ดิฉันจดทะเบียนสมรสกับสามีซึ่งเป็นพ่อม่าย ต่อมาเรามีปัญหากัน แต่ดิฉันไม่ยอมหย่าตามที่สามีต้องการ เราจึงแยกกันอยู่ หลังจากนั้นมีหมายศาลมาที่บ้านซึ่งดิฉันอ่านแล้ว เป็นเรื่องภริยาเก่าฟ้องสามีว่าหลอกให้เธอจดทะเบียนหย่า ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนหย่า เมื่อดิฉันไปขอดูที่ศาลแต่ปรากฏว่าคดีตัดสินแล้วเป็นคำพิพากษาตามสัญญาประนี ประนอมระหว่างโจทก์จำเลยยินยอมเพิกถอนการหย่า ดิฉันจึงสงสัยว่าถ้ามีการเพิกถอนการจดทะเบียนหย่ากันได้ จะเป็นธรรมกับคนที่จดทะเบียนสมรสภายหลังได้อย่างไร
==ตอบ==
ตัวอย่างคดีศึกษาคดีหนึ่งที่ภริยาฟ้องสามีขอแบ่งสินสมรสที่เป็นเงินรางวัล จากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล รางวัลที่ 1 ได้เงินรางวัล 12 ล้านบาท เทคนิคการต่อสู้คดีนี้มีหลายอย่างนับว่าน่าสนใจมาก มีการขออายัดเงินรางวัลส่วนที่ติดตามกลับมาได้ซึ่งเหลือไม่กี่ล้านบาทเพื่อ มิให้มีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์ โดยศาลชั้นต้นตัดสินยกฟ้องภริยาผู้เป็นโจทก์ที่ขอแบ่งเงินรางวัล 6 ล้านบาท แต่ศาลยกฟ้องคือไม่ให้แบ่งสินสมรสเพราะภริยาไม่ได้ฟ้องหย่ามาด้วย เมื่อไม่ได้ฟ้องหย่า การสมรสจึงไม่สิ้นสุด ไม่อาจฟ้องขอแบ่งสินสมรสได้ อย่างไรก็ตาม ผลของคดีชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ตัดสิน ให้ภริยาจัดการสินสมรสได้ครึ่งหนึ่ง เนื่องจากมีพฤติการณ์และข้อเท็จจริงว่าการจัดการสินสมรสของสามีอาจทำให้เกิด ความเสียหาย
ประเด็นที่ดิฉันจะยกตัวอย่างเพราะคดีนั้น มีการต่อสู้เพื่อมิให้ภริยาคนที่สองมีส่วนแบ่งในเงินรางวัล โดยมีข้อเท็จจริงปรากฏขึ้นสู่ศาลว่า สามีมีภริยาคนแรกแต่ได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว ภริยาเก่าจึงมาฟ้องศาลขอให้เพิกถอนการหย่าโดยอ้างว่าเธอถูกหลอกให้จดทะเบียน หย่า แต่คดีนั้นมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลระหว่างภริยาคนแรกผู้ เป็นโจทก์กับสามีซึ่งตกเป็นจำเลยว่าตกลงยกเลิกการหย่า และนำคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความเพิกถอนการจดทะเบียนหย่าของสามี กับภริยาคนแรก มาแสดงในคดีที่พิพาทกันเรื่องเงินรางวัลคดีนี้ปรากฏผลในคำพิพากษาฎีกาที่ 1053/2537 ซึ่ง ศาลฎีกาตัดสินว่า จำเลยกับภริยาเก่าจดทะเบียน หย่าด้วยความสมัครใจตั้งแต่ปี 2528
ต่อมาในปี 2531 จำเลยมาจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยแสดงทะเบียนหย่าภริยาเก่าให้นายทะเบียนดู นายทะเบียนสอบถามความยินยอมของโจทก์จำเลยทั้งสองฝ่ายแล้วจึงทำการจดทะเบียน สมรสให้ แม้ในปี 2532 ภริยาเก่ามาฟ้องเพิกถอนการหย่าและทำ สัญญาประนีประนอมยอมความให้เพิกถอนการจดทะเบียนหย่าซึ่งศาลพิพากษาให้เพิก ถอนการหย่าก็ตาม ก็เป็นการกระทำภายหลังที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ไม่มีผลทำให้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 1452 นั่นคือคดีที่ตกลงยอมความกันเอง ไม่ได้มีการสืบพยานต่อสู้คดีกันเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาตามพยานหลักฐาน
ผลของคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่มีผลผูกพันถึงบุคคลภายนอกซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความในคดีด้วย ดังนั้นถ้าการจดทะเบียนสมรสครั้งที่สองต้องสุจริต คือจดทะเบียนสมรสในขณะที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่าได้จดทะเบียน หย่ากับคู่สมรสเดิมแล้ว ส่วนเขากับคู่สมรสเดิมจะจดทะเบียนหย่ากันเพราะเหตุผลใด มีผลเป็นการหย่าหรือไม่ก็ต้องไปว่ากล่าวกันเอาเอง ยังไม่มีผลทำให้การสมรสครั้งที่สองตกเป็นโมฆะแต่อย่างใด
ที่มา: ยอมความเพิกถอนทะเบียนหย่า คลินิกกฎหมาย เดลินิวส์ออนไลน์ วันอังคาร ที่ 03 สิงหาคม 2553
No comments:
Post a Comment