Thursday, July 23, 2009

ลาก่อนระบบซี ใครว่าไม่สำคัญ Goodbye to the C-classified of the Thai Government Bureaucratic Positions/Salary

การใช้บุคคลเป็นประกัน (เทียบซี กับยศ ตำรวจ ทหาร)
คำสั่งกรมตำรวจ ที่ 622/2536 ลงวันที่ 15 เมษายน 2536

เรื่อง การใช้บุคคลเป็นประกัน หรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราว
กระทรวง มหาดไทยและกรมตำรวจ มีนโยบายอำนวยความสะดวก ในการให้บริการแก่ประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการใช้บุคคลเป็นประกันหรือ หลักประกันในการปล่อยชั่วคราวตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 110 และมาตรา 114 วรรคสอง


ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง วงเงินประกันไม่เกินหกหมื่นบาท
- ข้าราชการพลเรือนระดับ 3 ถึง 5 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
- ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ ตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี
หรือร้อยตำรวจตรีถึงพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรีหรือพันตำรวจตรี
- ข้าราชการบำนาญตั้งแต่ระดับ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว กับข้าราชการประจำ
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภาจังหวัด
- สมาชิกสภาเทศบาล
- สมาชิกสภาเมืองพัทยา
- สมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
- กรรมการสุขาภิบาล
- กำนัน


ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง วงเงินประกันได้ในวงเงินไม่เกินสองแสนบาท
- ผู้ใหญ่บ้าน
- ข้าราชการพลเรือนระดับ 6 ถึง 8 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
- ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ ตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท
หรือพันตำรวจโทถึงพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกหรือพันตำรวจเอก
- ข้าราชการตุลาการหรืออัยการตั้งแต่ ชั้น 1 ถึง 2
- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว กับข้าราชการประจำ


ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินสองแสนบาท
- ผู้ใหญ่บ้าน
- ข้าราชการพลเรือนระดับ 9 ถึง 10 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
- ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ ตั้งแต่พันเอก นาวาเอก
นาวาอากาศเอกหรือ พันตำรวจเอกที่ได้รับ อัตราเงินเดือนพันเอก(พิเศษ)
นาวาเอก(พิเศษ) นาวาอากาศเอก- (พิเศษ)หรือพันตำรวจเอก(พิเศษ)
- ข้าราชการตุลาการหรืออัยการตั้งแต่ ชั้น 1 ถึง 2
- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว กับข้าราชการประจำ

บุคคล วงเงินประกันทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง
ได้ในวงเงินไม่เกินสองแสนบาท
- ข้าราชการพลเรือนระดับ 11 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
- ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ ตั้งแต่พลโท พลเรือโท พลอากาศโท
หรือพลตำรวจโท
- ข้าราชการตุลาการหรืออัยการตั้งแต่ ชั้น 5 ขึ้นไป
- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว กับข้าราชการประจำ
- สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร


- ให้ผู้ที่ขอทำสัญญาประกันแสดงบัตรประจำตัวต่อพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบ พิจารณาอนุญาตโดยไม่ชักช้า
- ในกรณีจำเป็นเพื่อทราบเกี่ยวกับสถานะ ระดับ อัตราเงินเดือนหรือ ภาระผูกพัน อื่นใด อาจให้ผู้ยื่นประกันแสดงหนังสือ
รับรองจาก ต้นสังกัดและภาระผูกพันนั้น ภายในห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้ รับอนุญาตให้ประกัน
- กรณีบุคคลใดได้ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองไว้ แต่หลัก ประกันยังไม่เป็นการ เพียงพอ ให้ใช้บุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติ
ตาม ที่กำหนดไว้หรือใช้หลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันเพิ่มเติมได้

======================================
ลองเปรียบเทียบตำแหน่ง ข้าราชการทหารกับข้าราชการพลเรือน

1. สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี ถึง สิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก และพลทหารประจำการ(พลอาสาสมัคร) ระดับ 1

2. จ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี ถึง จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก ระดับ 2

3 จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก อัตราเงินเดือน จ่าสิบเอกพิเศษ พันจ่าเอกพิเศษ พันจ่าอากาศเอกพิเศษ ถึง ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี ระดับ 3

4. ร้อยโท เรือโท เรืออากาศโท ระดับ 4

5. ร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก ระดับ 5

6. พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี ระดับ 6 = ผู้ช่วยศาสตาจารย์

7. พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ระดับ 7 = ผู้ช่วยศาสตาจารย์, รองศาสตราจารย์

8. พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ระดับ 8 = ผู้ช่วยศาสตาจารย์, รองศาสตราจารย์

9. พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือน พันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ระดับ 9 = ระดับรองอธิบดี = รองศาสตราจารย์, , ศาสตราจารย์

10. พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ระดับ 10 = ระดับอธิบดี, ศาสตราจารย์

11. พลโท พลเรือโท พลอากาศโท ถึง พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ระดับ 11
(รับเงินเดือนอันดับ ท.11) = ปลัดกระทรวง (ข้าราชการที่มีตำแน่งสูงสูด) = ศาสตราจารย์พิเศษซี 11

12. จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ หรือ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ที่ครองอัตราจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ ระดับ 11 (รับเงินเดือนอันดับ บ.11)

No comments:

Post a Comment