Friday, April 30, 2010

ลดความตาย ทำไมคนเป็นจึงเดือดร้อนกว่าคนตาย (โลกสดใส-กายสุขสันต์)

เคยอยากถามคนในสังคมไทย มานานแล้วว่า "ทำไม คนที่ตายเพราะอุบัติเหตุทางรถยนต์จึงไม่ค่อยห่วงตัวเองเหมือนคนเป็น ที่พยายามอย่างเหลือเกิน ที่จะไม่มีสถิติคนตายเพราะการใช้รถเพิ่มขึ้น"

ที่ อยากรู้เพราะ เห็น แต่ข่าว คนเป็น ทั้งองค์กรณ์ของรัฐ องค์กรของเอกชน พยายามจะสร้างกฎ สร้างระเบียบ สร้างโครงการต่างๆ ขึ้นมาเพื่อหาทางลดอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนน เริ่มตั้งแต่ ให้รู้จักกฎจราจร ให้รู้จักการใช้รถอย่างปลอดภัย ให้รู้จัก วิธีเอาตัวรอดเมื่อต้องเจอกับอุบัติเหตุ แม้กระทั่ง พยายามห้าม ไม่ให้ ผู้ใช้รถใช้ถนน ดื่มเครื่องดองของเมา ที่จะทำให้ ศักยภาพในการขับรถถดถอยลงไป

แต่แม้ "คนเป็น"เหล่านี้จะใช้ความพยายามทุกอย่าง สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ก็ไม่มีผลลัพธ์ออกมาเป็นที่พอใจ

นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) เปิดเผยให้ทราบเกี่ยวกับการเสียชีวิตของผู้ใช้รถใช้ถนน ในปี 2553 นี้ว่า การเสียชีวิตของผู้ขับขี่และโดยสารรถปิกอัพ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากปี 2552 อยู่ที่ 13.39% เป็น 17.78% หรือ 1 ใน 5 ของผู้เสียชีวิต และยังพบว่า รถปิคอัพเป็นคู่กรณีที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่ 27.46% เป็น 30.37% และในช่วงการเดินทางไป กลับ วันที่ 12 เม.ย. รถปิคอัพเป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 42.65% และวันที่ 17 เม.ย. รถปิคอัพเป็นต้นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 48.94% ทั้งนี้ การเข้มงวดผู้กระทำผิดแม้ว่าจะมียอดการเรียกตรวจลดลง แต่สามารถบังคับคดีได้ถึง 501,593 ราย หรือเพิ่มขึ้น 23% โดยเฉพาะกรณีขับขี่รถเร็ว จับกุมได้เพิ่มขึ้นถึง 47% ส่วนคดีอื่นที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ สามารถจับกุมกรณีขับรถย้อนศร 19,410 ราย ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร 14,536 ราย ใช้โทรศัพท์ระหว่างขับรถ 8,624 ราย และ แซงในที่คับขัน 8,603 ราย ซึ่งหากหยุดพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยระงับให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่ง จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าภาพรวมของการเกิดอุบัติเหตุลดลงเพียงเล็ก น้อย

โดย นายแพทย์ ธนะพงศ์ กล่าวให้ความเห็น ว่า มาตรการที่ดำเนินการอยู่อาจไม่เพียงพอ ดังนั้นการวางนโยบายการป้องกันอุบัติเหตุจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้กฎหมายให้เข้มงวด ประเมินผลและปรับเปลี่ยนทรัพยากร รวมทั้งแนวทางการทำงาน รวมทั้งศึกษามาตรการที่ปลอดภัยในการโดยสารรถประเภทต่างๆ และทบทวนมาตรการควบคุมการเมาแล้วขับ โดยเฉพาะในเยาวชน เพราะเห็นได้ชัดว่าเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตด้วย

จาก ข้อมูลดังกล่าว แสดงให้รู้ว่า ในสังคมไทยทุกวันนี้ ยังมี "คนเป็นๆ" ที่เป็นห่วงความเป็น ความตายของ ผู้ขับขี่รถยนต์อย่างเต็มที่ แต่ คนซึ่ง "ตายไปแล้ว"เหล่านั้น จะเข้าใจบ้างไหมว่า ทำไม คนตาย(ที่ยังอยู่) จึง ยังคงห่วง คนตาย(ที่ตายไปแล้ว)

