จีนกำลังก้าวสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจโลกใหญ่อันดับ สองภายในปี 2010 นี้อย่างแน่นอน ดัชนีชี้ความแข็ง แกร่งทางเศรษฐกิจของจีนที่สำคัญ คือ เงินหยวน ที่มีเสถียรภาพมากในขณะนี้ และมีการคาดกันว่าอีกไม่ถึง 5 ปี ค่าเงินหยวนจะขยับเป็นเงินสกุลหลัก (Hard Currency) อย่างแน่นอน ดังนั้นจึง ขอเสนอบทความที่เขียนโดย อาจารย์ ดร.ธิดารัตน์ โชคสุชาติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และ อาจารย์ทรรศ จันทร์ ปิยะตันติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นข้อมูลตอกย้ำความสำคัญของเงินหยวนในตลาดโลก ในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนี้
ที่ผ่านมาการเลือกสกุลเงินที่ใช้ทำการค้าระหว่าง ประเทศนั้นต้องเป็นสกุลเงินของประเทศที่เศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งและมี เสถียรภาพ ในศตวรรษที่ 18 - 19 เงินปอนด์ของอังกฤษเป็นเงินสกุลหลักที่ใช้ในการค้าขายโดยมีเงินสกุลฟรังก์ ฝรั่งเศส และเงินมาร์กของเยอรมนีเข้ามามีบทบาทบ้าง ดังนั้นในสมัยนั้นเงินทุนสำรองของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ก็เป็นเงินปอนด์ จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาในฐานะผู้ชนะ สงครามและบอบช้ำจากสงครามน้อยที่สุดได้กลายเป็นผู้ให้กู้และผู้ให้เงินช่วย เหลือรายใหญ่ในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ การค้าขายหรือให้กู้ยืมเงินระหว่างประเทศจึงกระทำกันในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์สหรัฐก็มีบทบาทเพิ่มขึ้นในเวทีโลกนับตั้งแต่นั้นเรื่อยมา (www.news.quickze.com) จน กระทั่งปี 2009 สหรัฐอเมริกาประสบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากวิกฤติการณ์ทางการเงิน เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจึงมีความอ่อนแอลง ในขณะที่ประเทศจีนแม้จะได้รับผลกระทบอยู่บ้างจากวิกฤติการณ์ดังกล่าว แต่ก็ยังสามารถพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองอย่างต่อเนื่องได้และยังมีเงินทุนสำรอง ระหว่างประเทศเป็นจำนวนมหาศาลจนกลายเป็นความหวังใหม่ของประชาคมโลก
นอกจากนี้จากการประมาณการของ Fogel (2009) พบว่า ในปี 2040 ประเทศจีนจะมีขนาด เศรษฐกิจ หรือ GDP ที่ มากกว่าสหรัฐอเมริกา โดยเมื่อรวมกับอินเดียแล้ว การเจริญ เติบโตของสองประเทศจะคิดเป็นร้อยละ 51 ซึ่งมากกว่าการเจริญเติบ โตของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นรวมกันที่มีเพียง ร้อยละ 21 (ภาพที่ 1)
ภาพที่ 1 การเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ต่างๆ ในโลก ปี 2000 เปรียบเทียบกับปี 2040
ในขณะเดียวกันนักวิจัยฝ่ายการเงินและการค้าของ สถาบันสังคมแห่งประเทศจีนได้แสดงความคิดเห็นในงานสัมมนาการดำเนินนโยบายด้าน เศรษฐกิจมหภาคของจีนครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2552 ไว้ ว่า อีก 20 ปีในอนาคต GDP ของ ประเทศจีนจะครองสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 20 ใน GDP ทั้งหมดของโลก และปริมาณการหมุนเวียนของเงินหยวนก็จะครองสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 20 ในการหมุนเวียนของเงินทั้งหมดในโลก เมื่อถึงเวลานั้น คาดว่าตลาดการเงินของโลกจะมีเงินสกุลยูโร ดอลลาร์สหรัฐ และเงินหยวน เป็นเงินสกุลหลัก 3 สกุล อาจกล่าวได้ว่าเป็นการตอกย้ำความมีอิทธิพลของเงินหยวนในอนาคต และไม่น่าแปลกใจที่ประเทศจีนจะแสดงความพร้อมในการนำสกุลเงินหยวนขึ้นเป็น สกุลเงินหลักคู่กับเงินดอลลาร์ และหากประสบความสำเร็จเงินหยวนก็อาจกลายเป็นเงินสกุลหลักสกุลใหม่ของโลกไป จริงๆ ที่ผ่านมาจีนได้พยายามรักษาเสถียรภาพค่าเงินหยวนอย่างเต็มที่แม้จะถูกแรงกด ดันจากประเทศตะวันตกให้ปรับเพิ่มค่าเงินหยวนมาตลอดเวลาเกือบทศวรรษที่ผ่านมา ความสามารถในการรักษาค่าเงินหยวนให้มีเสถียรภาพอย่างมั่นคงตลอดมาถือเป็นการ เร่งผลักดันให้เงินหยวนมีอิทธิพลในตลาดโลกมากขึ้นบ้างแล้ว สรุปได้ดังนี้
