Sunday, June 6, 2010

บิดานอกกฎหมาย

การที่พ่อและแม่แต่งงานโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันและมีลูก 1 คน ต่อมาลูกคนนี้โตขึ้นและได้แต่งงาน โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสอีกเช่นกันและไม่มีทายาท ขณะนี้ลูกป่วยหนักและคาดว่าอาจเสียชีวิตในไม่ช้า ผมในฐานะพ่อจะมีสิทธิขอจัดการทรัพย์สิน มรดกของลูกที่เสียชีวิตหรือไม่ จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรได้

สุรชัย

การที่บุตรที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จึงเป็นบุตรนอกสมรสของบิดา ถ้ามีข้อเท็จจริงว่าบิดานอกกฎหมายได้ให้การรับรองว่าเป็นบุตรของตนโดยพฤตินัยไว้ เช่น ส่ง เสียเลี้ยงดู แสดงตัวว่าเป็นบิดาต่อคน ทั่วไป ฯลฯ ถือว่าเป็นบุตรนอกกฎหมาย นั้นบิดาได้รับรองแล้ว (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627) ถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผลคือเป็นเพียงแต่ทำให้บุตรมีสิทธิจะได้รับมรดกของบิดา นอกกฎหมายได้ แต่การรับรองดังกล่าวยังไม่มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎ หมายกลายเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นบิดานอกกฎหมายจึงไม่มีสิทธิที่จะ ได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรม (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629) บิดานอกกฎหมายจึง ไม่อาจร้องขอจัดการมรดกต่อศาล หรือถ้ามีผู้อื่นร้องขอจัดการมรดก บิดานอกกฎหมายไม่ อาจร้องคัดค้านการขอจัดการมรดกได้

อย่างไรก็ตาม การทำให้บิดา นอกกฎหมายกลาย เป็นบิดาชอบ ด้วยกฎหมายมี 3 วิธีคือ บิดานอกกฎหมายจดทะเบียนสมรสกับมารดาในภายหลัง หรือบิดาได้ ไปจดทะเบียนรับรองบุตร หรือศาลได้มีคำพิพากษาว่าเป็นบิดา จะทำให้บิดาชอบ ด้วยกฎหมายมีสิทธิรับมรดกของบุตร จึงเป็นทายาทตามกฎ หมายที่มีสิทธิรับมรดกที่สามารถร้องขอจัดการมรดกได้

แต่ถ้าไม่สะดวกที่จะใช้วิธีทั้งสาม ก็สามารถแก้ไขอย่างง่าย ๆ สำหรับ กรณีที่บุตรยังมีชีวิตอยู่ คือการทำพินัยกรรมโดยมีพยานรับรองว่ามีสติสัมป ชัญญะสมบูรณ์ในขณะทำพินัยกรรม เพราะผู้ที่จะมีสิทธิร้องขอต่อศาลขอ ให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ (ประมวลกฎ หมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713) มี 3 ประเภท คือ ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ผู้มีส่วนได้เสีย และพนักงานอัยการ

ดังนั้นถ้าผู้ป่วยที่ยังไม่เสียชีวิตได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายให้ แก่ผู้ใด ก็ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรม ตามความประสงค์ครั้งสุดท้ายของผู้ตาย และถ้าผู้ป่วยทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บิดาไว้ก่อนตายแล้วบิดานอกกฎหมายจะ เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกตามพินัยกรรม เพราะถือว่าบิดาเป็นผู้มีสิทธิรับ มรดก ตามพินัยกรรมของผู้ตาย หรืออาจจะยกทรัพย์ให้ผู้อื่นแต่มีข้อกำหนด ด้วยว่าให้บิดาเป็น ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไว้ กรณีเช่นนี้จะทำ ให้บิดานอกกฎหมายมีสิทธิจัดการ มรดกของผู้ที่จะเสียชีวิตได้

ที่มา: บิดานอกกฎหมาย คลีนิกกฏหมาย เดลินิวส์ออนไลน์ วันอังคาร ที่ 06 เมษายน 2553

No comments:

Post a Comment