Monday, August 30, 2010

กฤษฎีกาสับเละ ต้นเหตุค่าโง่ ขรก.รวมหัวโกง

กฤษฎีกา ยืนกรานค้าน ยธ. (โยธา) แก้กฎหมายห้ามใช้อนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาทสัญญารัฐ-เอกชน สับแหลกรัฐแพ้คดีสัมปทาน เพราะเจ้าหน้าที่ (ยธ.) รับอ่อนหัด ไม่รู้กฎหมาย ฉ้อฉลรวมหัวทุจริต ทำให้แพ้ (เลวสุด ๆ อยู่นี่เอง)
...
กฤษฎีกา ยืนกรานค้าน ยธ. แก้กฎหมายห้ามใช้อนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาทสัญญารัฐ-เอกชน สับแหลกรัฐแพ้คดีสัมปทาน เพราะเจ้าหน้าที่รับอ่อนหัด ไม่รู้กฎหมาย ฉ้อฉลรวมหัวทุจริต ทำให้แพ้คดีตั้งแต่ขั้นร่างสัญญา -บริหารสัญญา...

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 31 ส.ค. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ขอความเห็นชอบความเห็นและข้อเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เสนอผลการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอให้แก้ไขห้ามไม่ให้หน่วยงานของรัฐใช้ระบบ อนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาทสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน โดยอ้างเหตุว่าหน่วยงานรัฐมักจะแพ้คดีหรือต้องเสียค่าโง่มาตลอด และให้แจ้งเวียนความเห็นและข้อเสนอแนะให้หน่วยงานของรัฐต่างๆ ทราบและถือปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของกฤษฎีกาต่อไป

คณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่า พ.ร.บ..อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีหลักการที่เป็นไปตามกฎหมายแม่บทว่าด้วยอนุญาโตตุลาการทางพาณิชย์ระหว่าง ประเทศของคณะกรรมาธิการว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRL Model Law on International Commercial Arbitration) และสอดคล้องกับหลักกฎหมายอนุญาโตตุลาการในหลายประเทศที่กำหนดให้ใช้วิธีการ อนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาททางสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน และเป็นที่ยอมรับของผู้ลงทุนทั่วไปจากต่างประเทศ ถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่สร้าง ความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนจากต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนร่วมกับหน่วยงานของ รัฐในประเทศไทย การเสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อห้ามมิให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อ พิพาทฯ ทำให้ต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาและวินิจฉัยคดีโดยศาลเท่านั้น ย่อมมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน การเจรจาทางการค้า การจัดทำสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนกับต่างประเทศ และการพัฒนาระบบอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย

ทั้งนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ปัญหาการที่หน่วยงานของรัฐหลายแห่งต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดีในชั้น อนุญาโตตุลาการ มิได้มีสาเหตุมาจากบทบัญญัติมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2544 แต่น่าจะมีสาเหตุมาจากขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่ปัญหาการจัดทำสัญญา ที่หน่วยงานของรัฐไม่มีเจ้าหน้าที่ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งในด้าน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระของสัญญา ด้านเทคนิคการเขียนสัญญา และในด้านเนื้อหาสาระของสัญญา จึงร่างสัญญาที่ทำให้หน่วยงานของรัฐเสียเปรียบ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนมีพฤติการณ์ ฉ้อฉล เอื้อประโยชน์แก่เอกชน ปัญหาการบริหารสัญญา เช่น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงงาน การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างล่าช้า การออกแบบผิด การอนุมัติล่าช้า เป็นต้น รวมทั้งปัญหาการตั้งอนุญาโตตุลาการ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งมักจะมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายเอกชน ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน จึงไม่สามารถชี้ขาดข้อพิพาทได้ถูกต้องตามหลักกฎหมายปกครองเหมือนกับการ วินิจฉัยโดยศาลปกครอง

ดังนั้นอาจสรุปสาเหตุที่หน่วยงานของรัฐตกเป็น ฝ่ายแพ้คดีในชั้นการพิจารณาของ อนุญาโตตุลาการได้ว่า เกิดจากปัญหาการจัดทำสัญญาปัญหาการบริหารสัญญา และปัญหาการตั้งอนุญาโตตุลาการ ไม่ได้เกิดจากระบบอนุญาโตตุลาการซึ่งมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกว่าการดำเนิน คดีในศาล ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้โดยทางการบริหารงานของหน่วยงานต่างๆ นั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ตามร่างกฎหมายที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแก้ไข

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกามีข้อเสนอแนะ ว่าในชั้นการตรวจพิจารณาร่างสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนนั้น หน่วยงานของรัฐควรคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ดังนี้ ในกรณีร่างสัญญาสัมปทาน ควรจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ปฏิบัติการตามร่างสัญญา เข้าร่วมกันเป็นคณะกรรมการตรวจพิจารณาร่างสัญญา ในข้อสัญญาควรกำหนดให้มีวิธีการระงับข้อพิพาทเบื้องต้นขึ้นในหน่วยงาน เจ้าของโครงการเสียก่อนที่จะเสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการ เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด ได้แก่ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Mediation) โดยมีบุคคลที่สามที่มีความเป็นกลางให้การช่วยเหลือคู่สัญญาในการหาทางออกของ ปัญหาความขัดแย้ง ส่วนการบริหารสัญญา ควรจัดให้มีหน่วยงานของรัฐ หรือระบบการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อสัญญา เพื่อให้การปฏิบัติตามข้อสัญญามีความต่อเนื่องและถูกต้องตามสัญญา

นอกจากนี้ เมื่อพบการปฏิบัติไม่เป็นไปตามสัญญา หรือมีความล่าช้าให้รีบแจ้งคู่สัญญาทราบ เพื่อเป็นการดำเนินการแก้ไขปัญหาและระงับข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นต่อไป และการพิจารณาคัดเลือกบุคคลทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการ นอกจากต้องมีความเป็นกลางและเป็นอิสระตามมาตรา 19 แล้ว ความรอบรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะในสัญญาภาครัฐของผู้ทำหน้าที่ อนุญาโตตุลาการถือเป็นสิ่งสำคัญ และการแก้ไขปัญหาการใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐ กับเอกชน อาจกระทำโดยอาศัยมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติ วันที่ 28 ก.ค.52 เป็นรายกรณีไป ซึ่งวิธีการนี้ก็มีการใช้กันในบางประเทศ เช่น ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย สหพันธ์รัฐรัสเซีย และยูเครน ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะได้ตรวจสอบถึงความเหมาะสมของสัญญาได้ด้วย
ที่มา: ทีมข่าวการเมือง ไทยรัฐออนไลน์ อังคาร 31 สิงหาคม 2553

No comments:

Post a Comment