Friday, July 2, 2010

อะฟลาท็อกซิน ในเครื่องเทศไทย

วันนี้ กรุงเทพฯเป็นเมืองที่มีคนอาศัยมากที่สุด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การสื่อสาร การเงินการธนาคาร

เมื่อวันนี้ผู้คนในกรุงเทพฯมีมากมายมหาศาล ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีไว้บริการประชาชนจึงต้องเพิ่มตามไปด้วย

โครงการ ต่างๆเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยให้คนกรุงเทพฯ โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินที่ต้องปลอดภัย จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ โครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย

ครั้งนี้ กรุงเทพฯได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานทดสอบอาหารคือ สถาบันอาหาร ดำเนินการสุ่มตรวจทั้งอาหารสด อาหารแห้ง เพื่อหาสารปนเปื้อนซึ่งอาจปะปนมาโดยที่คนขายไม่รู้ และคนซื้อก็ไม่รู้ว่ากำลังได้รับอันตรายจากสารปนเปื้อนชนิดต่างๆ

เชื้อรา มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาหารทั้งในแง่คุณประโยชน์ และก่อให้เกิดการเสื่อมเสียของอาหารในระหว่างการเก็บรักษา

นอก จากนี้ ยังมีเชื้อราบางชนิดที่ผลิตสารพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น ราในกลุ่ม Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus ซึ่งมีสีเหลืองอมเขียวหรือเหลืองอมน้ำตาล

ราพวกนี้สามารถสร้างสารพิษ ที่เรียกว่า อะฟลาท็อกซิน ซึ่งเป็นสารทนต่อความร้อนได้สูงถึง 268 องศาเซลเซียส ความร้อนที่เราใช้ ประกอบอาหารประจำวันไม่สามารถทำลายพิษได้

เพื่อ เตือนให้ตระหนักในการเลือกซื้อ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างเครื่องเทศแห้งจำนวน 5 ตัวอย่าง ที่มีจำหน่ายในเขตกรุงเทพฯ นำมาวิเคราะห์ หาการปนเปื้อนของสาร อะฟลาท็อกซิน

พบว่า วันนี้คนกรุงเทพฯ ยังปลอดภัยอยู่

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ โดย ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย 9 เมษายน 2553 สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย ห้องปฏิบัติการ โทร 02-886-8088

No comments:

Post a Comment