียดินแดน 14 ครั้ง ตั้งแต่เสียเกาะหมาก ทวาย มะริด ตะนาวศรี บันทายมาศ เปรัค แสนหวี เมืองพง เชียงตุง สิบสองปันนา กัมพูชา สิบสองจุไท ฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ฝั่งขวาแม่น้ำโขง มณฑลบูรพา ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ตรังกานู และปราสาทเขาพระวิหาร

นิติ ภูมิเห็นความจำเป็นที่ต้องทยอยเอาประวัติศาสตร์เหล่านี้ มารับใช้กันในเปิดฟ้าส่องโลกเป็นระยะๆ สำหรับราตรีนี้ ขออนุญาตลาไปก่อนครับ.

"นิติภูมิ นวรัตน์"
ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ 10 มกราคม 2554

อย่าบิดประวัติศาสตร์เพื่อก่อสงคราม (2)

ตอนนี้มีความจำเป็นที่ต้องนำประวัติศาสตร์ของชาติบางตอนมาเผยแพร่ เพราะไม่เช่นนั้น พวกกลุ่มการเมืองก็จะบิดประวัติศาสตร์ตรงนั้นนิด ตรงโน้นหน่อย เพื่อใช้สร้างกระแสชาตินิยมให้กลุ่มตัวเองกลับมาป่วนบ้านเมืองได้อีก ซึ่งตอนนี้ เราก็สามารถหาอ่านประวัติศาสตร์ฉบับบิดเบือนได้ในสื่อออนไลน์ต่างๆ

กรณีที่ไทยเกี่ยวดองหนองยุ่งกับเขมร ในสมัยรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งในห้วงช่วงนั้น พระเจ้าเวียดนามยาลอง มีไมตรีกับไทยตามปกติ จัดส่งคณะทูตมาถวายบังคมพระบรมศพสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คนที่กระด้างกระเดื่อง กลับเป็นสมเด็จพระอุทัยราชา เจ้ากรุงเขมร ตอนผลัดแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยคาดว่าพม่าจะมารุกราน จึงมีพระราชสาส์นตราไปถึงสมเด็จพระอุทัยราชาให้เกณฑ์ทัพเขมรเข้ามาช่วย แต่ สมเด็จพระอุทัยราชาทำเฉย

ฝ่ายผู้บริหารกรุงเขมรรายอื่นยังนับถือ ไทยอยู่มาก ไม่ว่าพระมหาอุปราช พระยาจักรี พระยากลาโหม และพระยาสังคโลก จึงกะเกณฑ์ผู้คนจะขึ้นมาช่วยไทย สมเด็จพระอุทัยราชาจึงฆ่าพระยาจักรีและพระยากลาโหม ส่วนพระยาสังคโลกหนีมากรุงเทพฯ

สมเด็จพระอุทัยราชากลัวไทยจะไปปราบ จึงหันไปพึ่งญวน ญวนก็ส่งทหารมาช่วยเขมร แต่พอรู้ความจริงก็ยกทัพกลับ

ทางกรุงเทพฯ ส่งเจ้าพระยายมราชไปไกล่เกลี่ย แต่สมเด็จพระอุทัยราชาไม่ฟัง กลับหนีไปอยู่ไซ่ง่อน เจ้าพระยายมราชจึงเผาเมืองพนมเปญ กะพงหลวง และบัณทายเพชร และเชิญเสด็จพระมหาอุปโยราชมากรุงเทพฯ เมื่อสมเด็จพระอุทัยราชากลับมาครองเมืองพนมเปญอีก ก็คบคิดกะญวนบางพวกกะจะตีเมืองพระตะบองและเสียมราฐ แต่ไทยรู้ตัว จึงตีทัพญวนและเขมรแตกกลับไป