หากจะ ให้ คนเป็น ตอบ คงบอกได้ว่า เพราะ คนเป็นวันนี้ ไม่อยาก ให้ คนเป็น ต้องกลายเป็น คนตายในวันข้างหน้า นั่นเอง

ส่วน ใครจะเชื่อมากน้อยแค่ไหน คงต้องขึ้นอยู่กับ ใจของคนแต่ละคน ว่า ตัวเองจะ ตั้งเป้ามหมายในชีวิต ว่าจะ มีสถานภาพในประเภทใด ...จะเป็น คนเป็น(ที่ห่วงคนตาย)ต่อไป หรือ จะ เป็น คนตาย (ที่ไม่ใส่ใจกับคนเป็นต่อไป)

หากคิดได้ว่า การ อยู่ ในสถานภาพ "คนเป็น" ดีกว่า อยู่ในสถานภาพ "คนตาย" ก็ขอให้ เชื่อในคำแนะนำของ คนเป็น กันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่างๆที่มี วันหยุดยาวนาน เพราะ ในช่วงเทศกาลดังกล่าว คนส่วนใหญ่มักจะออกนอกบ้านเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆมากขึ้น จึงทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นตามไปด้วย

นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) กล่าวถึงการวิเคราะห์สถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ว่าอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลคงที่มาเป็นเวลา 4 ปี อยู่ระหว่าง 361-373 ราย หรือ 52 รายต่อวัน เมื่อพิจารณาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ พบว่า ข้อมูลผู้เสียชีวิต ทั้งผู้ขับและโดยสารที่ ทราบประวัติการดื่มสุรา จากศูนย์นเรนทร สาเหตุหลักยังเป็นเมาสุรา 39.36 % สัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 58.6% สูงกว่าสัดส่วนในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยผู้เสียชีวิตช่วงเทศกาลเกินครึ่งหรือ 59.3% เป็นผู้ขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ในจำนวนนี้ 91% ไม่สวมหมวกกันน็อค และยังพบว่าวันที่ 14 เม.ย. ผู้เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ทั้งหมด 100% ไม่สวมหมวกกันน็อค

จาก ข้อมูลอันหลังนี้ เห็นได้ชัดเจนถึงอันตรายจากการขับขี่จักรยานยนต์ ในรูปลักษณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก และ ทำให้เห็นเพิ่มเติมอีกว่า อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตจากการขับขี่รถจักรยานยนต์นั้น ง่ายกว่า การขับขี่รถประเภทอื่นๆ เลยทำให้ คิดว่า จะมีใคร นึกถึง ต้นเหตุแห่งการเกิดความตายที่เป็นต้นตอกันบ้างไหม

ทุก วันนี้ การหาซื้อ จักรยานต์เพื่อมาใช้ขับขี่ มันง่ายยิ่งกว่า การซื้อวัว ซื้อควายซะอีก คน โดยเฉพาะพวกวัยรุ่นจึงมีโอกาสง่ายที่จะเป็นเจ้าของจักรยานยนต์

และ เมื่อ โอกาสการเป็นเจ้าของ ของพวกวัยรุ่นต่อการมีจักรยานยนต์ได้ง่ายขึ้น ปริมาณวัยรุ่น วัยคะนองที่ใช้จักรยานยนต์ก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น

เมื่อ เป็นอย่างนี้ โอกาสที่จะให้สถิติการตายเพราะจักรยานยนต์ของพวกวัยรุ่นลดลงคงจะเป็นไปได้ ยาก

"99บาท ออกรถได้เลย" "ปานมณี"แก่จนปานนี้แล้ว เห็นป้ายเชื้อเชิญแบบนั้น ยังอยากจะเดินเข้าไปออกรถจักรยานยนต์มาขี่สักคันเลย

ปานมณี

ที่มา: นสพ.แนวหน้าออนไลน์ 28/4/2010

No comments:

Post a Comment