Thursday, January 6, 2011

ทาน = มหากุศลแห่งการให้

ทาน ถือเป็น มหากุศลแห่งการให้ จุดประสงค์สำคัญของการให้ เพื่อต้องการลดละความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว
ให้รู้จักเป็นผู้มีความเสียสละ รู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่น

ทาน (alms giving) แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่

1.อามิสทาน หรือ วัตถุทาน (Earthly/Materialized/Monetary alms giving) เป็นการให้ด้วยปัจจัย วัตถุสิ่งของ หรือ เงินทอง เป็นการให้ที่สามารถทำได้ค่อนข้างง่าย อามิสทานนั้นให้ผลอย่างสูงก็แค่กามาวจรสวรรค์ ตามนัยที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสไว้ว่า "ทานัง สังคคโส ปาณัง" คือว่า การให้ทานย่อมเป็นปัจจัยเป็นบันไดไปสู่สวรรค์

2.ธรรมทาน (Dhamma alms giving) เป็นการบอกธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ชี้เหตุผล ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อย่างนี้เป็น ธรรมทาน Spread the Dhamma teaching of Buddah is a great alms giving.

3.อภัยทาน (Forgiven alms giving) อภัยทานเป็นการชำระใจ(ของผู้ที่ให้อภัยผู้อื่น) แม้จะดูพูดง่าย แต่ก็ทำได้ยาก จึงเป็นทานสูงสุด Alms giving by forgive is the greatest alms giving. จึงจัดเป็นมหากุศลประการหนึ่ง

ใครเป็นผู้มีอภัยทานประจำใจ คนนั้นก็เป็นผู้เข้าถึงปรมัตถบารมีแล้ว คำว่า ปรมัตถบารมีนี้ เป็นบารมีสูงสุดเป็นบารมีที่จะทำให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน คำว่า อภัยทาน ก็ได้แก่ การให้อภัยซึ่งกันและกัน หามายความว่าคนใดก็ตาม เขาทำให้เราขุ่นเคือง ทำให้เราไม่ชอบใจ ด้วยกรณีใดๆก็ตาม ถ้าหากเราคิดพิจารณาเข่นฆ่าจองล้างจองผลาญ ถ้าเขาด่าเรา เราคิดว่าโอกาสสักวันหนึ่งข้างหน้าเราจะด่าตอบ เขาลงโทษเรา เราจะลงโทษเขาตอบ เขาตีเรา เราคิดว่าเราจะตีตอบ แต่โอกาส มันยังไม่มี คิดเข้าไว้ในใจว่า เราจะทำอันตรายตอบ อย่างนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่า เป็นอาฆาต คือ พยาบาท เป็นไฟเผาผลาญดวงจิต เพราะคนที่เรากำลังคิดจะฆ่าก็ดี คิดจะประทุษร้ายก็ดี นี่เขายังไม่ทันรู้ตัว เขามีความสุข เราคนที่คิดจะทำเขานั่นแหละ ตั้งแต่แรกหาความสุขไม่ได้ คบไฟแห่งความพยาบาทมันเข้าเผาผลาญ มีแต่ความร้อนรุ่มกลุ้มใจ คิดวางแผนการต่าง ๆ ว่า เราทำยังไงถึงจะแก้มือเขาได้ โดยคนอื่นเห็นว่าไม่มีความผิด อารมณ์ที่คิดอยู่อย่างนี้ ยังตัดสินใจไม่ได้ ยังทำไม่ได้ มันเป็นไฟเผาผลาญคนคิดนี่แหละ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะอำนาจโทสะเข้าสิงใจ นี่เอำนาจโทสะหรือพยาบาทมันเริ่มเผาผลาญตั้งแต่คิด แต่คนที่ถูกคิดประทุษร้ายนั้น เขายังมีความสุข ทีนี้ถ้าเราไปทำเขาเข้าอีก ไอ้โทษมันก็จะหนักขึ้น ทำเขาเข้าอีก เขายิ่งจะแก้มือใหญ่ ถ้าเขาไม่แก้มือ ทางกฏหมายก็จะยื่นมือมาช่วยเหลือ ความทุกข์ใหญ่ก็จะเกิดขึ้น

อภัยทานเป็นการชำระใจ(ของผู้ที่ให้อภัยผู้อื่น) แม้จะดูพูดง่าย แต่ก็ทำได้ยาก จึงจัดเป็นมหากุศลประการหนึ่ง
ภาษาอังกฤษ เขาพูดว่า Forgive and Forget

ธรรมเป็นทานก็ดี ให้อภัยทานก็ดี ถือเป็นปัจจัยแห่งพระนิพพาน

มหากุศลแห่งการให้: การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง

"อภัยทานัง อามิสทานัง ชินาติ" ซึ่งแปลว่า "การให้อภัยทาน ย่อมชนะเสียซึ่งการให้ทั้งปวง"

ที่มา: ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๑๐๖ หน้า ๗๕-๗๘

No comments:

Post a Comment