ส่วนประวัติศาสตร์ไทยในส่วนที่เกี่ยว ดองหนองยุ่งกับเขมรในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเคืองญวนที่อุดหนุนเจ้า อนุของลาว ซึ่งเป็นกบฏต่อไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพบก และเจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) เป็นแม่ทัพเรือ ยกทัพไปตีญวนที่ไซ่ง่อน ต่อสู้กันอยู่นานถึง 14 ปี ไม่มีใครแพ้ชนะกันเด็ดขาด ไทยกับญวนจึงตกลงเลิกรบกัน โดยแบ่งดินแดนเขมรปกครองคนละส่วน

ระหว่าง นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ไว้ใจข้าศึกญวน ซึ่งอาจยกมาโจมตีทางทะเล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างป้อมไพรีพินาศที่หัวแหลมปากน้ำจันทบุรี และป้อมพิฆาตปัจจามิตร ที่ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี เป็นด่านป้องกันญวน

ถึง สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เกิดกบฏในเขมร สมเด็จพระเจ้านโรดมหนีมาประทับในกรุงเทพฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทัพไทยไปช่วยปราบจนราบคาบ แล้วจึงเชิญสมเด็จพระเจ้านโรดมกลับไปปกครองเขมรต่อ

พ.ศ.2406 ฝรั่งเศสได้ญวนเป็นเมืองขึ้น แล้วก็มาบังคับให้สมเด็จพระเจ้านโรดมลงนามในสัญญายกเขมรส่วนนอกให้ฝรั่งเศส สมเด็จพระเจ้านโรดมต้องจำใจยอม

พ.ศ.2410 ฝรั่งเศสบังคับไทยให้ลงนามยอมรับรองว่าเขมรเป็นของฝรั่งเศส เราจึงเสียดินแดนเขมรส่วนนอกให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่เขมรส่วนในยังเป็นของไทยอยู่ คำว่าเขมรส่วนในก็คือ เมืองเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ

แม้ว่าไทยจะส่งคณะทูตไปเจริญไมตรีกับอังกฤษ และฝรั่งเศส ถึงขนาดเข้าเฝ้าฯสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งอังกฤษ และพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส แต่ก็ช่วยเรื่องเสียดินแดนไม่ได้

รัช สมัยแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช รัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2431 ไทยยกทัพไปปราบฮ่อที่เมืองหลวงพระบาง นาย ม.ปาวี กงสุลฝรั่งเศสประจำหลวงพระบาง อ้างว่าได้รับความเสียหาย ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพเรือมายึดดินแดนสิบสองจุไทไว้เป็นประเทศของฝรั่งเศส

พ.ศ.2436 นาย ม.ปาวีได้เลื่อนเป็นเอกอัครราชทูตประจำกรุงเทพฯ มาถึงก็อ้างว่า ญวนเป็นของฝรั่งเศสแล้ว ดังนั้น ดินแดนทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง รวมทั้งเกาะแก่งในลำน้ำโขงที่เคยเป็นของญวน จะต้องเป็นของฝรั่งเศสด้วย ไม่เพียงแต่ประกาศเฉยๆ ไอ้บ้านี่ยังให้ส่งเรือรบแองกองสตังค์และโกเมตเข้ามาขู่ด้วย เรือฝรั่งเศสแล่นมาปากน้ำเจ้าพระยา ก็เป็นธรรมดาที่เราจะต้องป้องกันตัว เมื่อปะทะกัน เรือนำล่องของฝรั่งเศสเสียหาย ไอ้ฝรั่งเศสจึงเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับให้ไทยยกดินแดนที่ผมพูดถึงข้างบนทั้งหมดให้ฝรั่งเศส แถมยังปรับเงินอีกสามล้านบาท เท่านั้นยังไม่พอ ยังเข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน

เดี๋ยวนี้มีพวกตัดต่อเอา ประวัติตรงโน้นนิด ตรงนี้หน่อย ตัดต่อเอาเฉพาะในส่วนที่ตนเองได้ประโยชน์ แต่ไม่เคยพูดถึงประวัติที่ไทยเกี่ยวดองหนองยุ่งกับเขมรทั้งหมด

แม้ว่าหน้ากระดาษจะมีน้อย แต่นิติภูมิก็จะพยายามเล่าเรื่องย่ออย่างไม่ให้ขาดตกบกพร่องมากที่สุด พรุ่งนี้มาว่ากันต่อครับ คืนนี้นิทราราตรีสวัสดิ์ครับ.

