ปัจจุบันสารให้ความหวาน นับเป็นส่วนผสมสำคัญอีกชนิดในการผลิตอาหาร ประเด็นแรก คือ การใช้สารให้ความหวานจะมีต้นทุนในการผลิตน้อยกว่าน้ำตาลทราย
ประเด็น ที่สอง คือ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ที่ไม่ต้องการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลทรายมากเกินไป เนื่องจากกลัวอ้วนหรือต้องการควบคุมน้ำหนัก
นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาพัฒนาเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอีกด้วย
สาร ให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นมีหลายชนิด มีทั้งชนิดที่สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ และสังเคราะห์ด้วยวิธีทางเคมี ส่วนจะเลือกใช้ชนิดไหนนั้นแล้วแต่ผู้ผลิต
โซเดียมไซคลาเมต เป็นสารให้ความหวานหรือรสหวานชนิดหนึ่งที่มีมานาน
สำหรับ ประเทศไทยไม่อนุญาตให้ใช้ในการผลิตอาหารที่ขายในประเทศ แต่จะอนุญาตให้ใช้ได้กับอาหารที่ผลิตส่งออกเท่านั้น ซึ่งหากผู้ผลิตรายใดต้องการเติมโซเดียมไซคลาเมตลงในอาหารจะต้องขออนุญาตจาก อย.ก่อน จึงจะสามารถใช้เติมลงในอาหารได้
โซเดียมไซคลาเมต มีความหวานกว่าน้ำตาลไม่มากเมื่อเทียบกับสารตัวอื่นๆ คือ หวานกว่าน้ำตาล 30-50 เท่า เหมาะกับการใช้ในผลิตภัณฑ์ผลไม้ เพราะจะช่วยเสริมรสชาติของผลไม้และตัดรสเปรี้ยว
จึงไม่แปลกที่วันนี้คอลัมน์มันมากับอาหารจะสุ่มตรวจสารชนิดนี้ในลูกพรุนอบแห้ง
ลูกพรุนอบแห้ง เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีธาตุเหล็ก โปแตสเซียม วิตามินบี และวิตามินซี
อีกทั้งยังมีกากใยธรรมชาติจำนวนมาก ช่วยระบายและรักษาอาการท้องผูก
เมื่อบ้านเรายังไม่สามารถหาลูกพรุนสดกินได้ จึงต้องซื้อแบบอบแห้งมารับประทานแทน หวังว่าร่างกายจะได้รับสารอาหารที่มีอยู่ในลูกพรุน
แต่ตรงกันข้าม เมื่อผลวิเคราะห์ออกมาชัดเจนว่า วันนี้ผู้ผลิตเติมสารโซเดียมไซคลาเมต ลงในลูกพรุนอบแห้งเพื่อเพิ่มความหวาน
สถาบันอาหาร ได้ทำการสุ่มตัวอย่างลูกพรุนอบแห้ง จาก 5 ยี่ห้อในตลาดทั่วกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการตกค้างของสาร โซเดียมไซคลาเมต
ผลปรากฏว่า ทุกตัวอย่างตรวจพบโซเดียมไซคลาเมตตกค้าง(ค่อนข้างมาก และเป็นอันตรายยิ่ง)
ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ โดย ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย 18 มิถุนายน 2553 สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย ห้องปฏิบัติการ โทร 02-886-8088
+_+_+_+_+_+
แจ้งตำรวจจับเลยครับ
No comments:
Post a Comment