ถ้าสามีภริยาสมัครใจไปหย่ากันเองที่อำเภอ แต่สามีมีเงื่อนไขว่าหากดิฉันหย่าให้แต่โดยดี สามีจะจ่ายค่าเลี้ยงดูให้ดิฉันทุกเดือน ถ้าสามีไม่จ่ายดิฉันฟ้องเรียกได้ใช่หรือไม่ โดยผู้ฟ้องจะแต่งงานใหม่แล้วหรือไม่ก็ฟ้องได้ใช่หรือไม่
ถ้าสามียอมเขียนข้อตกลงเงินช่วยค่าเลี้ยงดูในใบหย่า เพียงแต่สัญญาและมีพยานรู้เห็นว่าสามีจะจ่ายค่าเลี้ยงดูให้ภริยาตลอดไป หากภายภาคหน้าสามีจ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง ดิฉันจะสามารถฟ้องโดยใช้พยานบุคคลดังกล่าวมายืนยันได้หรือไม่
===
สามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย ก่อให้เกิดภาระหน้าที่ระหว่างสามีภริยาคือ หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน ดังนั้นเมื่อได้หย่ากันก็ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในการที่จะต้อง รับผิดชอบหรือมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูกันอีกต่อไป อย่างไรก็ตามคู่สมรสทั้งหลายที่ตกลงมาเป็นสามีภริยากันนั้นต่างมิได้คาดคิด มาก่อนว่าวันข้างหน้าการแต่งงานของตนต้องสิ้นสุดลงโดยการหย่า
กฎหมายจึงได้กำหนดให้ผู้บริสุทธิ์ควรจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากการ หย่าที่ตนไม่ได้มีส่วนผิดตามอัตภาพ นั่น คือควรจะได้รับค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู ภายหลังการหย่าตามสมควร และในทางกฎหมายจะเรียกค่าเลี้ยงดูหลังการหย่าว่า ค่าเลี้ยงชีพ สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพนั้นเกิดขึ้น ได้ทั้งการฟ้องร้องที่ศาลในคดีฟ้องหย่า และที่เกิดจากคู่สมรสจดทะเบียนหย่ากันเองโดยสมัครใจ
โดยกฎหมายได้บัญญัติหลักเกณฑ์การเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพว่า ถ้าเป็นคดีหย่าที่มีการฟ้องร้องต่อศาล หากฝ่ายที่ฟ้องมิได้มีส่วนผิดนั้นประสงค์จะได้รับค่าเลี้ยงชีพด้วย จะต้องมีคำขอฟ้องเรียกค่าเลี้ยงชีพมาในคดีหย่าด้วยเพื่อให้ศาลวินิจฉัยไปใน คดีเดียวกันหรือถ้าเป็นฝ่ายถูกฟ้องหย่านอกจากจะให้การต่อสู้คดีแล้วจะต้องก็ ฟ้องเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพในคดีที่ถูกฟ้องหย่าไว้ด้วย (เรียกว่าฟ้องแย้งค่าเลี้ยงชีพ) จะมาฟ้องเรียกค่าเลี้ยงชีพในภายหลังเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากจากคดีหย่าไม่ได้
ส่วนกรณีที่คู่สมรสตกลงจดทะเบียนหย่ากันเองโดยสมัครใจไม่มีการฟ้องร้องต่อ ศาลนั้น ถ้าคู่หย่าได้มีการตกลงกันเองว่าฝ่ายใดจะชำระค่าเลี้ยงชีพให้แก่กันเป็น จำนวนเท่าใดก็เป็นไปตามนั้น แต่ถ้ามิได้มีการตกลงจ่ายค่าเลี้ยงชีพกันไว้ในขณะจดทะเบียนหย่า ต่อมาอีกฝ่ายได้รับความลำบากและต้องการความช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูในภายหลัง เช่นนี้จะมาฟ้องเรียกค่าเลี้ยงชีพในภายหลังไม่ได้ เพราะสิทธิรับค่าเลี้ยงชีพสิ้นสุดไปแล้ว
แม้ว่ากรณีที่ศาลจะได้พิพากษาในคดีหย่าหรือกรณีที่คู่หย่าตกลงกันเองที่จะ จ่ายค่าเลี้ยงชีพเป็นงวดรายเดือน หากต่อมาฝ่ายที่ได้รับค่าเลี้ยงชีพแต่งงานและสมรสใหม่ สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในวันข้างหน้าจะหมดไปโดยอัตโนมัติ เพราะคู่สมรสคนใหม่ต้องรับหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูแทน
โดยสรุปสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพต้องตกลงกันไว้ในขณะหย่า หรือในกรณีคดีขึ้นสู่ศาลต้องเรียกร้องมาในคดีเดียวกันกับคดีหย่า และถ้าสมรสใหม่สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพย่อมหมดไป
ที่มา: ค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า คลีนิกกฏหมาย เดลินิวส์ออนไลน์ วันอังคาร ที่ 20 เมษายน 2553
No comments:
Post a Comment