สามีและดิฉันทำธุรกิจและมีทรัพย์สินร่วมกัน ภายหลังตกลงแยกกันอยู่โดยไม่ได้จดทะเบียนหย่ากัน ดิฉันอ่านคอลัมน์นี้เป็นประจำจึงพอจะทราบว่า ถ้าแยกกันอยู่โดยไม่ได้จดทะเบียนหย่า ทรัพย์สินที่หามาได้ยังเป็นสินสมรส แต่สิ่งที่ดิฉันอยากทราบคือว่า ถ้าหากไม่มีการหย่า แต่ประสงค์จะแยกทรัพย์สินเป็นของใครของมัน ต้องทำอย่างไร
นุชนารถ
กรณีที่สามีภริยาแยกกันอยู่โดยไม่จดทะเบียนหย่า ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างนี้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นสินสมรส ดังนั้นในกรณีที่มีเหตุจำเป็นบางประการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิน สมรส หรือการจัดการสินสมรสไม่สะดวก หรือกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดเป็นบุคคล ล้มละลาย กฎหมายได้กำหนดให้แยกสินสมรสออกจากกันในระหว่างสามีภริยาได้ การ แยกสินสมรสตามที่กฎหมายกำหนดไว้จึงมี 2 กรณี คือ
1.สามีหรือภริยาร้องขอให้ศาลสั่งแยก สินสมรส
2.การแยกสินสมรสโดยสามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย
ในที่นี้จะอธิบายกรณีที่สามีหรือภริยามาร้องขอให้ศาลสั่งแยกสินสมรส เพื่อให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวหรือสั่งให้แยก สินสมรสได้นั้น เหตุแห่งการร้องขอมี 5 กรณี คือ (1) จัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด, (2) ไม่ อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง, (3) มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือทำหนี้เกินกึ่งหนึ่ง ของสินสมรส, (4) ขัดขวางการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และ (5) มีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะทำความหายนะให้แก่สินสมรส
ผลของการที่ศาลมีคำสั่งให้แยกสิน สมรส จะทำให้ทรัพย์สินส่วนที่ระบุแยกออกตกเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย และทำให้บรรดาทรัพย์สินที่ฝ่ายใดหาได้มาตามลำพังในภายหลังจะกลายเป็นสินส่วน ตัวของฝ่ายที่หามา หรือแม้ว่าคู่สมรสฝ่ายใดได้รับทรัพย์สินที่มีผู้อื่นยกให้ไม่ว่าโดยการรับ พินัยกรรมหรือโดยหนังสือยกให้โดยเสน่หาที่ระบุว่าให้เป็นสินสมรสของคู่สมรส ทั้งสองฝ่ายก็ตาม ทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากศาลมีคำสั่งให้แยกสินสมรสจะกลายเป็นสินส่วนตัวของ คู่สมรสแต่ละฝ่าย
นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาที่ยังไม่หย่ากันในเรื่องทรัพย์สินในเรื่อง ของดอกผลที่เกิดจากทรัพย์สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใด เช่น ดอกเบี้ย ค่าเช่า ฯลฯ นั้น โดยทั่วไปดอกผลของสินส่วนตัวถ้าได้มาในระหว่างสมรสจะเป็นสินสมรสของทั้งสอง ฝ่าย เช่น เงินฝากส่วนตัวของสามี 1 ล้านบาท ธนาคารให้ดอกเบี้ยปีละ 20,000 บาท เงินฝากเป็นสินส่วนตัวของสามี แต่ดอกเบี้ยจะเป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา แต่ถ้าได้มีคำสั่งศาลให้แยกสินสมรสออกจากกันแล้วจะทำให้ดอกผลที่เกิดจากสิน ส่วนตัวของฝ่ายใดกลายเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น จะไม่เป็นสินสมรสร่วมกันระหว่างสามีภริยาอีกต่อไป
ที่มา: การแยกสินสมรส คลีนิกกฏหมาย เดลินิวส์ออนไลน์ วันอังคาร ที่ 13 เมษายน 2553
No comments:
Post a Comment