กรณีที่จดทะเบียนสมรสกับผู้ชาย คนหนึ่งและมีลูกด้วยกัน ต่อมาภายหลังจึงได้ทราบว่า ทะเบียนสมรสของตัวเองเป็นทะเบียนซ้อนกับผู้หญิงคนอื่น และมีเรื่องระหองระแหงวิวาทกันตลอดมา ซึ่งถ้ามีการเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อนของดิฉันในวันข้างหน้า จะมีความเป็นธรรมให้ดิฉันได้รับค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูด้วยหรือไม่
วรรณรัตน์
การสมรสซ้อน หมายถึง การจดทะเบียนสมรสในขณะที่คู่สมรสของตนจดทะเบียนสมรสกับผู้อื่นโดยชอบด้วย กฎหมายอยู่ก่อนแล้ว ผลในทางกฎหมายของการสมรสซ้อนคือโมฆะ แต่ถ้าฝ่ายคู่สมรสซ้อนทำการโดยสุจริตคือไม่รู้ว่าเขามีคู่สมรสที่จด ทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายอยู่ก่อนแล้ว ผู้สุจริตจะมีสิทธิดังนี้
1.สิทธิ เรียกค่าทดแทนได้ โดยทั่วไปการสมรสที่เป็นโมฆะนั้นคู่สมรสที่สุจริตมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจาก คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือนับแต่วันที่รู้ถึงเหตุที่ทำให้การ สมรสเป็นโมฆะ ดังนั้นกรณีการสมรสซ้อนค่าทดแทนที่จะเรียกได้แก่ ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียง ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส และค่าเสียหายในการจัดการทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมา หาได้โดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้จัดการสมรสโดยสุจริต
2.สิทธิ เรียกค่าเลี้ยงชีพ ซึ่งก็คือค่า อุปการะเลี้ยงดู แต่ถ้าเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ได้เพราะการหย่าหรือการเพิกถอนการสมรส จะไม่เรียกว่าค่าเลี้ยงดูแต่จะเรียกว่าค่าเลี้ยงชีพ คู่สมรสซ้อนที่สุจริตมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ ถ้าการสมรสที่เป็นโมฆะนี้ถูกเพิกถอนซึ่งทำให้ตนต้องยากจนลงเพราะไม่มีรายได้ พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานที่เคยทำอยู่ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือก่อนที่จะได้รู้ว่าการสมรสของตนเป็นโมฆะ
ในกรณีการสมรสซ้อน ค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลให้เพียงใดหรือจะไม่ให้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับ ความสามารถของผู้ให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ถ้าให้ศาลกำหนดค่าเลี้ยง ชีพเป็นเงินรายเดือนหรือเป็นเงินก้อนก็ได้ โดยให้ชำระตลอดไปจนกว่าคู่สมรสที่สุจริตทำการสมรสใหม่ การเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพนั้นคู่สมรสซ้อนที่สุจริตฟ้องแย้งในคดีที่ฟ้องขอ ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสซ้อนเป็นโมฆะ หรืออาจฟ้องเป็นคดีใหม่เรียกค่าเลี้ยงชีพอย่างเดียวโดยต้องฟ้องในเวลาไม่ เกิน 2 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าการสมรสซ้อนนั้นตกเป็นโมฆะ
การ สมรสซ้อนจะเกิดขึ้นเพราะคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งสุจริต แต่คู่สมรสซ้อนที่สุจริตจะรับมรดกของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในฐานะทายาทโดยธรรม ไม่ได้ อย่างไรก็ตามไม่ห้ามที่จะเป็นผู้รับพินัยกรรมได้ ดังนั้นถ้ามีการทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้คู่สมรสซ้อนก็สามารถเป็นผู้รับ ทรัพย์สินตามพินัยกรรมได้
ที่มา: คลินิกกฎหมาย เดลินิวส์ออนไลน์ วันอังคาร ที่ 30 มีนาคม 2553
No comments:
Post a Comment