เรื่อง “กฎแห่งกรรม” ตามหลักพระพุทธศาสนา มาขีดเขียนให้ได้อ่านกัน
“กรรม” หมายถึง การกระทำด้วยความจงใจ
การกระทำอย่างใดจะเกิดเป็นกรรมได้ ต้องมี องค์ประกอบ 3 ประการ ด้วยกัน นั่นคือ
หนึ่ง ต้องมีผู้กระทำกรรม
สอง ต้องทำด้วยเจตนาเกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่ง
และสาม กรรมนั้นมีผลแก่ผู้กระทำให้เป็นบุญหรือบาปก็ได้
“ทำชั่ว” เรียกว่า “อกุศลกรรม”
“ทำดี” เรียกว่า “กุศลกรรม”
“กฎแห่งกรรม” หมายถึง ความเป็นไปตามหลักเหตุผล อย่างแน่นอน ของการกระทำและผลของการกระทำ
“กฎแห่งกรรม” ในพระพุทธศาสนา มีลักษณะเที่ยงตรง ไม่ลำเอียงเห็นแก่หน้า ผู้ใด อำนวยผลให้แก่บุคคลทุกคนตามลักษณะแห่งการกระทำเสมอหน้ากันหมด ไม่เลือกชั้นวรรณะ สัตว์โลกทั้งหลายทั้ง สิ้นย่อมอยู่ ภายใต้อำนาจ แห่ง “กฎแห่งกรรม”
พระพุทธเจ้าได้ทรงพร่ำสอนพุทธบริษัทไว้ว่า “สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของ ตน เป็นผู้รับผลของกรรม เป็นผู้มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของ กรรมนั้น”
“กรรม” จะให้ ผลตามกาล ดังต่อไปนี้
หนึ่ง “กรรม” ให้ผลชาตินี้ เป็น “กรรม” ที่ให้ผลรวดเร็ว เป็นปัจจุบันทันด่วน ไม่ต้องรอรับผลเอาชาติหน้า ถ้าเป็นกรรมฝ่ายอกุศล เจ้าของกรรมจะได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนภายในเร็ววัน ถ้าเป็นกรรมฝ่ายกุศล ย่อมบันดาลผลให้เจ้าของกรรมได้รับความสุขความเจริญภายในเร็ววัน
สอง “กรรม” ที่ให้ผลในชาติถัดไป ถ้าเป็นกรรมฝ่ายอกุศล ก็บันดาลผลให้เจ้าของกรรมไปเกิด ณ อบายภูมิ ในชาติหน้า ถ้าเป็นกรรมฝ่ายกุศล ก็บันดาลผลให้เจ้าของกรรมไปเกิด ณ สุคติภูมิ ในชาติหน้า
สาม “กรรม” ที่ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป ถ้าเป็นกรรมฝ่ายอกุศลก็บันดาลผลให้ได้รับ ความทุกข์ความเดือดร้อน ตั้งแต่ชาติที่สาม เป็นต้นไป ถ้าเป็นกรรมฝ่ายกุศลก็บันดาลผลให้เจ้าของกรรมได้รับ ความสุขความเจริญ ตั้งแต่ชาติที่ 3 เป็นต้นไป
พระพุทธเจ้า ทรงค้าน เรื่อง พรหม ลิขิต ทรงสอนให้เชื่อใน กรรมลิขิต คือให้เชื่อการกระทำของตัวเอง ใครทำดีย่อมได้รับผลดี ใครทำชั่วย่อมได้รับผลชั่วสนองเสมอ เป็นสิ่งที่แน่นอน ไม่มีอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่จะสามารถรองรับหรือดลบันดาลให้คนที่ทำชั่วไม่ต้องไปรับทุกข์ในภพใหม่
“สังสารวัฏ” หรือหลักการเวียนว่ายตายเกิดนั้นมีจริง
เริ่มต้นด้วย “กิเลส” หมายถึง อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นปัจจัยให้กระทำกรรม
“กรรม” เมื่อกระทำแล้ว บังเกิดผลที่เรียกว่า “วิบาก”
“วิบาก” ได้แก่ ผลแห่งกรรม คือนามรูปที่ยังประกอบไปด้วยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน ซึ่งเป็น “กิเลส” เป็นเหตุให้กระทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ย่อมเกิดผลคือ“วิบาก” กล่าวคือ นามรูปใหม่ ฉะนั้น นามรูปเก่าดับ นามรูปใหม่เกิด ติดต่อกันไป รวดเร็วไม่รู้จักจบสิ้น จึงได้ชื่อว่า “สังสารวัฏ”เวียนเกิดเวียนดับไม่มีที่สิ้นสุด
“มนุษย์” กับ “กรรม” จึงเป็นของคู่กัน ชำระล้างไม่มีวันหมด เพียงแต่ว่ามี “กิเลส” มาก หรือ “กิเลส” น้อย หรือสร้าง “กุศลกรรม” หรือ “อกุศลกรรม” มันก็เท่านั้นเอง
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยดีที่สุดคือ เอา “กรรม” มาเป็นตัวกำหนด
ใครจะดี ใครจะชั่ว ใครพูดจริง ใครโกหก ใครต้องการแก้ปัญหา ใครต้องการสร้างปัญหา ในที่สุด “กฎแห่งกรรม” จะเป็นผู้ตัดสิน
จะตัดสินชาตินี้ ชาติหน้า หรือชาติที่สามเป็นต้นไป ไม่มีใครหนีพ้นครับ ตราบใดที่เราเชื่อในหลักศาสนาที่พร่ำสอนให้มนุษย์เป็นคนดีมากกว่าคนเลว.