นิติภูมิ นวรัตน์
ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ 11 มกราคม 2554

จาก "ฮีโร่" กลายเป็น "ไอ้โง่"


ผู้ใหญ่ที่ผมเคารพ ท่านสงสัยย่อหน้าเปิดฟ้าส่องโลกฉบับวันจันทร์ "พ.ศ.2312 เจ้านายเขมรทะเลาะกัน นักองตนไปขอกองทัพญวนมาตีเขมร นักองนนท์สู้ไม่ได้ก็หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ณ กรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาอภัยรณฤทธิ์กับพระยา อนุชิตราชาไปตีเขมร ตีได้เมืองเสียมราฐ และพักรอฤดูฝน พอดีได้ข่าวว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว สิ้นพระชนม์ลง จึงได้ยกทัพกลับ การตีเขมรครั้งนั้นไม่สำเร็จ"

พ.ศ.2312 เป็นต้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสิ้นพระชนม์เป็นเพียง ข่าวลือ ข่าวนี้ทำให้พระยาอภัยรณฤทธิ์และพระยาอนุชิตราชายกทัพกลับกรุงธนบุรี สำหรับพระยาอภัยรณฤทธิ์ก็คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั่นเอง

เมื่อพระชนมายุ 22 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชดำรงตำแหน่งมหาดเล็กในรัชกาลเจ้าฟ้า อุทุมพร กรมขุนพินิต พระชนมายุ 25 พรรษา พระองค์ดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรประจำเมืองราชบุรีในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่ง สุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ)

กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ.2310 พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปรวบรวมพลผู้คนจากเมืองจันทบุรีให้มา ช่วยกันตีพม่า และนำประเทศไทยกลับคืนมามอบให้คนไทยได้เป็นที่เรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงกลับมาเข้ารับราชการในแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระชนมายุ 32 พรรษา พระองค์ดำรงตำแหน่งพระราชวรินทร์ 33 พรรษา ดำรงตำแหน่งพระยาอภัยรณฤทธิ์ 34 พรรษา ดำรงตำแหน่งพระยายมราช 35 พรรษา ดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาจักรี 41 พรรษา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเมื่อพระชนมายุ 46 พรรษา พระองค์เสด็จขึ้นยังพระราชมณเฑียรสถาน ทำการพระราชพิธีปราบดาภิเษก เสวยไอศวยยาธิปัตย์ถวัลราชย์ดำรงแผ่นดินสยาม เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราช ราชอาณาจักรไทยของเรายิ่งใหญ่มาก จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสเข้ามายึดเมืองจันทบุรี ซึ่งมีเนื้อที่ 6,338 ตร.กม. ก็ประมาณเกือบจะ 4 ล้านไร่ โดยสั่งให้รัฐบาลไทยเอาดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง + เงินค่าปรับ 3 ล้านบาทมาแลกเมืองจันทบุรีคืน

รัฐบาลไทยให้ดินแดนและสตางค์ไปครบแล้ว ฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมออกไป ไทยต้องให้ดินแดนตรงข้ามปากเซและดินแดนตรงข้ามหลวงพระบางไปทั้งหมดอีก ฝรั่งเศสก็จึงยอมออกจากเมืองจันทบุรี

แต่นิสัยหมาป่า ก็ออกไปไหนไม่ไกลหรอกดอกครับ ยกกำลังไปอยู่ที่เมืองตราด ซึ่งมีพรมแดนประชิดติดกับเมืองจันทบุรีนั่นแหละ

