** นักการศึกษาชี้ “โอเน็ต “ตกต่ำเพราะ ปฏิรูปผิดพลาด 10 ปี คุณภาพการศึกษายิ่งสาหัสขึ้นทุกที จี้ “อภิสิทธิ์” รับเจ้าภาพ ดูแลเอง
วันที่ 7 เม.ย.52 จากผลการวิเคราะห์คะแนนสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือโอ เน็ต ระดับชั้น ป.6 , ม. 3 และ ม.6 ซึ่งพบว่า คะแนนเฉลี่ยตกหมดทุกวิชา แสดงถึงคุณภาพเด็กไทยที่ตกต่ำลงนั้น
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผย ว่า ข้อมูลของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) แสดงให้เห็นว่าเด็กไทยยิ่งอยู่ในระบบการศึกษานานเท่าไร ยิ่งคุณภาพลดต่ำลง และปัญหาคุณภาพการศึกษาก็ลามเข้ามาถึงระดับอุดมศึกษาแล้ว เพราะได้เด็กที่มีด้อยคุณภาพเข้ามาเรื่อยๆ ทั้งนี้คุณภาพการศึกษาที่ดิ่งเหวลงไปทุกขณะ กลับไม่มีเจ้าภาพหรือฝ่ายใดเข้ามาแสดงความรับผิดชอบ ทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจำ จึงยิ่งทำให้คุณภาพการศึกษาสาหัสขึ้นทุกที แต่หาผู้รับผิดชอบไม่ได้
รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่พบได้ชัดเจนจากการสอบโอเน็ต 4 ปีที่ผ่านมาคือข้อสอบโอเน็ตของ สทศ.เน้นการคิด วิเคราะห์ หาเหตุผล แต่กระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนยังเป็นแบบท่องจำ 80-90% เป็นเรื่องที่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง เป็นตลกทางการศึกษาที่ขำไม่ออก ดังนั้นโรงเรียนจะต้องเปลี่ยนวิธีการสอน และกระบวนการเรียนรู้ครั้งใหญ่ ส่วนฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.ศึกษาธิการ ควรให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษา เพราะไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ โดยวางเป้าหมายไว้ว่า 2 ปีจากนี้ จะยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างไร เช่นร่วมมือกับกระทรวงอื่นๆ ในการผลิตซอฟแวร์และกระจายองค์ความรู้ในวิชาหลักทั้ง 5 ไปให้ถึงตัวเด็ก ผ่านสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล ทั้ง ช่อง 11 และ ทีวีไทย
“10 ปีของการปฏิรูปการศึกษา ได้ผลิดอกออกผลออกมาแล้วว่า คุณภาพของเด็กไทยลดต่ำลงเรื่อยๆ เป็นการล้มเหลวด้านคุณภาพการศึกษาอย่างสิ้นเชิง ขณะเดียวกันครูและบุคลากรทางการศึกษาก็ก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน เข้าสู่เงินเดือนและวิทยฐานะใหม่ ได้ดิบได้ดีกันถ้วนหน้า ซึ่งเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ผิดพลาดมหาศาล เป็นผลร้ายของการปฏิรูปการศึกษาในรอบที่ผ่านมา ผมอยากเสนอว่า งานการศึกษาอยู่เหนือบ่ากว่าแรงของนายจุรินทร์ และ รมช.ศึกษาธิการ 2 คนแล้ว ควรให้นายอภิสิทิธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี ลงมาดูแล้วเองได้แล้ว”รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
ที่มา: สยามรัฐออนไลน์ 7 เมษายน 2552
================วันที่ 7 เม.ย.52 จากผลการวิเคราะห์คะแนนสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือโอ เน็ต ระดับชั้น ป.6 , ม. 3 และ ม.6 ซึ่งพบว่า คะแนนเฉลี่ยตกหมดทุกวิชา แสดงถึงคุณภาพเด็กไทยที่ตกต่ำลงนั้น
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผย ว่า ข้อมูลของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) แสดงให้เห็นว่าเด็กไทยยิ่งอยู่ในระบบการศึกษานานเท่าไร ยิ่งคุณภาพลดต่ำลง และปัญหาคุณภาพการศึกษาก็ลามเข้ามาถึงระดับอุดมศึกษาแล้ว เพราะได้เด็กที่มีด้อยคุณภาพเข้ามาเรื่อยๆ ทั้งนี้คุณภาพการศึกษาที่ดิ่งเหวลงไปทุกขณะ กลับไม่มีเจ้าภาพหรือฝ่ายใดเข้ามาแสดงความรับผิดชอบ ทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจำ จึงยิ่งทำให้คุณภาพการศึกษาสาหัสขึ้นทุกที แต่หาผู้รับผิดชอบไม่ได้
รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่พบได้ชัดเจนจากการสอบโอเน็ต 4 ปีที่ผ่านมาคือข้อสอบโอเน็ตของ สทศ.เน้นการคิด วิเคราะห์ หาเหตุผล แต่กระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนยังเป็นแบบท่องจำ 80-90% เป็นเรื่องที่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง เป็นตลกทางการศึกษาที่ขำไม่ออก ดังนั้นโรงเรียนจะต้องเปลี่ยนวิธีการสอน และกระบวนการเรียนรู้ครั้งใหญ่ ส่วนฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.ศึกษาธิการ ควรให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษา เพราะไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ โดยวางเป้าหมายไว้ว่า 2 ปีจากนี้ จะยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างไร เช่นร่วมมือกับกระทรวงอื่นๆ ในการผลิตซอฟแวร์และกระจายองค์ความรู้ในวิชาหลักทั้ง 5 ไปให้ถึงตัวเด็ก ผ่านสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล ทั้ง ช่อง 11 และ ทีวีไทย
“10 ปีของการปฏิรูปการศึกษา ได้ผลิดอกออกผลออกมาแล้วว่า คุณภาพของเด็กไทยลดต่ำลงเรื่อยๆ เป็นการล้มเหลวด้านคุณภาพการศึกษาอย่างสิ้นเชิง ขณะเดียวกันครูและบุคลากรทางการศึกษาก็ก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน เข้าสู่เงินเดือนและวิทยฐานะใหม่ ได้ดิบได้ดีกันถ้วนหน้า ซึ่งเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ผิดพลาดมหาศาล เป็นผลร้ายของการปฏิรูปการศึกษาในรอบที่ผ่านมา ผมอยากเสนอว่า งานการศึกษาอยู่เหนือบ่ากว่าแรงของนายจุรินทร์ และ รมช.ศึกษาธิการ 2 คนแล้ว ควรให้นายอภิสิทิธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี ลงมาดูแล้วเองได้แล้ว”รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
ที่มา: สยามรัฐออนไลน์ 7 เมษายน 2552
วิธีการประเมินวิทยฐานะของคุณครู อาจารย์ทั้งหลายก็ผิดพลาด เพราะไม่ได้เน้นการนำผลการสอนมาพิจารณา แต่เน้นการทำวิจัยที่ไม่เหมาะสม ทำให้มีการจ้างการทำผลงานต่าง ๆ มัวแต่นั่งติดตามผลงานของตัวเอง จนลืมเด็กนักเรียนตาดำ ๆ แล้วเด็กจะมีความรู้ไปได้ยังไง ..เฮ้อ เหนื่อยใจจิง ๆ
No comments:
Post a Comment