1. ในปัจจุบันเงินหยวนมีการไหลออกสู่ต่าง ประเทศในปริมาณมากขึ้น เนื่องจากเมื่อเศรษฐกิจจีนเริ่มมีอิทธิพล เงินหยวนก็เริ่มเป็นที่ต้องการส่งผลให้หลายประเทศเริ่มมีการถือครองเงินหยวน เพิ่มมากขึ้น เช่น เวียดนาม รัสเซีย เกาหลีเหนือ พม่า ลาว ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย อาเจนตินาร์ เกาหลีใต้ เป็นต้น โดยเฉพาะในฮ่องกงนั้นมีเงินหยวนไหลเวียนอยู่มากถึง 70,000 ล้านหยวน (ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน กรุงปักกิ่ง, 13 พฤศจิกายน 2552)
2. จีนได้ทำข้อตกลงสว็อปเงินกับหลายประเทศ อาทิเช่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง มาเลเซีย รัสเซีย อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา รวมมูลค่าการสว็อปเงิน 650,000 ล้านหยวน (www.nidambe11.net/ekono miz/2009)
3. เมื่อเดือนเมษายน 2552 จีนได้ประกาศให้ เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เซินเจิ้น จูไห่ และตงก่วน เป็นเมืองทดลองที่สามารถติดต่อการค้ากับฮ่องกงและมาเก๊า โดยใช้เงินหยวนจีน นอกจากนี้ยังเตรียมแผนทดลองใช้เงินหยวนในการทำการค้าระหว่างประเทศระหว่าง มณฑลยูนนาน เขตปกครองตนเองกวางสี และกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งนี้รัฐบาลจีนประเมินว่า แผนทดลองใช้เงินหยวนในการทำการค้าระหว่างประเทศดังกล่าวจะช่วยเพิ่ม เสถียรภาพด้านการค้าระหว่างประเทศของจีน ลดความเสี่ยงจากการผันผวนของสกุลเงินระหว่างประเทศให้กับผู้ส่งออก และเสริมสถานะของเงินหยวนในระบบการเงินโลก ปัจจุบันธนาคารประชาชนแห่งชาติจีน สาขาเซี่ยงไฮ้กำลังเตรียมทดสอบระบบการใช้เงินหยวนในการทำการค้าระหว่าง ประเทศ ซึ่งจะครอบคลุมเพียงด้านการซื้อขายสินค้า เช่น เหล็ก ปิโตรเคมี และอุปกรณ์การผลิต
4. เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีปัญหา หลายประเทศจึงหันมาใช้เงินหยวนเป็นสกุลเงินในการติดต่อการค้ามากขึ้น
5. รัฐบาลจีนกำลังมีโครงการที่จะให้ความ ช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศอื่นๆ โดยใช้เงินสกุลหยวน เพื่อผลักดันให้เงินหยวนมีการใช้กันอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ความพร้อมและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของจีนเพียงประการเดียวก็ไม่อาจสนับ สนุนให้เงินหยวนเป็นเงินสกุลหลักของโลกหรือแม้แต่ของอาเซียนได้ ทั้งนี้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะเป็นผู้พิจารณาถึงความเหมาะสมและประโยชน์ สูงสุดที่ประเทศจะได้รับจากการมีเงินทุนสำรองเป็นสกุลเงินหยวน โดยอาจพิจารณาถึงนโยบายของประเทศจีนเป็นสำคัญ ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ไม่ควรจะมองข้ามก็คือ แม้ประเทศจีนจะมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจมากขึ้น แต่ความเชื่อถือของประเทศต่างๆ ที่มีต่อสกุลเงินดอลลาร์ยังคงปรากฏอยู่ รวมทั้งสหรัฐอเมริกาก็กำลังมีความพยายามอย่างเต็มที่ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจภาย ในประเทศของตนเอง และยังไม่ได้ลดบทบาทในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินหยวนกำลังเพิ่มศักยภาพของตนเองมากขึ้นไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาของประเทศจีน ประเทศต่างๆในโลกยอมรับการทำการค้าของจีนที่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน หากเงินหยวนสามารถเข้ามามีบทบาทเป็นเงินสกุลหลักใช้ควบคู่กับเงินดอลลาร์ หรือใช้แทนที่เงินดอลลาร์ได้จริง การเตรียมความพร้อมในภาคธุรกิจในการนำเงินหยวนมาใช้ในการค้าขายถือว่ามีความ จำเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน
ที่มา: พิษณุ เหรียญมหาสาร สยามรัฐออนไลน์ 27/4/2553
No comments:
Post a Comment