อนุภพ
“กรรม” หมายถึง การกระทำด้วยความจงใจ
การกระทำอย่างใดจะเกิดเป็นกรรมได้ ต้องมี องค์ประกอบ 3 ประการ ด้วยกัน นั่นคือ
หนึ่ง ต้องมีผู้กระทำกรรม
สอง ต้องทำด้วยเจตนาเกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่ง
และสาม กรรมนั้นมีผลแก่ผู้กระทำให้เป็นบุญหรือบาปก็ได้
“ทำชั่ว” เรียกว่า “อกุศลกรรม”
“ทำดี” เรียกว่า “กุศลกรรม”
“กฎแห่งกรรม” หมายถึง ความเป็นไปตามหลักเหตุผล อย่างแน่นอน ของการกระทำและผลของการกระทำ
“กฎแห่งกรรม” ในพระพุทธศาสนา มีลักษณะเที่ยงตรง ไม่ลำเอียงเห็นแก่หน้า ผู้ใด อำนวยผลให้แก่บุคคลทุกคนตามลักษณะแห่งการกระทำเสมอหน้ากันหมด ไม่เลือกชั้นวรรณะ สัตว์โลกทั้งหลายทั้ง สิ้นย่อมอยู่ ภายใต้อำนาจ แห่ง “กฎแห่งกรรม”
พระพุทธเจ้าได้ทรงพร่ำสอนพุทธบริษัทไว้ว่า “สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของ ตน เป็นผู้รับผลของกรรม เป็นผู้มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของ กรรมนั้น”
“กรรม” จะให้ ผลตามกาล ดังต่อไปนี้
หนึ่ง “กรรม” ให้ผลชาตินี้ เป็น “กรรม” ที่ให้ผลรวดเร็ว เป็นปัจจุบันทันด่วน ไม่ต้องรอรับผลเอาชาติหน้า ถ้าเป็นกรรมฝ่ายอกุศล เจ้าของกรรมจะได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนภายในเร็ววัน ถ้าเป็นกรรมฝ่ายกุศล ย่อมบันดาลผลให้เจ้าของกรรมได้รับความสุขความเจริญภายในเร็ววัน
สอง “กรรม” ที่ให้ผลในชาติถัดไป ถ้าเป็นกรรมฝ่ายอกุศล ก็บันดาลผลให้เจ้าของกรรมไปเกิด ณ อบายภูมิ ในชาติหน้า ถ้าเป็นกรรมฝ่ายกุศล ก็บันดาลผลให้เจ้าของกรรมไปเกิด ณ สุคติภูมิ ในชาติหน้า
สาม “กรรม” ที่ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป ถ้าเป็นกรรมฝ่ายอกุศลก็บันดาลผลให้ได้รับ ความทุกข์ความเดือดร้อน ตั้งแต่ชาติที่สาม เป็นต้นไป ถ้าเป็นกรรมฝ่ายกุศลก็บันดาลผลให้เจ้าของกรรมได้รับ ความสุขความเจริญ ตั้งแต่ชาติที่ 3 เป็นต้นไป
พระพุทธเจ้า ทรงค้าน เรื่อง พรหม ลิขิต ทรงสอนให้เชื่อใน กรรมลิขิต คือให้เชื่อการกระทำของตัวเอง ใครทำดีย่อมได้รับผลดี ใครทำชั่วย่อมได้รับผลชั่วสนองเสมอ เป็นสิ่งที่แน่นอน ไม่มีอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่จะสามารถรองรับหรือดลบันดาลให้คนที่ทำชั่วไม่ต้องไปรับทุกข์ในภพใหม่
“สังสารวัฏ” หรือหลักการเวียนว่ายตายเกิดนั้นมีจริง
เริ่มต้นด้วย “กิเลส” หมายถึง อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นปัจจัยให้กระทำกรรม
“กรรม” เมื่อกระทำแล้ว บังเกิดผลที่เรียกว่า “วิบาก”
“วิบาก” ได้แก่ ผลแห่งกรรม คือนามรูปที่ยังประกอบไปด้วยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน ซึ่งเป็น “กิเลส” เป็นเหตุให้กระทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ย่อมเกิดผลคือ“วิบาก” กล่าวคือ นามรูปใหม่ ฉะนั้น นามรูปเก่าดับ นามรูปใหม่เกิด ติดต่อกันไป รวดเร็วไม่รู้จักจบสิ้น จึงได้ชื่อว่า “สังสารวัฏ”เวียนเกิดเวียนดับไม่มีที่สิ้นสุด
“มนุษย์” กับ “กรรม” จึงเป็นของคู่กัน ชำระล้างไม่มีวันหมด เพียงแต่ว่ามี “กิเลส” มาก หรือ “กิเลส” น้อย หรือสร้าง “กุศลกรรม” หรือ “อกุศลกรรม” มันก็เท่านั้นเอง
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยดีที่สุดคือ เอา “กรรม” มาเป็นตัวกำหนด
ใครจะดี ใครจะชั่ว ใครพูดจริง ใครโกหก ใครต้องการแก้ปัญหา ใครต้องการสร้างปัญหา ในที่สุด “กฎแห่งกรรม” จะเป็นผู้ตัดสิน
จะตัดสินชาตินี้ ชาติหน้า หรือชาติที่สามเป็นต้นไป ไม่มีใครหนีพ้นครับ ตราบใดที่เราเชื่อในหลักศาสนาที่พร่ำสอนให้มนุษย์เป็นคนดีมากกว่าคนเลว.
อนุภพ
ที่มา: คอลัมน์ เห็นมาอย่างไร เขียนไปอย่างนั้น เดลินิวส์ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 03 พฤษภาคม 2553
No comments:
Post a Comment