สำหรับ ผม ในโลกนี้ไม่มีใครเล่าเรื่องในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามากระทำย่ำยียึดเมืองตราด และจันทบุรีได้ดีเท่ากับนางชุน ชัชวาล คุณยายแท้ๆ ของนิติภูมิ ซึ่งสมัยนั้น คุณพ่อของท่านรับราชการอยู่อำเภอเมืองตราด นิติภูมิอินกับความเลวของพวกฝรั่งมังค่า เพราะตั้งแต่เด็กจนโต เพราะผมนอนฟังบรรพบุรุษเล่าเรื่องฝรั่งมังค่าเข้ามาปกครองเมืองตราดและเมือง จันทบุรีบ่อยมาก ฟังจนสามารถจำได้ทุกรายละเอียด

พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชทรงเลิกระบบเมืองเอก โท ตรี และจัตวา และแบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑล (มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบ) เมือง (ผู้ว่าราชการเมือง) อำเภอ (นายอำเภอ) ตำบล (กำนัน) หมู่บ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) มณฑลของไทยสมัยนั้นก็เช่น มณฑลบูรพา (เมืองพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ) มณฑลไทรบุรี (เมืองไทรบุรี ปะลิศ สตูล) มณฑลจันทบุรี (เมืองจันทบุรี ระยอง ขลุง ตราด) ฯลฯ

พระพุทธเจ้าหลวงทรงยกมณฑลบูรพา ซึ่งมีพื้นที่ 51,000 ตร.กม. ให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกเมืองตราดซึ่งมีพื้นที่ 2,819 ตร.กม.คืนมา พื้นที่ชายแดนที่มีปัญหาอยู่ในขณะนี้ก็เกิดจากการยกให้ในครั้งนี้นั่นแหละ ครับ โดยฝ่ายไทยได้นำธงไทยจากมณฑลบูรพากลับเข้ามาในเขตแดนไทยเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2449

สมัยฝรั่งเศสปกครองเมืองจันทบุรีและเมืองตราด คนไทยต้องเรียกข้าหลวงกำกับราชการชาวฝรั่งเศสว่าเรสิดังต์ ทหารของฝรั่งที่เมืองตราดมี 2 กองร้อย กองร้อยที่ 1 เป็นทหารเขมร กองร้อยที่ 2 เป็นทหารญวน ผู้บังคับบัญชาทหารเป็นชั้นสัญญาบัตรชาวฝรั่งเศส เจ้าพนักงานด่านภาษี นายแพทย์ พนักงานคลัง ฯลฯ อะไรพวกนี้เป็นคนฝรั่งเศส ส่วนเจ้าเมือง ปลัด และพวกที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร ค่านา สมพัตสร รัชชูปการ เปรียบเทียบคดีความของพลเมืองนั้นเป็นคนเขมร รักษาราษฎร หรือหัวหน้าตำรวจเป็นคนเขมร ฯลฯ

หลังจากที่ได้กลับมาอยู่ร่วมผืนแผ่น ดินไทยแล้ว ล่วงถึง พ.ศ.2459 จันทบุรีก็มีผู้ว่าราชการเมืองชื่อ หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน ประวัติศาสตร์ของไทย/เขมร ในห้วงช่วงระหว่างที่มีเรื่องวุ่นๆนี้ มีเรื่องราวลึกซึ้งพิสดารของแท้อีกเยอะ คนที่รู้ไม่จริงก็จะออกมาโพนทะนาสาธยาย ส่วนไอ้คนรู้ผู้มีหลักฐานอยู่ในมือต่างเก็บตัวเงียบ เพราะพูดไปหลายเรื่องเราเสียเปรียบ

ไอ้คนไม่รู้หลายคนก็พยายามทำตัวเป็น "ฮีโร่"

แต่บางท่านมองว่า ไอ้พวกบ้านี่เป็น "ไอ้โง่" มากกว่าครับ

นิติภูมิ นวรัตน์





ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ 12 มกราคม 2554

No comments:

Post a Comment